ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : กระบวนการพัฒนาแนวทางการควบคุม ป้องกันโรควัณโรคในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนากระเดา ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ประมวล สะภา, ดวงพร บุญธรรม, จันจิรา พิมพ์แสง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิตในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (The End TB Strategy) โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค(Incidence) ให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชาการโลกภายในปี พ.ศ. 2578 (2035) การจะบรรลุเป้าหมายการลดอุบัติการณ์ดังกล่าวข้างต้น ประเทศไทยต้องมีอัตราลดอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ 12 ต่อปี ในขณะที่ปัจจุบันระยะ 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีอัตราลดลงของอุบัติการณ์เพียงร้อยละ 2.7 ต่อปี ดังนั้นการที่จะบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ยุติวัณโรคจำเป็นต้องเร่งรัดการค้นหา วินิจฉัย และรายงาน ให้ครอบคลุมร้อยละ 90 สนับสนุนการเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยในประชากรกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคให้ครอบคลุมร้อยละ 90 ดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบทุกรายให้มีอัตราความสำเร็จการรักษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 สถานการณ์ ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ประมาณ 120,000 ราย หรือคิดเป็น 171 ต่อประชากรแสนคน (WHO,Global TB Report 2015) แต่จากระบบรายงานผลการดำเนินงานวัณโรคปีงบประมาณ 2557 มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษา 67,789 รายคิดเป็นอัตราการตรวจพบ (Detection rate) เพียงร้อยละ 59 และในปีงบประมาณ 2558มีรายงานผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษา 62,154 รายคิดเป็นอัตราการตรวจพบ (Detection rate) เพียงร้อยละ 55.3 สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยวัณโรคใหม่ รวมทุกสัญชาติที่ได้รับการวินิจฉัย ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ๓ ปี ย้อนหลัง พบว่า ซึ่งสถานการณ์โรควัณโรคในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนากระเดาพัฒนา ๓ ปี ย้อนหลัง พบว่า ในปี ๒๕๕๗ พบผู้ป่วยเป็นวัณโรค ๒ ราย อัตราป่วยคิดเป็น ๐.๘๘ ต่อประชากรพันคนในปี 2558 พบผู้ป่วยเป็นวัณโรค ๓ ราย อัตราป่วยคิดเป็น 1.32 ต่อประชากรพันคน เสียชีวิตจากวัณโรค 1 ราย อัตราตายคิดเป็น 0.44 ต่อประชากรพันคน ในปี 255๙ พบว่าผู้ป่วยเป็นวัณโรค 5 ราย อัตราป่วยคิดเป็น ๒.๒๑ ต่อประชากรพันคน และพบผู้ป่วยดื้อยา MDR-TB ในปี ๒๕๕๙ จำนวน ๑ ราย และกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่ ดังนี้ AIDS จำนวน 1 คน, DM/HT จำนวน 213 คน, ผู้สูงอายุ จำนวน ๔๐๐ คน, กลุ่มแกะสลักหิน จำนวน 57 คน, ผู้สัมผัสร่วมบ้าน จำนวน 25 คน จากการดำเนินงานผู้ป่วยโรควัณโรคในชุมชน ที่ผ่านมาพบปัญหาของผู้ป่วย คือ การรับประทานยาที่ไม่สม่ำเสมอ มีอาการแพ้ยา ซึ่งเกิดได้บ่อยในช่วง ๒ เดือนแรก ระยะเวลาในการรักษานาน ซึ่งต้องกินยาติดต่อกันอย่างน้อย ๖ เดือน เมื่อผู้ป่วยกินยาได้ประมาณ ๒ เดือน ผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นมาก จนคิดตัวเองหายแล้ว และเลิกกินยาเอง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาวัณโรคได้ ซึ่งส่งผลให้อาการรุนแรงขึ้น และอาจตายจากการป่วยเรื้อรังได้ หรือมีระยะเวลาแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ในชุมชนได้นานขึ้น เชื้อวัณโรคจะกลายเป็นเชื้อดื้อยา ทำให้ยากต่อการรักษาและควบคุมวัณโรคได้ อีกทั้งภาระค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค ดังนั้นการพัฒนาระบบการรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นโดยมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยาตลอดการรักษา โดยการรักษาแบบ DOT เป็นรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยวัณโรคที่ใกล้ชิดและสามารถดูแลอย่างต่อเนื่อง ที่เชื่อมประสานการทำงานตั้งแต่เครือข่ายพี่เลี้ยง อสม. เครือข่ายบริการปฐมภูมิจนถึงโรงพยาบาลชุมชน เป็นระบบการรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่มีประสิทธิผล ป้องกันการดื้อยาและการกลับมาเป็นซ้ำ และผู้ป่วยสามารถหายจากผู้ป่วยวัณโรคได้  
วัตถุประสงค์ : ๑.เพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาแนวทางการควบคุม ป้องกันโรควัณโรคในชุมชน ๒.เพื่อดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรควัณโรคในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓.เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในดำเนินการเพื่อลดการป่วยและตายด้วยวัณโรคในชุมชน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค ผู้นำชุมชน ครู และอาสาสมัครสาธารณสุข  
เครื่องมือ : แนวทางการสัมภาษณ์ แนวคำถามในการจัดสนทนากลุ่ม และการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมแก่ภาคีเครือข่าย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนการดำเนินงาน การสร้างภาคีเครือข่ายการดำเนินงาน ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโรควัณโรคกำหนดโครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ระดับตำบล ๒. วิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรควัณโรคและกำหนดมาตรการของชุมชนในการลดโรควัณโรค ๓. ประกาศนโยบายการลดโรควัณโรคและสื่อสารแก่ประชาชนภายในตำบล ในที่ประชุมอปท. หอกระจายข่าว และอสม.สื่อสารระดับครัวเรือน ๔. พัฒนาศักยภาพ Mr.TB และ Leader TB (ผู้นำชุมชน) การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในระยะเริ่มแรก ๑.การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยระยะแรกในกลุ่มเป้าหมาย การวินิจฉัยวัณโรค ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเพื่อตรวจชันสูตรเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ผ่านการประเมินคุณภาพตามวิธีการ และเกณฑ์ของกรมควบคุมโรค การจัดคลินิกบริการในรพ.สต. ๑.ประสานข้อมูลการรักษาที่ส่งกลับจากรพ.นาคู ๒.จัดให้มีพี่เลี้ยงกำกับการกินยาผู้ป่วยทุกราย (DOT) ๓.จัดทำแนวทางปฏิบัติการกำกับกินยา ๔. เยี่ยมบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ในระยะเข้มข้นร่วมกับชุมชน ๕.ติดตาม/ประเมินสภาพผู้ป่วย กรณีไม่มาตามนัด ๖.ให้ความรู้/การปฏิบัติตัวการป้องกันตนเองและการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้าน ทะเบียนและรายงานวัณโรค ๑. ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ทุกราย อย่างครบถ้วน ๒.จัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคให้เป็นปัจจุบัน การขับเคลื่อนทางสังคม ๑.ประชาสัมพันธ์-รณรงค์วันวัณโรคโลกให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ประชาชน ๒.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคทางหอกระจายข่าวในแต่ละชุมชน ๓.เยี่ยมยามถามไถ่คนในชุมชนช่วยกำกับการกินยาผู้ป่วยทุกราย ร่วมกับ เจ้าหน้าที่สาสุข/ Mr.TB ๔.จัดให้มีพี่เลี้ยงกำกับการกินยาผู้ป่วยทุกราย (DOT) โดย Mr.TB และ Leader TB (ผู้นำชุมชน) ๕.ติดตามและประเมินผล สรุป ปัญหา อุปสรรค  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง