|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความชุกของการติดเชื้อในโลหิตบริจาคโรงพยาบาลกมลาไสย |
ผู้แต่ง : |
นางอมรวดี สังฆคาม ปานแป้น |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การรักษาผู้ป่วยโดยได้รับการถ่ายโลหิตจากผู้บริจาคโลหิต ยังมีความจำเป็นเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย แต่อันตรายของการรักษาโดยการถ่ายโลหิตประการหนึ่งคือ เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคชนิดต่างๆจากโลหิตที่ได้รับ ตัวอย่างได้แก่ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี(Hepatitis B, Hepatitis C) และการติดเชื้อเอช ไอ วี (HIV )เป็นต้น ในปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีการเพิ่มระดับความสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคจากการถ่ายโลหิตมากขึ้นโดยเฉพาะการติดเชื้อเอช ไอ วี
วิธีการจัดหาโลหิตและส่วนประกอบของโลหิตที่ปลอดภัยนอกเหนือจากการคัดกรองผู้บริจาคโดยการใช้แบบสอบถามซึ่งมีการซักประวัติเพิ่มเติมพร้อมทั้งคำแนะนำ เพื่อให้ผู้บริจาคสามารถประเมินตนเองว่าปลอดภัยหรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการที่จะ มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อโรคไปยังผู้ป่วย ขั้นตอนการตรวจคัดกรอง
โรคติดเชื้อทางห้องปฏิบัติการก็มีความจำเป็น โลหิตที่ตรวจพบเชื้อจะถูกกำจัดทิ้งส่วนโลหิตที่ผลการตรวจไม่พบเชื้อโรคจะถูกนำไปใช้กับผู้ป่วย (ประภานี รัตนมาศ, 2545)
ในกรณีออกรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่ ปัญหาที่พบคือไม่สามารถตรวจสอบประวัติการติดเชื้อของผู้บริจาคโลหิตได้ ทำให้มีการบริจาคซ้ำของผู้บริจาคโลหิตติดเชื้อ เพิ่มเวลาปฏิบัติงานที่สูญเปล่า และเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อ ผู้บริจาคโลหิตที่ติดเชื้อได้รับการแจ้งผลแล้ว แต่ปฏิเสธการติดเชื้อ และต้องการบริจาคซ้ำ ผู้บริจาคโลหิตที่ติดเชื้อ ได้รับการการแจ้งผลล่าช้าหรือไม่ได้รับการแจ้งผล เนื่องจากเขียนที่อยู่ไม่ชัดเจน ครบถ้วน ในขั้นตอนการกรอกประวัติ ทำให้ไม่ได้รับคำปรึกษา และการดูแลป้องกันการแพร่เชื้อ
ผู้วิจัยซึ่งเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานด้านการออกรับบริจาคโลหิต จึงมีความสนใจที่
จะศึกษาถึงความชุกของการติดเชื้อในโลหิตบริจาคของโรงพยาบาลกมลาไสยระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึง 2556 ซึ่งยังไม่เคยนำข้อมูลการติดเชื้อในผู้บริจาคโลหิตมาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานแสดงความชุกและแนวโน้มของการติดเชื้อที่ติดต่อทางโลหิต รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเพศ กลุ่มอายุ และสถานะของผู้บริจาคโลหิตกับความชุกของการติดเชื้อ และเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการพิจารณาแนวทางปฏิบัติการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต รณรงค์เพิ่มจำนวนผู้บริจาคโลหิตกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ หลีกเลี่ยงกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการรับเลือด ลดภาระค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อ และเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้รับเลือด |
|
วัตถุประสงค์ : |
1.2.1 เพื่อหาความชุกการติดเชื้อในโลหิตบริจาคของโรงพยาบาลกมลาไสย
1.2.2 เพื่อเปรียบเทียบความชุกของการติดเชื้อในโลหิตบริจาค ระหว่างผู้บริจาคโลหิตรายใหม่และรายเก่า เพศชายและเพศหญิง และกลุ่มอายุของผู้บริจาคโลหิต
1.2.3 เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเฝ้าระวังและพัฒนาการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ศึกษาความชุกการติดเชื้อของโลหิตบริจาคโรงพยาบาลกมลาไสย ชึ่งบริจาคทั้งในโรงพยาบาลและหน่วยเคลื่อนที่นอกสถานที่ ระหว่าง มกราคม 2555 –ธันวาคม 2556 โดยคัดแยกข้อมูลผู้บริจาคครั้งแรก และผู้บริจาครายเก่า แบ่งตามเพศ ช่วงอายุ และตรวจสอบผลการตรวจคัดกรองการติดเชื้อโดยวิธี Serology (ปี 2555) โดยวิธี Nucleic Acid Amplification Technology (NAT) (ปี 2556) จากภาคบริการโลหิต 6 จังหวัดขอนแก่น แล้วนำข้อมูลจาการศึกษานำมาวิเคราะห์หาความชุกของการติดเชื้อในโลหิตบริจาค |
|
เครื่องมือ : |
แบบบันทึก |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การดำเนินการวิจัยใช้ข้อมูลย้อนหลัง 2 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ถึงเดือนธันวาคม 2556 โดยมีขั้นตอนดำเนินงานวิจัย ดังนี้
3.4.1 คัดแยกข้อมูลผู้บริจาคโลหิตครั้งแรก (First time blood donor) และผู้บริจาคโลหิตรายเก่า
(Repeat blood donor) ซึ่งบริจาคในโรงพยาบาลและหน่วยเคลื่อนที่ภายนอกสถานที่ (Mobile sites) ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2556 ประกอบด้วยข้อมูล ครั้งที่บริจาค เพศ อายุของผู้บริจาคโลหิต และผลตรวจการติดเชื้อของผู้บริจาคเป็นรายบุคคล
3.4.2 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรายงานผลตรวจการติดเชื้อ กับข้อมูลบันทึกประวัติผู้บริจาค
โลหิตโดยผลบวก anti-HIV และหรือ HIVAg บ่งชี้การติดเชื้อ HIV ผลบวก, HBsAg แสดงถึงการติดเชื้อ HBV, ผลบวก anti-HCV หมายถึงการติดเชื้อ HCV และ ผลบวก Syphilis
3.4.3 ตรวจสอบข้อมูลจำนวนผู้บริจาคโลหิตต่อปีเป็นรายบุคคลทั้งผู้ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ ตัด
จำนวนผู้บริจาคโลหิตที่ เคยตรวจพบการติดเชื้อแต่มาบริจาคซ้ำในปีถัดมา
3.4.4 รวบรวมข้อมูลทั้งหมด นำมาวิเคราะห์ทางสถิติและ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|