|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ลดอุบัติเหตุทางการจราจรเทศกาลสงกรานต์ ปี2560 อำเภอกมลาไสย |
ผู้แต่ง : |
ยุพาพิน นาชัยเลิศ , นางอนุรักษ์ ตติยะเฟื่อย |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
อำเภอกมลาไสยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดกาฬสินธุ์ มี 11 หมู่บ้านประชากร 7,0946 คน ห่างจากตัวจังหวัด 13 กิโลเมตร มีทางหลวงแผ่นดิน 3 สายหลัก ได้แก่ถนนหมายเลข 214 หมายเลข 2116 และหมายเลข 2367 ทำให้มีผู้ป่วยจากอุบัติเหตุทางการจราจรเพิ่มขึ้นและเกิดอุบัติเหตุหมู่บ่อยครั้ง สถิติจำนวนผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรปี 2557-2559 จำนวน 1,256 1,278 และ 1,311 คน สถิติจำนวนผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรช่วงเทศการสงกรานต์ ปี 2557-2559 จำนวน 46 46 และ 31 คนตามลำดับ คณะทำงานได้ร่วมดำเนินกิจกรรมลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 60 |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. ลดอัตราผู้เสียชีวิต/ผู้ประสบเหตุจากอุบัติเหตุทางการจราจรช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2560 พื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์2. สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชาชนที่เข้ามาในพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2560 |
|
เครื่องมือ : |
การเก็บสถิติการเสียชีวิตช่วงอุบัติเหตุ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
• แต่งตั้งคณะทำงานระดับอำเภอมีคณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ พร้อมมอบหมายภาระกิจ และจัดทำบันทึกความร่วมมือในการลดอุบัติเหตุ
• ชี้เป้าหมายและจัดการจุดเสี่ยงระดับตำบลแก้ไขเบื้องต้นและวางแผนแก้ไขปัญหา
• บังคับใช้กฎหมาย มาตรกากร 10 รสขมอย่างเข้มข้น
• จัดตั้งจุดตรวจหลักและจุดตรวจรอง รวม 12 แห่ง และจัดตั้งด่านชุมชน 80 ด่าน พร้อมสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมความปลอดภัย โดยผู้นำชุมชนและจัดตั้งด่านชุมชนและตั้งกติการ่วมของชุมชนและประชาสัมพันธ์การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนโดยหอกระจายข่าวในชุมชนและประเมินผลทุกวัน
• ประเมินผลและรายงานผลระดับอำเภอทุกวัน
• ใช้เทคโนโลยี ID Line ในการส่งต่อข้อมูลรายงานข้อมูลเป็นปัจจุบัน
• วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้วางแผนการดำเนินงานปีต่อไป
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
10. การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลงจากรวบรวมข้อมูลการเกิดอุบัติ 7 วันเฝ้าระวัง 3 ปีย้อนหลังพบว่า สถิติจำนวนผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรช่วงเทศการสงกรานต์ ปี 2558-2560 จำนวน 46 31 และ 24 รายละเอียดจำนวนผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ระว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2560 จำนวนผู้บาดเจ็บ 24 รายละเอียดอื่น ๆ พบว่าร้อยละ 21.0 อยู่ในช่วงอายุ 50-54 ปี ร้อยละ58.0 เป็นเพศชาย ช่วงเวลาเกิดเหตุ ร้อยละ 41.7 อยู่ในช่วงเวลา 17.31-21.00น. จำแนกตามยานพาหนะ ร้อยละ67.0 เป็นรถจักรยายนต์ ร้อยละ 67.0 เป็นคนขับ ประเภทถนน ร้อยละ 58.3 เป็นถนนในชนบท ลักษณะถนนที่เกิดเหตุ ร้อยละ 75.0 เป็นทางตรงจำแนกตามกลุ่มอาชีพ ร้อยละ 58.3 อาชีพเกษตรกรรม พฤติกรรมเสี่ยง ร้อยละ 62.5 ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 41.7 ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
การประชุมนานาชาติ ระดับ ระดับจังหวัด |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|