ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับซ้ำของประชาชนในเขตอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : อัจฉราพรรณ ชั่งยนต์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคพยาธิใบไม้ตับ เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคกลาง ในปี 2538 ประมาณการว่ามีคนติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับทั่วโลกถึง 17 ล้านคน ตรวจพบพยาธิใบไม้ตับโอพิทอคิส วิเวอร์รินาย(Opisthorchisviverrimi) ในประเทศไทยและลาว จำนวน 9 ล้านคน คาดว่ามีผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประเทศไทยอย่างน้อย 7 ล้านคน (World Health Organization[WHO], 1995) และในปี 2545 มีผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนในประเทศไทย จากการคัดกรองพยาธิใบไม้ตับของอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี 2558 พบว่า คัดกรอง 975 คน พบไข่พยาธิ 177 คน คิดเป็นร้อยละ 18.15% และในปี 2559 ได้ทำการตรวจซ้ำในกลุ่มที่ติดเชื้อพยาธิ จำนวน 177 คน พบไข่พยาธิ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 3.39% ซึ่งยังพบว่ามีการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับซ้ำของประชาชนในเขตอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 6 ราย  
เครื่องมือ : รวบรวมข้อมูลแบบสัมภาษณ์เจาะลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย(n=6) ประกอบอาชีพเกษตรกร (n=6) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่(n=6) บอกได้ถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพยาธิใบไม้ตับว่าการบริโภคปลาดิบเป็นสาเหตุให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ และกลุ่มตัวอย่าง 4 คน ได้สะท้อนถึงปัจจัยที่ทำให้ตนติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับซ้ำ ด้วยความคิดเห็นที่ว่าการกินปลาดิบมีรสชาติที่ดีกว่ากินสุก โดยกลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลว่า “คั่นกินสุกกะบ่แซบแหล่วคุณหมอ มันเสียรสชาติ” กับ “เคยกินมาแต่โดน กะบ่เห็นเป็นหยัง” ทั้งนี้ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ถึงการประกอบอาหารโดยเฉพาะก้อยปลาแบบสุก พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 2 คน หั่นผักสำหรับปรุงโดยใช้เขียงเดิมซึ่งไม่ได้ล้างเขียงหรือแยกเขียงต่างหาก ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับพยาธิใบไม้ตับ แต่ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องได้ เช่น ยังเห็นว่าการกินปลาดิบมีรสชาติที่ดีกว่ากินสุก และอีกปัจจัยที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องการประกอบอาหารที่ใช้เขียงเดิมในการหั่นผักสำหรับปรุงโดยไม่ได้ล้างเขียงหรือแยกเขียง ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ อาจส่งผลต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับซ้ำ  
ข้อเสนอแนะ : ควรมีการติดตามผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับซ้ำอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตรวจอุจจาระ เพื่อประโยชน์ในการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคมะเร็ง ท่อน้ำดี หากไม่เลิกพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ หรือ ปลาส้มดิบ ปลาเจ่าดิบ ปลาจ่อมดิบ  
     
รางวัลที่ได้รับ : การนำเสนอโปสเตอร์ ระดับ ระดับจังหวัด  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง