ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ภาวะสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : วิภาดา จิตรปรีดา ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ปัญหาสุขภาพช่องปากโดยเฉพาะโรคฟันผุและเหงือกอักเสบเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขของประชากรทุกกลุ่มอายุในประเทศ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์พบปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเหงือกอักเสบซึ่งจะพบได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 และเดือนที่ 3 และจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นจนถึงเดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์ การเพิ่มของระดับฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในขณะตั้งครรภ์ มีผลทำให้แบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุขอโรคเหงือกอักเสบเจริญเติบโตขึ้น ทำให้เหงือกอักเสบบวมแดงและมีเลือดออกง่าย แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นโรคเหงือกอักเสบขณะตั้งครรภ์ แต่หากมีอนามัยช่องปากที่ดีอยู่แล้วจะไม่เป็นโรคนี้ ในบางครั้งโรคเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์ อาจรุนแรงมากจนกระทั่งเหงือกมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อใหญ่ขึ้นจนเป็นอุปสรรคต่อการบด การรักษาเหงือกอักเสบระหว่างการตั้งครรภ์สามารถทำได้ในเดือนที่ 4 ถึง เดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ โดยการขูดหินน้ำลายและกำจัดแบคทีเรียในช่องปากรวมทั้งการสาธิตวิธีแปรงฟัน นวดเหงือกและการใช้ไหมขัดฟัน หากมีก้อนเนื้องอก ที่เหงือกก็ควรตัดออกโดยทันตแพทย์ โรงพยาบาลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง มีหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ โดยเฉลี่ย 200 คน ต่อปี การศึกษาถึงภาวะสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ จะทำให้สามารถนำมาออกแบบระบบในการดูแลทางทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงแนวทางการให้บริการที่เหมาะสมและทันตสุขศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลท่าคันโท 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลท่าคันโท  
กลุ่มเป้าหมาย : หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ช่วงปี 2556-2559  
เครื่องมือ : 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย อายุ การศึกษา จำนวน ครั้ง การตั้งครรภ์ 2) แบบสัมภาษณ์ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก เป็นคำถามปลายเปิด 3) เวชระเบียนผู้ป่วย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive) กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทุกกลุ่มอายุที่มารับบริการฝากครรภ์ ที่คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลท่าคันโท ในปี 25556– 2559 จำนวน 748 คน โดยการศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียน การสัมภาษณ์หญิงตั้งครรภ์ที่รับบริการตรวจสุขภาพช่องปากในช่วงเวลาที่กำหนด บันทึกในแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพช่องปาก ทำการสรุปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ร้อยละ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ