ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานที่นอน โรงพยาบาลด้วยภาวะ Hypo-Hyperglycemia
ผู้แต่ง : เพียงขวัญ แตงอ่อน ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานเป็นปัญหาวิกฤตของโลกและประเทศไทย ทั้งปัญหาสุขภาพ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และสังคม จากการสำรวจภาวะสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 ปี 2552 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปป่วยเป็นเบาหวานร้อยละ 6.9 ซึ่งผู้ป่วยเป็นโรคควบคุมได้เพียงร้อยละ 28.5 จากเครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศไทย จากการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยภายในตัวผู้ป่วยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมยังไม่ดี ไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ในการดูแลตนเอง การควบคุมอาหารไม่ถูกต้อง ความเคยชินในการรับประทานอาหาร ขาดการประเมินปัญหา และอุปสรรค และการวางแผนร่วมกัน ในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นทางผู้ดูแลผู้ป่วยตึกหญิง จึงได้พัฒนาแนวทางการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานที่นอนโงพยาบาลด้วยภาวะ Hypo-Hyperglycemiaขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ ความเข้าใจสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยเบาหวานที่ Admittedที่ตึกหญิง ด้วยภาวะ Hypo-Hyperglycemia โรงพยาบาลสมเด็จตั้งแต่เดือน เมษายน – พฤษภาคม 2559 มีจำนวน 10 ราย  
เครื่องมือ : 1. แบบประเมินความรู้ เรื่อง อาหารเบาหวาน 2. แผ่นพับ 3. Model อาหาร 4. สมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการใช้แนวทางปฏิบัติ 2. คัดเลือกแบบเจาะจงในผู้ป่วยเบาหวานที่มา Admitted ด้วยภาวะ Hypo-Hyperglycemia 3. จัดเตรียมอุปกรณ์ให้คำปรึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Model อาหาร แผ่นพับให้ความรู้ 4. ประเมินวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยรายบุคคล 5. ให้ความรู้ เรื่อง พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย 6. ส่งให้คำปรึกษาโดยทีมสหวิชาชีพตามปัญหาของผู้ป่วย 7. ติดตามเยี่ยมบ้านกับทีม HHC  
     
ผลการศึกษา : เริ่มเก็บข้อมูล เดือน เมษายน – พฤษภาคม 2559 มีจำนวน 10 ราย ผลการวิเคราะห์ ความรู้ เรื่อง โรค การบริโภคอาหารที่ถูก ลดหวาน มัน เค็ม การประเมินระดับความรู้ ก่อนและหลังให้ความรู้ พบว่า ผู้ป่วยมีความรู้ก่อนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 40 และเมื่อเข้าร่วมโครงการแล้วมีความรูเพิ่มมากขึ้นเป็น ร้อยละ 80 การให้ความรู้เรื่อง โรค เบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การให้ข้อมูลรายบุคคล ผู้ป่วยและญาติ เกิดความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ การติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อจะได้ทราบสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวผู้ป่วย แต่ละราย และมีการวางแผนการดูแลต่อไปได้  
ข้อเสนอแนะ : 1. การให้ข้อมูลผู้ป่วยแต่ละราย ควรปรับให้เข้ากับการรับรู้ การนำไปปฏิบัติได้ ของแต่ละคน 2. ญาติผู้ดูแลใกล้ชิด ควรรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคอาหารยาที่ผู้ป่วยได้รับ  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ