ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : แบบบันทึกคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนส่งต่อ
ผู้แต่ง : จิราภา นาถ้ำนาค ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : เนื่องด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่ต้องใช้ความรวดเร็วในการวินิจฉัยและรักษา เพื่อให้ทัน Golden period รวมทั้งปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยมีมากขึ้นทั้งที่เข้ามารับบริการในช่วงเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ซึ่งในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีแพทย์ตรวจประจำ 24 ชั่วโมงนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่พยาบาล ควรทราบแนวทางในการซักประวัติ การตรวจร่างกายเบื้องต้น ร่วมทั้งหัตการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เราสามารถทำได้ก่อนระหว่างที่แพทย์ยังมาไม่ถึง ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในกระบวนการวินิจฉัย และส่งต่อให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน จึงคิด แบบบันทึกคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนส่งต่อขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่พยาบาลทุกคน สามารถประเมินและให้การพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วยที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมองระหว่างรอแพทย์มาตรวจได้  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติแก่บุคลากรทางการแพทย์ ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้มีความถูกต้อง เหมาะสม รวดเร็ว ตามมาตรฐานและแนวทางการส่งต่อ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายโรคหลอดเลือดสมอง คือผู้ป่วยที่มีอาการ ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ทุกคนที่เข้ามารับริการในโรงพยาบาลสมเด็จทั้งแผนก ER OPD และ IPD และได้ใช้ แบบบันทึกคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนส่งต่อ  
เครื่องมือ : แบบบันทึกคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนส่งต่อ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุม แพทย์ พยาบาล เพื่อวางแผนคิดรูปแบบ ของแบบคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้ครอบคลุม ทั้งการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การพยาบาลเบื้องต้น หัตถการและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ควรมีในแบบคัดกรอง 2. จัดพิมพ์แบบคัดกรองดังกล่าว พร้อมเสนอให้คณะผู้จัดทำพิจารณาอีกครั้ง ก่อนนำมาใช้งาน 3. ชี้แจงการใช้แบบคัดกรองดังกล่าว ในการประชุมประจำเดือนเจ้าหน้าที่พยาบาล และแพทย์ เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน ในการใช้ แบบบันทึกคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนส่งต่อ ทั้งแผนก OPD ER และ IPD 4. ใช้แบบคัดกรองดังกล่าวประเมินและดูแลผู้ป่วยทุกคนที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมอง 5. เก็บข้อมูล Door to refer จากเวลาในแบบคัดกรอง และข้อมูลการประเมินการดูแลระหว่างส่งต่อที่โรงพยาบาลปลายทางประเมินกลับมา ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงความครอบคลุม หรือข้อบกพร่องของการดูแลผู้ป่วยที่ส่งไป 6. เปรียบเทียบข้อมูล Door to refer ปีงบประมาณ 2559 , 2560 และ 2561 เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลการศึกษา  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง