|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการพัฒนาแบบแผนและรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ |
ผู้แต่ง : |
รพ.สต.โนนชัย |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากสถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการเติบโตและความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ส่งผลกระทบตรงสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตที่ยืนยาวของประชาชน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของมนุษย์ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางพฤติกรรม อาทิ ปัจจัยทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การบริโภค การออกกำลังกาย ภาวะสุขภาพจิต และพฤติกรรมการทำงาน ได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางพฤติกรรมได้ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพมากมาย อาทิกลุ่มโรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มสูงขึ้น และเพิ่มทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ปัญหาโรคเบาหวานและโรคที่มีสาเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานนับว่าเป้นปัญหาที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งในกลุ่มเรื้อรัง ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต และเกิดให้เกิดโรคที่เป็นภาวะแทรกซ้อนมากมาย รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสังคม และเศรษฐกิจของประเทศในด้านงบประมาณเป็นอย่างมากเพื่อใช้ในการรักษาโรค ดังกล่าว
ปี 2562 ตำบลขมิ้นเป็นตำบลที่ติดอันดับ 1ใน5 ของอำเภอเมืองที่มีอัตราป่วย/ตายด้วยโรคเบาหวานมากที่สุด โดย อัตราตายด้วยโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานมากกว่า 301.27 รายต่อแสนประชากร ปัจจุบันในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ โรคเบาหวานในเขตพื้นที่ตำบลขมิ้น จำนวน 181 ราย คิดอัตราป่วย เป็น 1620.15 รายต่อแสนประชากร และเป็นอันดับ 1 ใน 5 ของโรคไม่ติดต่อที่พบบ่อย และ จากการตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไปในชุมชน ในปี 2562 พบว่า ยังมีผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงออกมากมายที่แฝงตัวอยู่ในชุมชน และยังไม่ได้รับการรักษา และปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสม และจากการออกตรวจเยี่ยมและให้คำแนะนำผู้ป่วยเรื้อรังในปี 2562 พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีพฤติกกรมการกินยา ไม่ต่อเนื่อง การทำงานที่เสี่ยง การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงการขาดการออกกำลังกาย อีกทั้งมีภาวะเครียด อันเนื่องมาจากปัญหาของครอบครัว ซึ่งส่งผลให้การบำบัดรักษาขาดประสิทธิภาพ ระดับน้ำตาลอยู่ในระดับที่สูง การแก้ปัญหาโรคเบาหวาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือในการปฏิบัติตนเพื่อกำหนดเป็นพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน จึงจะเกิดผลดีต่อการควบคุมและป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ การจะทำให้เกิดความร่วมมือกันทั้งชุมชน
ดังนั้น การพัฒนารูปแบบแบบแผนชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน และกลุ่มเสี่ยง จึงเป็น
การปฏิบัติการเพื่อให้เกิดการพัฒนาโปรแกรมการปฏิบัติการเพื่อกำหนดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาแบบองค์รวม มีการบูรณาการให้ครบในทุกๆด้าน และผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงเบาหวานเป็นจุดศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหานี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบการร่วมกันในการทำงาน (Collaboration) ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการทำงาน การบริโภค การออกกำลังกาย การคลายเครียด และพฤติกรรมการบำบัดรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม โดยไม่ขัดกับวัฒนธรรมความเชื่อ และบริบทของสังคมของผู้ป่วยเบาหวาน
|
|
วัตถุประสงค์ : |
3.1 เพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวานในด้านต่างๆ ได้แก่ พฤติกรรมการทำงาน/ประกอบอาชีพ การบริโภค การออกกำลังกาย พฤติกรรมด้านอารมย์และความเครียดการใช้เวลาว่าง และพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยเบาหวาน
3.2.พัฒนารูปแบบ และ แบบแผนการดำรงชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ที่สอดคล้องกับค่านิยม ความเชื่อ และวิถีชีวิตของชุมชน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานในหมู่บ้านที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของ
1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวงใต้ จำนวน 96 ราย
2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนชัย จำนวน 85 ราย
รวมทั้งสิ้น 181 ราย
พื้นที่เป้าหมาย
หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลขมิ้น รวมทั้งสิ้น 6 หมู่บ้าน
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ขั้นตอนการเตรียมการ
1. ประชุม/ชี้แจง และประชาสัมพันธ์แผนงานงาน/โครงการแก่ สภาองค์การบริหารส่วนตำบลขมิ้น ที่ประชุมกำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ ชุมชน
2. จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม/ประสานวิทยากรและสถานในการฝึกอบรม
3.จัดเตรียม ประสานกลุ่มเป้าหมายในการฝึกอบรม
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.ดำเนินการฝึกอบรม หลักสูตร 4 วัน แบ่งออกเป็น 4 รุ่นๆละ 40-50 คน โดยแบ่งออกเป็นฐานความรู้ 4 ฐาน
- ฐานที่ 1 อาหารและยาสมุนไพรฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยเบาหวาน
-ฐานที่ 2 การออกกำลังกายและการยึดเหยียดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
-ฐานที่ 3 สมาธิบำบัด
-ฐาน 4 การกินยาและการดูแลตนเองในการลดภาวะแทรกซ้อน
2.ออกติดตามและสนับสนุนวิชาการในชุมชน 2 ครั้งต่อปี
ขั้นประเมินผลการ
1. ประเมินผลการก่อน-หลังฝึกอบรม
2. ประเมินพฤติกรรมสุขภาพปกติหลังอบรม 6 เดือน
5.ระยะเวลาดำเนินการ
ดำเนินการในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - พฤษภาคม 2562
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|