ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : คุณภาพบริการหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลสมเด็จ
ผู้แต่ง : วิมลรัตน์ เสนาะเสียง ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : หอผู้ป่วยพิเศษโรงพยาบาลสมเด็จ เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2560 เป็นต้นมา มีจำนวนห้องที่ให้บริการทั้งหมด 24 ห้อง (เปิดให้บริการจริง 12 ห้อง) ให้บริการผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทุกประเภทตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นไป โดยให้บริการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพ เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ผู้รับบริการปลอดภัย และให้การดูแลแบบองค์รวม โดยใช้กระบวนการดูแลแบบ C3THERR ให้ครอบคลุมกระบวนการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนออกจากโรงพยาบาล เป็นการสื่อสารระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยเริ่มจาก 1)การดูแล (Care) โดยใช้กระบวนการพยาบาล (Nursing Process) เริ่มจากการประเมิน (Assessment) การตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Diagnosis) การวางแผนการพยาบาล (Planning) การลงมือปฏิบัติ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation) 2) การสื่อสาร (Communication) 3) ความต่อเนื่องในการดูแล (Continuty) โดยใช้ DMETHOD เริ่มจากการวินิจฉัยโรค (Diagnosis) การได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับยา (Medication) คำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Economic or Environment) คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษา (Treatment) แนะนำการฟื้นฟูสภาพและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน (Health) การมาตรวจตามนัดและสถานบริการที่เหมาะสม (Outpatient) การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม (Diet) 4) การทำงานเป็นทีม (Team) 5) การมีความรู้และทักษะเพียงพอในการดูแล (Human Resource and Development) 6) สิ่งแวดล้อมที่ดีและเครื่องมือที่เพียงพอ (Environment/Equipment) 7) การบันทึกเวชระเบียนและสิทธิผู้ป่วย (Record and Right) เพื่อพัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อป้องกันการเกิดข้อร้องเรียนด้านบริการ 2. เพื่อให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้รับบริการที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยพิเศษ  
เครื่องมือ : - แบบบันทึกเวชระเบียน - แบบบันทึก C3THER - กระบวนการพยาบาล Nursing Process - แบบบันทึกการดูแลต่อเนื่อง DMETHOD  
ขั้นตอนการดำเนินการ : กิจกรรมการพัฒนา การดูแลแบบองค์รวม โดยใช้กระบวนการดูแลแบบ C3THERR ให้ครอบคลุมกระบวนการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนออกจากโรงพยาบาล โดยใช้กระบวนการพยาบาล เน้นการดูแลแบบองค์รวมครอบคลุมถึงผู้ป่วยและผู้ดูแล เน้นการทำงานเป็นทีมให้ทุกคนมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการดังนี้ 1) การดูแล (Care) ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่การประเมิน การวินิจฉัย การบำบัดรักษา บริการพยาบาล และป้องกันความเสี่ยง โดยใช้กระบวนการพยาบาล (Nursing Process) 1.1 การประเมิน (Assessment) 1.2 การตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Diagnosis) 1.3 การวางแผนการพยาบาล (Planning) 1.4 การลงมือปฏิบัติ (Implementation) 1.5 การประเมินผล (Evaluation) 2) การสื่อสาร (Communication) ผู้ป่วยและญาติได้รับข้อมูลที่จำเป็นและเป็นที่เข้าใจ 3) ความต่อเนื่องในการดูแล (Continuty) โดยใช้รูปแบบ DMETHOD ) ผู้ป่วยและญาติได้รับการเตรียมตัวเพื่อการดูแลต่อเนื่องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน 3.1 การวินิจฉัยโรค (Diagnosis) 3.2 การได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับยา (Medication) 3.3 คำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Economic or Environment) 3.4 คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษา (Treatment) 3.5 แนะนำการฟื้นฟูสภาพและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน (Health) 3.6 การมาตรวจตามนัดและสถานบริการที่เหมาะสม (Outpatient) 3.7 การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม (Diet) 4) การทำงานเป็นทีม (Team) มีการนำวิชาชีพอื่นที่เหมาะสมเข้ามาร่วมดูแล 5) การมีความรู้และทักษะเพียงพอในการดูแล (Human Resource and Development) 6) สิ่งแวดล้อมที่ดีและเครื่องมือที่เพียงพอ (Environment/Equipment) ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สะดวก สบาย และมีเครื่องมือที่จำเป็นพรอมใช้งาน 7) การบันทึกเวชระเบียนและสิทธิผู้ป่วย (Record and Right)  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ