|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การประคบเย็นและการประคบร้อนในมารดาหลังคลอด |
ผู้แต่ง : |
หฤทัย สิงหกุล |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ในปัจจุบันการแพทย์แผนไทยได้มีบทบาทด้านการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพในสังคมมากขึ้น โดยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เน้นการดูแลสุขภาพและบำบัดรักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ถูกนำมาใช้ในการดูแลส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพเช่นกัน การดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้ทางแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสมเด็จ ได้ให้การบริบาลมารดาหลังคลอดด้วยการนวด ประคบ การอบสมุนไพร การเข้ากระโจม การทับหม้อเกลือ รวมถึงการใช้สมุนไพรอื่นๆร่วมด้วย เพื่อให้มารดามีน้ำนมมากขึ้น ขับน้ำคาวปลา ให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น การเข้ารับการบริบาลมารดาหลังคลอดนั้นขึ้นอยู่กับการคลอด คือหากผ่าคลอด ให้เข้ามารับการบริการได้หลังจากคลอดแล้ว 1 เดือน สำหรับการคลอดปกตินั้นสามารถเข้ามารับบริการได้หลังจากคลอดแล้ว 7 วัน
ซึ่งระหว่างที่มารดาหลังคลอดได้พักพื้นในโรงพยาบาลมีผู้ป่วยหลายรายที่คัดตึงเต้านมและมีอาการเจ็บอย่างมากอีกทั้งน้ำนมนั้นยังไหลออกมาได้จำนวนน้อย จึงเป็นสาเหตุให้ทารกต้องรับประทานนมจากมารดาไม่เพียงพอจึงต้องให้ทานนมผงเพิ่มเติม
ทางทีมแพทย์แผนไทยได้เล็งเห็นว่าหากมีการประคบร้อน- เย็น บริเวณเต้านมของมารดาหลังคลอดจะช่วยลดการเจ็บปวดลงได้ จึงเป็นระยะที่ควรได้รับการบรรเทา ความเจ็บปวด ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการทบทวนวรรณกรรมการใช้ความเย็น และความร้อนบรรเทาความเจ็บปวดเต้านมในมารดาหลังคลอด พบว่าระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมในการบรรเทาความเจ็บปวดคือ 10-15 องศาเซลเซียสระยะเวลาที่เหมาะสมคือ 20-30 นาทีและ 40-45 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่เหมาะสม คือ 20 -30 นาที(Lehmann & Lateur, 1990c) มีรายงานการศึกษาของ ปาริชาต ชูประดิษฐ์และวีรวรรณ ภาษาประเทศ(2548) ที่ศึกษาผลของการประคบเย็นต่อ พบว่าผู้คลอดที่ได้รับการประคบด้วยเจลแช่เย็นบริเวณหลังส่วนล่าง และก้นกบนาน 20 นาทีจะ มีระดับความเจ็บปวดตํ่ากว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการประคบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคลองกัน
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการประคบเย็นและการประคบร้อนในมารดาหลังคลอด |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้คลอดที่มารับบริการคลอดที่โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2558- กันยายน 2559 |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถาม |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. จัดทำทะเบียนรายชื่อหญิงหลังคลอด ที่อยู่ ของมารดาหลังคลอด จากงานห้องหลังคลอดโรงพยาบาลสมเด็จ
2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ตึกหลังคลอด)
3. จัดเตรียมอุปกรณ์และเอกสารแบบสอบถาม
4. รวบรวมข้อมูลและสรุปผล |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการศึกษาความพึงพอใจของการประคบเย็นและการประคบร้อนในมารดาหลังคลอด พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมของคนไข้ที่มีต่อการประคบเย็น ประคบร้อน อยู่ในระดับ พึงพอใจมาก โดยแยกเป็นวิธีการประคบ พบว่า มารดาหลังคลอดพอใจในความปลอดภัยของเจล/ ลูกประคบที่นำมาใช้มากที่สุดทุกราย มีความพอใจในความเหมาะสมของขนาดเจล/ ลูกประคบที่นำมาใช้ อุณหภูมิที่พอดี แต่ระยะเวลาที่ใช้ในการให้บริการน้อย ซึ่งจากคำแนะนำของมารดาหลังคลอด ต้องการให้มีการประคบเป็นระยะเวลานานมากขึ้น
การได้รับความเข้าใจในการประคบเย็น ประคบร้อน พบว่า มีความพอใจมาก รวมทั้งขณะ ประคบร้อนเย็น มารดาหลังคลอดจะได้รับความรู้เรื่องสมุนไพรและมีโอกาสได้ซักถาม ถึงข้อ สงสัยและการทับหม้อเกลือหลังออกจากโรงพยาบาล
ผลจากการประคบเย็น ประคบร้อน พบว่า มารดาหลังคลอดมีความพอใจในการทำให้ น้ำนมไหลมากขึ้น และ ลดอาการคัดเกร็งเต้านมได้ และมีความคิดเห็นว่า การประคบเย็น ประคบร้อน เป็นการประยุกต์ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น ได้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ไม่ ฟุ่มเฟือย และจากการประคบเย็นและการประคบร้อนในมารดาหลังคลอด ไม่พบอุบัติการณ์
การแพ้ หรือ รอยแดงที่เกิดจากงานไหม้
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ควรมีการพัฒนางานแพทย์แผนไทยให้ครอบคลุมและทั่วถึง เนื่องจากผู้มารับบริการมาก แต่ให้บริการไม่ทั่วถึง หรือจำเป็นต้องจำกัดปริมาณคนไข้ในแต่ละวัน |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|