ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ลดอัตราตายผู้ป่วยวัณโรค โดยการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย
ผู้แต่ง : เฉลิมพล โพธิ์สาวัง ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : จากผลการดำเนินงานย้อนหลัง ๓ ปี พบว่า ผลการรักษาปี ๒๕๕๗-๒๕๕๙ มีอัตราหายขาด ๙๒.๔%, ๙๒.๓% และ ๘๓.๓๓% ตามลำดับ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวพบว่า มีผู้ป่วยที่รักษาล้มเหลวในปี ๒๕๕๗,๒๕๕๙ ในปี ๒๕๕๙ มีผู้ป่วยจำนวน๑ราย ที่มีผลการรักษาล้มเหลว และต่อมาผลการตรวจเสมหะเพาะเชื้อพบเป็นวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) มีผู้ป่วยเสียชีวิต ในปี ๒๕๕๗,๒๕๕๙จำนวนปีละ 1 ราย ซึ่งจากการวิเคราะห์สาเหตุการตายพบว่าเป็นผู้ป่วยมะเร็งร่วมกับเป็นผู้สูงอายุ และอีกรายเป็นพระภิกษุสูงอายุที่ไม่มีผู้กำกับการกินยา และผู้ป่วยปฏิเสธการรักษา ศักยภาพ/ข้อจำกัดด้านบุคลากร ทรัพยากรต่างๆ โรงพยาบาลไม่มีอายุรแพทย์ แต่ได้มีการมอบหมายแพทย์ทั่วไปรับผิดชอบคลินิกผู้ป่วยวัณโรคประจำ จัดพยาบาลที่ผ่านการอบรมพยาบาลประจำคลินิกวัณโรคหลัก 2 คน เพื่อดูแลติดตามดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุม โดยมีเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโดยใช้กระบวนการ service plan ระดับจังหวัดเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีมาตรฐานดูแลผู้ป่วยวัณโรคเดียวกัน ประเด็นคุณภาพ/ความเสี่ยงที่สำคัญ 1 พบผู้ป่วยวัณโรคมีแนวโน้มอัตราตายสูงขึ้น 2 อัตราการความสำเร็จของการรักษาลดลงน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  
วัตถุประสงค์ : 1 ลดอัตราตายให้น้อยกว่าร้อยละ3 2 เพิ่มอัตราการความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ90  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยวัณโรคที่รับการรักษาด้วยยาต้านวัณโรค ในเขตอำเภอท่าคันโท  
เครื่องมือ : 1.TB DOT program 2.แนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลท่าคันโท  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ให้การรักษาเน้นระบบการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS; Directly ObservedTherapy Short course) โดยท่าคันโท มีผู้กำกับการกินยาคือ อสม เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีเสมหะพบเชื้อ ซึ่งใช้สถานที่กำกับการกินยาที่สุขศาลา นอกจากนี้ อสม.เชี่ยวชาญด้านวัณโรคยังทำหน้าที่คัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยวัณโรคในชุมชน โดยใช้แบบคัดกรองด้วยวาจา (verbal screening) 2.มีระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยจากคลินิกวัณโรคไปยังสถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งโดยสถานีอนามัยต้องมีทะเบียนผู้ป่วย อำเภอท่าคันโทมีระบบการประสานเครือข่ายโดย ใช้ช่องทางต่างๆดังนี้ 2,1 ทำหนังสือราชการส่งข้อมูลไปที่ สาธารณสุขอำเภอท่าคันโท รพสต.และเครือข่ายบริการอื่นๆเช่น เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานวัณโรคในเทศบาล 2.2 ทางอิเล็กโทรนิค ได้แก่ ทางเมลล์ไลน์ เฟสบุค โดยเป็นระบบปิด เฉพาะกลุ่ม เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูล 2.3 ทางโทรศัพท์แจ้ง 3.เมื่อมีผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ - การคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ณ จุดคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ตามมาตรฐานการดูแลวัณโรคพบผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยวัณโรค จะป้องกันโดยแจกหน้ากากอนามัยแล้วคัดแยกผู้ป่วยไปไว้ที่จุดคัดแยกผู้ป่วยโรคติดต่อทางเดินหายใจ เจ้าหน้าที่คัดกรองจะใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในการคัดกรอง โดยส่ง film CXR และส่งตรวจ sputum AFB เชิญแพทย์ตรวจที่จุดคัดกรอง- 3.1 แพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เจอผู้ป่วยแจ้งให้เจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรคทราบ แล้วเจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรคประเมินความพร้อม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัณโรคของผู้ป่วยและผู้ที่ทำหน้าที่กำกับการกินยา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรควัณโรค การรักษา อาการข้างเคียงจากยา การกำกับการกินยาต่อหน้า การมารับการตรวจตามนัด 3.2เจ้าหน้าที่ประจำคลินิกจะติดต่อมิสเตอร์ทีบีประจำสถานีอนามัยและส่งตัวผู้ป่วยเพื่อให้รับการดูแลแบบมีพี่เลี้ยง(DOTS) โดยมิสเตอร์ทีบีหมู่บ้าน(อสม.) ต่อไปนอกจากจะทำหน้าที่กำกับการกินยาวัณโรคแล้วยังทำหน้าที่ประสานงานเจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรคเมื่อผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาวัณโรค 3.3 ช่องทางในการติดต่อสื่อสาร พัฒนาช่องทางที่อำนวยความสะดวกต่อผู้ป่วย ผู้ที่ทำหน้าที่กำกับการกินยา อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เช่น โทรศัพท์ เมลล์เฟสบุ๊คไลน์ 4.จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคประจำโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐานโดยมีการคัดกรองความพร้อมของผู้ป่วยทั้งการประเมินทางด้านการรับรู้เรื่องโรค ด้านร่างกายเพื่อคัดแยกผู้ป่วยเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ผู้ป่วยที่มีการรับรู้เรื่องโรคที่ดี ร่างกายแข็งแรง ดัชนีมวลกายระดับปกติ และไม่มีโรคแทรกซ้อน ประเภทที่ 2 ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน ร่างกายอ่อนแอ ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่าปกติ แต่ไม่มีปัญหาด้านสังคม ประเภทที่ 3 ผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน หลายอย่างเช่น มีโรคแทรกซ้อน ร่างกายอ่อนแอ ผอม มีปัญหาด้านสังคมที่ไม่สามารถกินยาได้ (โดยใช้แบบประเมินความพร้อม TB) 5 การใช้แนวทางการรักษาวัณโรค และการดูแลผู้ป่วยวัณโรคตามประเภทของผู้ป่วย 5.1 ประเภทที่ 1 ให้การดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรค (usual care) 5.2 ประเภทที่2 มีระบบการ consult อายุรแพทย์ ทีมโภชนาการ ทีมหมอครอบครัว 5.3 ประเภทที่ 3 มีการประสานการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเช่น ทีมสังคมสงเคราะห์ เทศบาล อำเภอ ใช้กระบวนการกฎหมายชุมชนเข้าร่วมดูแล / ภาคีเครือข่ายผ่านศูนย์โฮมสุข/ สุขศาลา /องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ