ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการจัดการยารายบุคคลในชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่รับประทานยาหลายขนาน โดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม
ผู้แต่ง : นางสาวภัทรพรรณ ภูโทถ้ำ นางสาวขวัญแข วิลัยมาศ นางสาวเลยณภา โคตรแสนเมือง นางอ่อนจันทร์ จันทร์โฮง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : กลุ่มผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่รับประทานยาหลายขนานของอำเภอท่าคันโทมีพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม จากการสำรวจ พบกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนมียาเหลือใช้เนื่องจาก การรับประทานยาไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 42.26 เก็บยาไม่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 30.15 และซื้อยามารับประทานเอง คิดเป็นร้อยละ 27.57 โดยพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิต ไตวาย และกลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งเป็นโรคเจ็บป่วยที่ต้องรับประทานยาหลายขนาน และสภาวะความชรามี Geriatic syndrome ทำให้ส่วนใหญ่แม้เป็นกลุ่มติดบ้านหรือติดสังคมก็ยังคงต้องการผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยาที่มีความซับซ้อนหลายขนาน แต่โครงสร้างครอบครัวผู้สูงอายุในพื้นที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บ้านกับเด็ก ส่วนสมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นวัยกลางคนต้องออกไปทำงานนอกบ้านที่โรงงานและไร่นา ทำให้ไม่มีผู้ดูแลการจัดและรับประทานยาในแต่ละครั้งให้ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง  
วัตถุประสงค์ : • กลุ่มผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่รับประทานยาหลายขนานมีพฤติกรรมการใช้ยาอย่างเหมาะสม • ภาคีเครือข่ายสุขภาพมีส่วนร่วมในการจัดการยา ในพื้นที่ครอบคลุมร้อยละ 80  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่รับประทานยาหลายขนาน  
เครื่องมือ : แบบประเมินการใช้ยาอย่างครบถ้วนปลอดภัย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : • ใช้แนวคิด “ร่วมคิดวางแผน ร่วมทำ ติดตามประเมินผล ร่วมรับผลประโยชน์” คือ องค์กร ภาคส่วนและชุมชน มีภารกิจเดียวกัน อันประกอบด้วยบุคลากรสาธารณสุข (ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอท่าคันโท พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นายกเทศบาลตำบลท่าคันโท กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นักพัฒนาชุมชน) ชุมชน ( ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อาสาสมัครชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ) โรงเรียน(ครู นักเรียน) เพื่อรับทราบปัญหาสุขภาพในพื้นที่โดยเฉพาะประเด็นปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสมของผู้สูงอายุในชุมชน ให้ใช้ข้อมูลสุขภาพเดียวกันเพื่อจัดบริการสุขภาพร่วมกัน เพื่อรับทราบปัญหา วางแผน ดำเนินงานไปจนถึงกระบวนการประเมินผลรวมกัน กรอบแนวความคิด รูปแบบการจัดการยาในชุมชนโดยชุมชน • การประสานงานระหว่างหน่วยงานทีมสุขภาพกับภาคีสุขภาพ โดยทีมเภสัชกร เป็นแกนนำสำคัญในการสื่อสารประสานงานกับองค์กร เครือข่ายต่างๆในพื้นที่ เกี่ยวกับแนวทางและองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสม เพื่อออกแบบระบบการดำเนินงาน “การจัดการปัญหายาที่ไม่เหมาะสมในชุมชน” • ถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเป้าหมาย ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุ ได้รู้จัก ได้เข้าใจ และนำไปใช้ดูแลตนเองได้ • พัฒนาคน จัดอบรมให้ความรู้เรื่องยาและการจัดยาสำหรับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังรายบุคลคล สำหรับอาสาสมัครชุมชนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ • ออกแบบระบบจัดการยารายบุคคล โดยใช้นวัตกรรม กระเป๋าใส่ยาผ้าขาวม้าของชุมชน และตู้ไปรษณีย์รับคืนยา เป็นเครื่องมือการจัดการยาในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังรักษาด้วยยาหลายขนาน และควบคุมติดตามโดยเจ้าของระบบสุขภาพ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง