ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนางานและป้องกันสิ่งของตกค้างในร่างกายผู้ป่วยผ่าตัด
ผู้แต่ง : เพ็ญสุดา สุวรรณธาดา ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันมีการรับรองคุณภาพงานของโรงพยาบาล โรงพยาบาลจำเป็นต้องมีการสร้างระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อรักษาและยกระดับคุณภาพการบริการที่จัดให้กับผู้รับบริการ ป้องกันปัญหาและความสูญเสียที่เกิดจากกรณีไม่พึงประสงค์ ความเสี่ยงในห้องผ่าตัดที่พบได้บ่อยและมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ที่สำคัญคือ การมีเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัด ผ้าก็อชซับโลหิต ผ้า swab ซับโลหิต หรือชิ้นส่วนของเครื่องมือที่ชำรุดตกค้างอยู่ภายในร่างกายภายหลังจากการผ่าตัด ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ป่วยรวมทั้งเจ้าหน้าที่เสี่ยงจากการถูกร้องเรียนหรือฟ้องร้องทางคดี การมีสิ่งแปลกปลอมค้างในร่างกายผู้ป่วยเป็นผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ของการผ่าตัด ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพของทีมผ่าตัด ดังนั้นในการป้องกันและแก้ไขเหตุการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี และกระทำอย่างต่อเนื่อง  
วัตถุประสงค์ : เพื่อค้นหาอุบัติการณ์สิ่งของตกค้างของเครื่องมือ/ ผ้าซับโลหิต (swab) ของมีคมและอื่นๆ ในร่างกายหรือแผลผ่าตัด  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยผ่าตัดที่เปิดหน้าท้องในโรงพยาบาลสมเด็จ ระหว่าง ตุลาคม 2556 – เมษายน 2559 ( 4 ปีงบประมาณ)  
เครื่องมือ : 1 แบบบันทึกการตรวจนับอุปกรณ์และเครื่องมือ set ผ่าตัด เช่น set c/s set Appendectomy set Explor-lap set TR 2 แบบบันทึก checklist patient safety  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดทำแนวทางการป้องกันสิ่งแปลกปลอมตกค้าง ทบทวนร่วมกับทีม ชี้แจงในทีมผ่าตัด 2. จัดทำแบบบันทึกการตรวจนับอุปกรณ์และเครื่องมือผ่าตัดต่างๆ 3. จัดทำแบบบันทึก checklist patient safety 4. มีแนวปฏิบัติในการใช้ก็อช / ผ้าวับโลหิต ในห้องผ่าตัด  
     
ผลการศึกษา : - การวิเคราะห์ข้อมูลโดยเก็บจากอุบัติการณ์ที่พบ จากการวิเคราะห์สาเหตุพบอุบัติการณ์ ดังนี้ a. พบอุบัติการณ์จำนวนผ้า gauze ใน package สำเร็จรูป มีจำนวนไม่ครบ (ปกติ 1 pack = 5 ชิ้น) b. จำนวนผ้าซับโลหิต pack ใน set กาละมัง กับ packing ส่งนึ่งจำนวนไม่เท่ากัน c. พบอุบัติการณ์เครื่องมือผ่าตัดไม่ครบขณะเปิดห่อ Set ผ่าตัด d. พบอุบัติการณ์เครื่องมือเหลือแล้ว pack set ผ่าตัด e. พบอุบัติการณ์นับผ้าซับโลหิต (swab) ไม่ครบ หลังเย็บปิดหน้าท้อง f. พบอุบัติการณ์เครื่องมือผ่าตัดไม่ครบ เนื่องจากติดไปกับผ้าเขียวผ่าตัดลงไปแผนกซักฟอก - ไม่พบอุบัติการณ์สิ่งแปลกปลอมในร่างกายผู้ป่วย ย้อนหลัง 3 ปี (2557-2559) - หลังจากที่ได้ดำเนินการตามกิจกรรมที่ได้พัฒนามาแล้ว ทำให้ผู้ให้บริการมีความมั่นใจในการทำงาน ผู้รับบริการได้รับบริการที่ถูกต้อง ปลอดภัย ไม่มีข้อร้องเรียน / ฟ้องร้อง  
ข้อเสนอแนะ : - แบบบันทึกการตรวจนับอุปกรณ์และเครื่องมือผ่าตัด สามารถนำเอาไปใช้ในการตรวจสอบ check เครื่องมือในการ pack set ผ่าตัด ในงานจ่ายกลางได้ โดยที่งานห้องผ่าตัดมีการฝึก Training เรื่องการ pack set ให้หน่อยจ่ายกลางด้วย  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ