ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : LEAN packaging วางใหม่ ลดไซส์ใช้คุ้ม :การลดขนาดห่อบรรจุอุปกรณ์ทางการแพทย์ทันตกรรม
ผู้แต่ง : นางสาวรังสินี วันยาว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การห่อบรรจุอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อรักษาสภาพการปราศจากเชื้อ ด้วยวัสดุกลุ่มพลาสติกแบบ Peel pouch เพื่อนำไปทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธี Steam และอบแก๊ส EO เป็นวิธีการที่ให้ประสิทธิภาพการรักษาสภาพปราศจากเชื้อและช่วยให้อายุการรักษาสภาพปราศจากเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ยาวนาน และที่เป็นที่นิยม แม้จะมีราคาไม่แพงแต่เนื่องจากส่วนใหญ่ ซอง Peel pouch ไม่สามารถนำมกลับมาใช้ซ้ำได้ จึงมีความสิ้นเปลืองมากโดยเฉพาะการจัดบรรจุอุปกรณ์ขนาดเล็ก ในบริบทของโรงพยาบาลชุมชนที่ต้องรักษามาตรฐานด้านการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและควบคุมต้นทุนการบริการเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน จึงมีความพยายามในการวิเคราะห์ความสิ้นเปลืองอันเกิดจากกระบวนการบริการทุกขั้นตอน โดยพบว่าต้นทุนการจัดซื้อวัสดุบรรจุอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อรักษาสภาพการทำให้ปราศจากเชื้อ มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุบรรจุประเภท Peel pouch จากการศึกษาแนวคิดการพัฒนาคุณภาพ ที่สนับสนุนให้เกิดการวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนประบวนการทำงาน ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์สำคัญประการหนึ่งคือความคุ้มค่าโดยการลดความสูญเปล่าที่แผงอยู่ในงานประจำ นำมาซึ่งการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาความสิ้นเปลืองที่เกิดจากการบรรจุอุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภท Peel pouch ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้  
วัตถุประสงค์ : ลดต้นทุนการบริการและคงมาตรฐานกระบวนการบรรจุอุปกรณ์การแพทย์เพื่อรักษาสภาพปราศจากเชื้อ  
กลุ่มเป้าหมาย : วัสดุบรรจุปราศจากเชื้อหน่วยจ่ายกลาง  
เครื่องมือ : แบบเก็บข้อมูลต้นทุนารบรรจุอุปกรณ์ทางการแพทย์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : • ประชุมทีมผู้ปฏิบัติเพื่อรับทราบข้อมูลและร่วมวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลดความสิ้นเปลือง พบว่าหน่วยงานมีความต้องการแยกอุปกรณ์เพื่อทำให้ปราศจากเชื้อแบบซองรายชิ้นเพื่อความสะดวกในการใช้งาน อุปกรณ์แต่ละประเภทมีรอบการใช้งานที่มีอายุต่างกัน • จากข้อมูลพบกลุ่มอุปกรณ์ทันตกรรมที่มีขนาดเล็กและมีจำนวนมากที่ใช้ซอง Peel pouch ในการบรรจุเพื่อเข้าสู่กระบวนการทำลายเชื้อและรักษาสภาพปราศจากเชื้อ • ลดขนาดบรรจุอุปกรณ์ โดยใช้วิธี 1) เปลี่ยนแนวการวางอุปกรณ์ และแนวการติดสติกเกอร์ Control label 2) กำหนดขนาดขั้นต่ำของซอง Peel pouch รายขนาดอุปกรณ์ • สื่อสารแนวทางการบรรจุอุปกรณ์กลุ่มที่ใช้ซอง Peel pouch แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อลดการใช้ ซอง Peel pouch ยาวเกินความจำเป็น • ติดตามประเมินผลการปรับขนาดซอง Peel pouch โดยการประเมินผลลัพธ์การรักษาสภาพการปราศจากเชื้อการบรรจุแบบใหม่ ประสิทธิภาพการห่อหุ้ม และความพึงพอใจผู้รับผลงาน ผู้ปฏิบัติงาน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง