|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : กระบวนการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ บ้านหว้านพัฒนา ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
นายเนมิราช จิตรปรีดา |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบ้านหว้านพัฒนา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ในปี พ.ศ.2559 มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในพื้นที่ทั้งหมด จำนวน148 คน แบ่ง เป็นกลุ่มติดเตียง 2 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน 17 คน ผู้สูงอายุติดสังคม 129 คน พื้นที่ที่มีปัญหาการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุมากที่สุดคือบ้านหว้านพัฒนา หมู่ที่ 7 ปัจจุบันได้มีหน่วยงานจำนวนมากที่มีการดำเนินการต่างๆ เพื่อดูแลและส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ แต่เป็นการดำเนินงานแบบแยกส่วนหรือต่างคนต่างทำ เกิดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม ขาดประสิทธิภาพ คณะทำงานจึงเห็นความสำคัญที่จะพัฒนากระบวนการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ให้มีความสอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรม เป็นกลไกการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุ และมีองค์ความรู้ใดที่นำไปสู่การดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนได้ |
|
วัตถุประสงค์ : |
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการของผู้สูงอายุและบริบทการทำงานขององค์กรที่เกี่ยวข้อง,สร้างรูปแบบกระบวนการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ,สร้างข้อเสนอแนะให้กับผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชมรมผู้สูงอายุ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 148 คน และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ได้แก่ ผู้นำชุมชน,อสม.,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและแกนนำชมรมผู้สูงอายุ รวม 30 คนดำเนินการในพื้นที่บ้านหว้านพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
เครื่องมือ : |
แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพีีณา |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและวางแผนการดำเนินงาน ระยะที่ 2 การดำเนินการ ระยะที่ 3 ประเมินผล ระยะที่ 4 สะท้อนผลการปฏิบัติการ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน148 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 67.4 มากกว่าครึ่งหนึ่งมีอายุระหว่าง 60-69 ปี ร้อยละ 64.2 มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 71.4 มีสถานภาพสมรสเป็นคู่ร้อยละ68.2 เป็นผู้ว่างงานหรือเลี้ยงบุตรหลานไปด้วยร้อยละ 74.6 อาศัยอยู่กับครอบครัวของลูกร้อยละ57.6 รายได้ส่วนใหญ่ได้รับเบี้ยเลี้ยงชีพจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดือนละ 600 บาท ร้อยละ 95.7 รองลงมาเป็นบุตรหลานให้และจากการทำงานร้อยละ 76.8และ46.2 ตามลำดับ โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 3750.6 บาท ส่วนความต้องการของผู้สูงอายุมากที่สุดคือ การสร้างอาชีพร้อยละ 89.6รองลงมาคือ การมีสุขภาพที่แข็งแรงได้รับการดูแลเมื่อเจ็บป่วยและการรู้สึกมีคุณค่าในสังคมร้อยละ 76.4 และ 72.3 ตามลำดับ ที่ผ่านมาการดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องและชมรมผู้สูงอายุขาดความต่อเนื่อง ยังไม่ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ จากปัญหาที่ค้นพบ ภาคีเครือข่ายได้กำหนดรูปแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาไว้ 4 ระบบคือ การพัฒนาโครงสร้าง,ระเบียบการหรือข้อบังคับ,บทบาทและหน้าที่,และรูปแบบกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ ผลจากการดำเนินงานทำให้องค์กรต่างเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างของชมรมผู้สูงอายุได้แก่ ผู้นำชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาชุมชนและการศึกษานอกโรงเรียน เกิดการบูรณาการความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมและการพัฒนาระเบียบของชมรมอย่างเป็นรูปธรรม ผู้สูงอายุสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกมากกว่าร้อยละ 95.3 มีการระดมทุนและทรัพยากรในสังคมจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุเป็นเงิน 100,000 บาท รูปแบบกิจกรรมของชมรมได้แก่ การเป็นแกนนำในงานบุญประเพณี งานศพ เข้าค่ายปฏิบัติธรรม เข้าวัดทุกวันพระ การรวมกลุ่มจิตอาสาเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อสนับสนุนบริการให้กับสมาชิก การรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้กวาด,ข้าวคั่ว,พริกป่น,ดอกไม้จันทน์ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตระหว่างผู้สูงอายุและชุมชน 2 เดือนต่อครั้ง และชุมชนยังถือว่าพิธีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์เป็นงานบุญประจำปีของหมู่บ้าน จากการจัดเวทีถอดบทเรียนร่วมกับภาคีเครือข่ายได้ข้อสรุปปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินงาน คือ องค์กรต่างเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างของชมรมผู้สูงอายุเป็นการบูรณาการความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ระเบียบการของชมรมที่มาจากกระบวนการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นใจและตรงกับความต้องการของสมาชิก รูปแบบกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนและเน้นการสร้างคุณค่าในสังคมทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง การรวมกลุ่มจิตอาสาเพื่อนช่วยเพื่อนช่วยสนับสนุนบริการให้กับสมาชิกได้เป็นอย่างดี |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ชมรมผู้สูงอายุ ต้องเป็นแกนนำหลักในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบกิจกรรมของสมาชิก, สร้างบทบาทในสังคม, แสวงหาหรือขอสนับสนุนบริการจากองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อเกื้อหนุนคุณภาพชีวิตให้กับสมาชิก ผู้นำชุมชน อสม. และคนในครอบครัว ต้องสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุและมีบทบาทในสังคม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ต้องจัดบริการตรวจสุขภาพประจำปี, การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลในครัวเรือนและบูรณาการเยี่ยมบ้านร่วมกับภาคีเครือข่าย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|