ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : สีรุ้งพาเพลิน
ผู้แต่ง : นิภาธร ถวิลการ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : จากการปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยพิเศษชั้น 4 พบว่าผู้ป่วยไม่ได้รับการเปลี่ยนชุดให้สารน้ำตามวันที่กำหนด จนบางรายเกิดอาการปวด บวม แดง บริเวณที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือบริเวณ On HL ฉีดยา Phlebitisเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการให้ยาทางหลอดเลือดดำหรือระหว่างการฉีดยานั้นๆซึ่งเป็นภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ มักจะมีอาการคือ ปวด บวม แดง หลอดเลือดดำเป็นลำแข็งโดยถ้าหลอดเลือดดำเกิดการอักเสบมากๆอาจเกิด injury และเกิด extravasations ตามมาได้ ดังนั้นเพื่อให้มีการเฝ้าระวังที่ดี ครอบคลุมและผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การป้องกันคือสร้างความตระหนักให้แก่เจ้าหน้าที่ในการเปลี่ยนตำแหน่งเข็มให้สารน้ำหรือเข็มสำหรับฉีดยา และเจ้าหน้าที่สามารถนับวันและติดสี เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งได้ถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อลดอัตราการเกิด Phlebitis 2. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการเปลี่ยนชุดให้สารน้ำตรงตามกำหนด  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้รับบริการที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยพิเศษ  
เครื่องมือ : แบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลสมเด็จ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : กิจกรรมการพัฒนา (รูปแบบ) เมื่อมีผู้ป่วยที่มารับบริการที่ตึกพิเศษชั้น 4 มีแผนการรักษาที่ต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือ On HL พยาบาลเตรียมสารน้ำหรือเตรียม On HL ตามแผนการรักษาของแพทย์และติดแถบสีที่ชุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และติดป้ายวัน/เดือน/ปี ที่จะเปลี่ยนชุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและ HL โดยกำหนดการเปลี่ยน HL และชุดให้สารน้ำ T-way,Extension tube ทุกๆ 4 วัน วันอาทิตย์ สีส้ม วันจันทร์ สีฟ้า วันอังคาร สีม่วง วันพุธ สีแดง วันพฤหัสบดี สีเหลือง วันศุกร์ สีชมพู วันเสาร์ สีเขียว  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ