ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การป้องกันเด็กตกเตียง
ผู้แต่ง : สายชล ขุนหล้า ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ตึกเด็กโรงพยาบาลสมเด็จ ให้บริการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยเด็กอายุ 0-14ปี 11เดือน เด็กอายุ 3 เดือน – 6 ปี เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดพลัดตก หกล้ม /ตกเตียงสูง ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติการณ์ขึ้น ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงอันตรายรุนแรง ทำให้ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงของโรงพยาบาลและเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง จากสถิติการเก็บข้อมูลของหน่วยงานยังไม่พบอุบัติการณ์เด็กตกเตียง แต่จากการตรวจสอบเตียงและเหล็กกั้นเตียงที่ใช้ในหน่วยงาน พบว่า เหล็กกั้นเตียงมีช่องห่างระหว่างซี่กรงเหล็กประมาณ 14 เซนติเมตร ซึ่งเด็กเล็กสามารถลอดช่องและตกเตียงได้ เจ้าหน้าที่ตึกเด็กโรงพยาบาลสมเด็จ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงร่วมกันคิดพัฒนาแนวทางในการป้องกันปัญหาการตกเตียง เพื่อเพิ่มความตระหนักให้กับญาติ / ผู้ดูแล และได้ดัดแปลงวัสดุเพื่อใช้กับเหล็กกั้นเตียงเพื่อให้มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น โดยคาดหวังว่าจะช่วยลดปัญหาเด็กพลัดตกเตียงลงได้  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการพลัดตกเตียง  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จ  
เครื่องมือ : แบบประเมินความพึงพอใจต่อตาข่ายป้องกันเด็กตกเตียง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.ประชุมชี้แจงแนวทาง 2.เมื่อรับใหม่มีการให้ข้อมูลแก่ผู้ดูแลเด็ก เพื่อความร่วมมือในการป้องกันเด็กตกเตียง ดังนี้ - อนุญาตให้ญาติเฝ้าได้ 1 คน - ไม่ทิ้งเด็กไว้ที่เตียงคนเดียวตามลำพัง - แนะนำให้ยกเหล็กกั้นเตียงขึ้นเสมอเพื่อป้องกันเด็กตกเตียง 3.นำตาข่ายกั้นเตียงไปผูกติดกับเหล็กกั้นเตียง 4.ติดตามประเมินผล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง