ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : บุพเพนำพา CPR พารอด
ผู้แต่ง : อรณี สังฆมะณี ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ส่วนใหญ่พบว่า ผู้ใหญ่ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (OHCA=out-of Hospital cardiac arrest) สาเหตุมักเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพที่รวดเร็วโดยเริ่มจากการกดหน้าอกทันที จะเพิ่มโอกาสรอดชีวิต รวมทั้งการช่วยหายใจ การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า(Defibrillation) โดยใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (automated External defibrillation = AED) ทั้งนี้รวมถึงขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะ OHCA จะกลับมามี ROSC ( Return of Spontaneous Circulation)  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ OHCA 2. เพื่อพัฒนาทีมในด้าน ความรู้ ทักษะ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและขั้นสูง 3. เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ ยา และเวชภัณฑ์ 4. เพื่อให้ผู้ประสบเหตุ สามารถประเมินผู้ป่วยที่มีการหยุดหายใจ/หัวใจหยุดเต้นได้  
กลุ่มเป้าหมาย : บุคคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการฟื้นคืนชีพ  
เครื่องมือ : 1. แบบประเมินผลการปฏิบัติการ CPR 2. แบบทดสอบวัดความรู้ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพ สำหรับเจ้าหน้าที่  
ขั้นตอนการดำเนินการ : . จัดอบรมฟื้นฟู ความรู้ ทักษะ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแก่ บุคลากรกู้ชีพ / กู้ภัย / ตำรวจ อสม. ผู้ช่วย เหลือคนไข้ พนักงานเปล เจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงพยาบาล 2. จัดอบรมฟื้นฟู ความรู้ ทักษะ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง การบริหารทีม CPR แก่บุคลากรในโรงพยาบาลสมเด็จ 3. บุคลากรทำแบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลัง อบรมฟื้นฟูวิชาการ 4. กำหนดบทบาทหน้าที่ของทีมในการช่วยฟื้นคืนชีพ 5. จัดทำแนวทางการตรวจเช็ครถ Emergency และเครื่องมือวิกฤตโดยมีแบบฟอร์มที่ชัดเจน 6.กำหนดแนวทางในการช่วยฟื้นคืนชีพ การประสานขอความช่วยเหลือของเครือข่าย 7. บันทึกข้อมูลในเวชระเบียนอย่างถูกต้อง และครบถ้วน 8. สรุปผลการช่วยฟื้นคืนชีพ ตามแบบฟอร์ม  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง