ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการปรับเปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคร้าย ห่างไกลโรค ด้วยโปรแกรมแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนากระเดา ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ดวงพร บุญธรรม, นายประมวล สะภา,นางสาวจันจิรา พิมพ์แสง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การแก้ปัญหาสุขภาพของประชน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยแพทย์แผนปัจจุบันทั้งหมด เพราะปัญหาสุขภาพที่เกิดทั้งในอดีตและปัจจุบันยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคเบาหวาน จากสถิติเบาหวานทั่วโลก ปี 2558 พบผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 415 ล้านคน 1 ใน 11 คน เป็นโรคเบาหวานโดยไม่รู้ตัว และทุก 6 วินาทีมีคนตายด้วยโรคเบาหวาน (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย.//2559:ออนไลน์) สำหรับในประเทศไทย ข้อมูลองค์การอนามัยโลกในปี 2553 พบว่า ประมาณร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมดเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง และประมาณร้อยละ 29 ของการเสียชีวิต จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เกิดในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี โดยสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ร้อยละ 27 โรคมะเร็ง ร้อยละ 12 โรคทางเดินหายใจ ร้อยละ 7 และโรคเบาหวาน ร้อยละ 6 (สมเกียรติ โพธิสัตย์ และคณะ (2557) การทบทวนวรรณกรรมสถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) โรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น พฤติกกรมการกิน พฤติกรรมการออกกำลังกาย รสนิยมการใช้ชีวิตในกระแสสังคมที่เน้นการสร้างรายได้ เพื่อมาดูแลสุขภาพ จนเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาสุขภาพตามมา และปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดขึ้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อการรักษา การดูแลสุขภาพ ที่ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้นำการแพทย์ทางเลือก (แพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง) มาใช้ในการดูแลสุขภาพ และเพื่อการสร้างตัวอย่างนำร่องในระดับตำบลทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดีวิถีธรรม ตามนโยบายงานยุทธศาสตร์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อนำแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาเพื่อสร้างหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดีวิถีธรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้โดยใช้สมุนไพรใกล้ตัวที่ประโยชน์สูง ประหยัดสุด และการใช้หลักยา 9 เม็ดตามหลักแพทย์วิถีธรรม เพื่อการดูแลสุขภาพของประชาชน ซึ่งพื้นที่บ้านนากระเดา หมู่ที่ ๖ ตำบลสายนาวัง มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด ๘๗ หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด ๔๑๑ คน ซึ่งมีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน ๑๗ คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๑ คน  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการรับประทานอาหารตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง (NCDs) 2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs ) ในกลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มวัยทำงานอายุ 35 – 60 ปี  
กลุ่มเป้าหมาย : 1.กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง (NCDs)ในเขตเทศบาลตำบลนาคู ๕0 คน  
เครื่องมือ : ๑. แบบสัมภาษณ์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีดำเนินการ 1. ประชุมคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ร่วมกับคณะกรรมการบูรณาการระดับตำบล คณะกรรมการกาฬสินธุ์คนดี สุขภาพดี รายได้ดี เพื่อคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดีวิถีธรรม ประจำตำบล จำนวน 1 หมู่บ้าน พร้อมระดมสมองกำหนดทิศทางด้านสุขภาพตามแนวทางหมอครอบครัว อาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.) และการจัดการสุขภาพชุมชน การจัดการสุขภาพกลุ่มวัย มุ่งสู่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ 2. เสนอโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดี วิถีธรรม ต่อคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับตำบล และติดตามการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ 3. สำรวจ จัดทำทะเบียนประชาชนในตำบล และเน้นหนักหมู่บ้านต้นแบบ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลการดำเนินงานการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรื้อรัง โดยแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย พร้อมจัดระบบการดำเนินงานอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.) 4. คัดเลือก รับสมัครกลุ่มเป้าหมายในการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรื้อรังทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลักสูตรสุขภาพดีวิถีธรรม ระดับตำบล ระยะเวลา 3 วัน โดยจัดให้มีอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.) อย่างน้อยร้อยละ 50 ของหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบของสถานบริการ 5. ใช้สุขศาลาเป็นศูนย์กลางประสานงานของ รพ.สต. อสม. และอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.) สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านค่ายฯ ในการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามแนวทางสุขภาพดีวิถีธรรม โดยมีการประเมินพฤติกรรม และสุขภาวะ ตามเครื่องมือที่กำหนด 6. คณะกรรมการบูรณาการตำบล อำเภอ ติดตามประเมินหมู่บ้านสุขภาพดี วิถีธรรม และรับการประเมินรับรอง จากคณะกรรมการประเมินหมู่บ้านสุขภาพดีวิถีธรรม ระดับจังหวัด 7. ร่วมมหกรรมหมู่บ้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สุขภาพดีวิถีธรรม ระดับอำเภอและระดับจังหวัด  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง