ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาคุณภาพการบริการช่วยชีวิตขั้นสูง
ผู้แต่ง : จุฑาทิพย์ คนตรง ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินให้บริการผู้ป่วยทั้งในและนอกเวลาราชการประเภท emergency / urgent / non- urgent และในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะวิกฤติได้โดยไม่ได้วางแผนการรักษา จากปัญหาการทำ CPR ที่ผ่านมา พบว่า ทีมช่วยเหลือยังทำงานซ้ำซ้อนกัน ไม่ทราบหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่มอบหมาย ซึ่งการปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้ช่วยเหลือจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ หาสาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้น(Cardiac arrest) และให้การช่วยเหลือได้ถูกต้อง ทันท่วงที ซึ่งต้องอาศัยความรู้และทักษะความชำนาญ ดังนั้นทีมต้องมีการวางแผนกันอย่างเป็นระบบ พัฒนาองค์ความรู้ที่ต่อเนื่องและให้เหมาะสมกับสภาพหน่วยงาน จึงจะส่งผลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อประเมินผลการปฏิบัติการ CPR ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกต้องรวดเร็ว และความเหมาะสมของการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิตอย่างทันท่วงที 2. เพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นขณะมีการปฏิบัติการ CPR  
กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรทางการแพทย์ประจำห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินที่ช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยที่มีภาวะ Cardiac arrest ในโรงพยาบาลสมเด็จ ได้แก่ พยาบาล เวชกิจฉุกเฉิน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ พนักงานเปล ช่วงเดือนตุลาคม 2558 – เดือนมิถุนายน 2559 ทั้งหมด 30 ครั้ง  
เครื่องมือ : แบบประเมินผลการปฏิบัติการ CPR  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ด้านบุคลากร -การอบรมเน้นให้กับบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เวชกิจฉุกเฉิน และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม 100 % - กำหนดประเภทหน้าที่ของทีมในการช่วยฟื้นคืนชีพ - จัดทำแนวทางการเช็ครถ emergency และเครื่องมือวิกฤติโดยมีแบบฟอร์มที่ชัดเจน ด้านยา - เมื่อเช็ครถ emergency ให้จัดความพร้อมใช้ของยาเสมอ - ในเวรที่มีการใช้ยาในรถ emergency ต้องมีการส่งเวรต่อเพื่อแก้ปัญหาและจัดเตรียมยาให้ครบพร้อมใช้เสมอ - เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาที่นอกเหนือจากที่จัดในรถemergency ให้จัดเบิกเป็นยา stat กับทางห้องยา ด้านสถานที่ - กำหนดโซนในการช่วยฟื้นคืนชีพให้ชัดเจน - จัดทำแบบฟอร์มการบันทึกการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง - เตรียมความพร้อม เครื่องช่วยชีวิต เวชภัณฑ์ ให้พร้อมใช้เพียงพอทุกเวร - กำหนดแนวทางในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ - บันทึกข้อมูลในเวชระเบียนอย่างถูกต้อง และครบถ้วน - สรุปผลการกู้ชีพตามแบบฟอร์มการบันทึก การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง  
     
ผลการศึกษา : จากผลการประเมินผลการปฏิบัติการ CPR พบว่า บุคลากรสามารถปฏิบัติการ CPR ได้ถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมของการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิตอย่างทันท่วงที ร้อยละ 93.46 และพบว่า เจ้าหน้าที่ทราบบทบาทหน้าที่ของตน มีความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพ เจ้าหน้าที่ทุกคนในทุกระดับเมื่อมีการช่วยฟื้นคืนชีพต้องปฏิบัติได้ถูกต้องตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนด เมื่อนำมาวิเคราะห์โดยการประเมินแยกตามขั้นตอนในการปฏิบัติการ CPR พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุด การเขียนรายงาน ดังนั้น ควรมีการกระตุ้นให้เขียนรายงานให้มากขึ้นหรือทำเป็นประจำให้เกิดความเคยชิน รองลงมา คือ Circulation และ Airway ซึ่งสาเหตุเกิดจากการปฏิบัติขั้นตอน CPR ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนทั้งหมด ในเรื่องของการยุบตัวของหน้าอก (1.5-2 นิ้ว) การเปิดทางเดินหายใจ และการ Clear air way และเมื่อนำมาวิเคราะห์แยกปัญหาที่พบมากที่สุดในการทำ CPR พบปัญหาเรื่องความพร้อมใช้ suction และความพร้อมใช้ของเครื่อง Defibrillation มากที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องเครื่องมือ ที่ต้องมีการตรวจสอบความพร้อมใช้ทุกวัน ส่วนปัญหาขั้นตอนในการปฏิบัติการ CPR พบมากที่สุด คือ จำนวนครั้งของการบีบ 10 ครั้ง/นาที และ การยุบตัวของหน้าอก (1.5-2 นิ้ว) ซึ่งสามารถนำไปกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น และให้ความรู้ในการปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อเป็นการพัฒนาระบบเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  
ข้อเสนอแนะ : 1. กระตุ้นให้มีการเขียนรายงานเป็นประจำ 2. ควรมีการตรวจความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์การแพทย์เป็นประจำทุกวัน และตรวจสอบว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติจริง 3. การให้ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติการ CPR ยังมีความสำคัญ ควรให้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ พร้อมกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ควรมีการพัฒนาระบบเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ เพราะมีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ ความพอเพียง ความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์การแพทย์ รวมทั้งความรู้ความสามารถของบุคลากร และการสนับสนุนอย่างจริงจังจากผู้บริหารในส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งผลต่อการปรับปรุงและการพัฒนาระบบการดูแลเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพให้กับผู้ป่วยให้ก้าวหน้าและมีคุณภาพมากขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ