ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการใช้ Modified Early Warning Scores ( MEWS) เพื่อป้องกันอาการทรุดหนักในผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลท่าคันโท
ผู้แต่ง : ชลีกาญจน์ พัฒยา, เนตรดาว นาหนองตูม, ดาริกา ศิริสุทธา ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นของผู้ป่วยใน ของทุกโรงพยาบาลทั่วโลก โดยพบอุบัติการณ์ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 240 ราย ต่อ 100,000 ประชากร ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทย พบอุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ประมาณ 75-150 ราย ต่อแสนประชากร หรือมากกว่า 5,000 – 10,000 รายต่อปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 62-73.9 ปัจจัยการเสียชีวิตที่สำคัญ ได้แก่ การวินิจฉัยที่ล่าช้า การได้รับยาปฏิชีวนะช้ากว่า 3 ชั่วโมงหลังการวินิจฉัย การได้รับยาปฏิชีวนะไม่เพียงพอ อวัยวะหลายระบบทำงานล้มเหลว จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย sepsis ของโรงพยาบาลท่าคันโท ในปีงบประมาณ 2556 – 2558 พบจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย sepsis จำนวน 24 , 22 และ 30 ราย ตามลำดับ พบผู้ป่วย severe sepsis / septic shock จำนวน 10 , 12 และ12 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.67 , 54.55 และ 40.0 ตามลำดับ พบการเกิดภาวะทรุดหนักในผู้ป่วย sepsis ขณะดูแลรักษาในโรงพยาบาลท่าคันโท โดยพบว่ามีการเกิดอุบัติการณ์ unplaned refer จำนวน 1, 3 และ1 ราย ตามลำดับ มีการเกิดอุบัติการณ์ unplaned intubation จำนวน 1, 3 และ1 ราย ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะ sepsis รวมทั้งที่เสียชีวิตหลังส่งต่อใน 24 ชั่วโมง มีจำนวน 2 ราย ในปี 2557 โดยผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่มีการอักเสบติดเชื้อที่ไต มีการอักเสบติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการอักเสบในช่องท้อง พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดอาการทรุดหนักขณะดูแลรักษาผู้ป่วย sepsis ในโรงพยาบาลท่าคันโท ได้แก่ การประเมินอาการเปลี่ยนแปลงที่ล่าช้า ในปี 2557 โรงพยาบาลท่าคันโท เริ่มมีการนำเอาแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย severe sepsis/septic shock ของเครือข่ายจังหวัดกาฬสินธุ์มาใช้ในการดูแลรักษา แต่ยังพบปัญหาการเกิดอาการทรุดหนัก ในผู้ป่วย sepsis ขณะดูแลรักษาในโรงพยาบาล จนเกิดอุบัติการณ์ unplaned refer อุบัติการณ์ unplaned intubation ซึ่งสาเหตุเกิดจากการประเมินอาการเปลี่ยนแปลงที่ล่าช้า ทีมสหวิชาชีพ ได้มีการนำเอาเครื่องมือ MEWS มาใช้ในการประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย sepsis โดยมีเป้าหมายเพื่อ ลดอัตราการเกิดอาการทรุดหนักของผู้ป่วย sepsis  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้เครื่องมือ MEWS เพื่อป้องกันอาการทรุดหนักในผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย sepsis ตาม ICD 10 ทั้งหมด ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลท่าคันโท  
เครื่องมือ : 1.แบบประเมิน Modified Early Warning Scores (MEWS) ของ โรงพยาบาลท่าคันโท 2.แนวทางการดูแลผู้ป่วยตามระดับ MEWS score  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ระยะที่ 1 (วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2559) - การสร้าง แบบประเมิน Modified Early Warning Scores (MEWS) ของ โรงพยาบาลท่าคันโท - การนำเอา CPG การดูแลรักษา severe sepsis / septic shock จังหวัดกาฬสินธุ์ มาประยุกต์ใช้ตามบริบท ระยะที่ 2 ( วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2559 ) - การให้ความรู้การใช้แบบเฝ้าระวัง MEWS - อบรมการใช้ CPG การดูแลรักษา severe sepsis / septic shock - การใช้ MEWS กับผู้ป่วย  
     
ผลการศึกษา : พบว่า ในระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2559 มีผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยอาการนำของการติดเชื้อจำนวน 243 คน ได้รับการวินิจฉัย sepsis ตาม sepsis protocol และเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน จำนวน 10 คน ได้รับการประเมินด้วย MEWS จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ตัดกลุ่มตัวอย่างจากการวิเคราะห์ผลการศึกษา 1 คน (ผู้ป่วย MEWS score ตั้งแต่ 4 ขึ้นไป ไม่ได้ปฏิบัติตาม แนวทางการใช้ MEWS โดยพบว่าเกิดภาวะระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดอุบัติการณ์ unplan refer) ผู้ป่วยใน จำนวน 9 คน ได้รับการประเมินด้วย MEWS และดูแลตาม MEWS จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ป่วย MEWS score ตั้งแต่ 0-3 ลงมา จำนวน 3 คน ไม่เกิดอาการทรุดหนัก ผู้ป่วย MEWS score ตั้งแต่ 4 ขึ้นไป ได้รับการดูแลตามแนวทางการใช้ MEWS ไม่เกิดอาการทรุดหนัก จำนวน 6 คน ดังนั้น การใช้ MEWS ในการดูแลผู้ป่วย sepsis ในระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงสามารถช่วยการประเมินและตอบสนองต่อผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดอาการทรุดหนักได้  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ