ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด
ผู้แต่ง : นางวรนุช บุญสอน ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ภาวะตกเลือดหลังคลอดนับว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่สำคัญ เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตของมารดาหลังคลอด งานห้องคลอดโรงพยาบาลสมเด็จมีการพัฒนาระบบในการดูแลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดทางช่องคลอดมาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงแบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อตกเลือดหลังคลอดในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย มีแนวทางในการเตรียมเลือดก่อนคลอด มีแนวทางการรายงานแพทย์ในระยะที่สองของการคลอดที่เร็วขึ้น มีแนวทางในการประเมินระดับยอดมดลูก เพื่อเฝ้าระวังทารกตัวโตที่ทำให้คลอดยาก ทำให้มีการฉีกขาดช่องทางคลอด ทำให้อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด มีการใช้ AMTSL ในระยะที่ 3 ของการคลอด มีแนวทางให้ออกซิโตซินทางหลอดเลือดดำในมารดาหลังคลอดทุกราย ถึง 12 ชั่วโมงหลังคลอด แต่ยังพบอัตราการตกเลือดหลังคลอด ในปี 2556-2557 ร้อยละ 1.39 และ 3.29 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยพบเป็นประเด็นสำคัญคือ ผู้คลอดตกเลือดหลังคลอดแล้วการเกิดภาวะ Severe PPH และ ภาวะ Shock เนื่องจาก การประเมินการสูญเสียเลือดไม่ถูกต้องไม่มีเครื่องมือในการประเมิน ส่งผลให้การวินิจฉัยภาวะตกเลือดล่าช้า การดูแลล่าช้า ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้น ทีมงานจึงมีการพัฒนากระบวนการดูแล เพื่อให้มีประสิทธิภาพดังนี้  
วัตถุประสงค์ : เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยคลอดในโรงพยาบาลสมเด็จ ระหว่าง ตุลาคม 2555 – พฤษภาคม 2559 (4 ปีงบประมาณ)  
เครื่องมือ : แบบฟอร์ม Intrapartum Risk Scale แบบประเมินสภาพเมื่อแรกรับ (Admission note) แนวทางในการประเมิน Blood loss มีแนวทางในการ Early management  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วางระบบงานโดยหญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด และมีการสื่อสานในหน่วยงาน  
     
ผลการศึกษา : การพัฒนาแนวทางการดูแลโดยการปรับปรุงแนวทางการประเมินภาวะเสี่ยง กำหนดแนวทางการประเมินการสูญเสียเลือด การดูแลและการกำหนด Early warning sign แนวทางการ Early management การดูแลในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอด และมีการใช้ Care map ในการดูแล การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  หญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด และมีการสื่อสานในหน่วยงาน โดยใช้สัญลักษณ์”Risk to PPH”  ปรับปรุงแบบฟอร์ม Intrapartum Risk Scale แบบประเมินสภาพเมื่อแรกรับ (Admission note) เมื่อพบภาวะเสี่ยงให้รายงานแพทย์ทันที  การกำหนด Early Warning Sign  มีแนวทางในการประเมิน Blood loss  มีแนวทางในการ Early management  การพัฒนาคู่มือประเมินสมรรถนะของบุคลากรในการดูแลหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง การทำคลอด และการประเมินการฉีกขาดช่องทางคลอด  การปรับปรุง CPG ในการดูแล /มีการใช้ PPH Order set เมื่อมีภาวะเสี่ยงต่อตกเลือดหลังคลอด  กำหนดทีมในการดูแลเมื่อมีภาวะตกเลือดหลังคลอด  
ข้อเสนอแนะ :  การวางระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์  การติดตามให้หน่วยงานปฏิบัติตามแนวทาง  การทบทวนทุกครั้งเมื่อเกิดอุบัติการณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขและโอกาสพัฒนา และการมองอย่างเป็นระบบและการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ จะทำให้แก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุม  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ