|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อคุณภาพชีวิต คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะฟื้น (Subacute) |
ผู้แต่ง : |
มณธิดา ธนูชาญ, สมคิด เพื่อนรัมย์, อัฏฐพร สุทธิกรณ์, สุดารัตน์ บุตตะนันต์ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากการสำรวจข้อมูลเพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูในอำเภอท่าคันโท ปี 2557 ปี 2 ทั้ง 6 ตำบล และติดตามเยี่ยมบ้านพบว่า มีผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จำนวน 845 คน ยังได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ไม่ต่อเนื่อง ญาติไม่มีเวลาดูแล ได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ ข้อติด รวมถึงชุมชนยังมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวน้อย ขาดทักษะในการดูแลและฟื้นฟูการดูแลยังไม่ครอบคลุมในทุกมิติ ปรากฏเป็นคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนขึ้น เพื่อให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้พิการ คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะฟื้นฟู ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ต่อเนื่องโดยมีเครือข่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพคือ อาสาสมัครศูนย์โฮมสุข (ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน) ศูนย์โฮมสุขเป็นศูนย์กลางให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพและประสานงานช่วยเหลือด้านการแพทย์และด้านอื่นๆ ยังผลให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ ให้คนในชุมชนมีโอกาสดูแลกัน สามารถมีชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างมีความสุข |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อคุณภาพชีวิต คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะฟื้น (Subacute)ในชุมชน |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะฟื้น (Subacute)ในชุมชนเขตอำเภอท่าคันโท |
|
เครื่องมือ : |
1.รูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อคุณภาพชีวิต คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะฟื้น ในชุมชน
2.แบบประเมิน ICF (The International Classification of Functioning, Disability and Health
3.แบบประเมินคุณภาพชีวิต |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษานี้เป็นวิจัยพัฒนา ทำในกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง ผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จำนวน 845 คน ตั้งแต่ปี 2557-2560 เครื่องมือการวิจัย คือ รูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะฟื้น (Subacute) ประกอบด้วย
1) กระบวนการทำฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ได้แก่ จำนวนผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นสมรรถภาพ
2) ประชุมหารือร่วมกับชุนชนและตัวแทนจากองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ค้นหาอาสาสมัครในชุมชน อาจเป็น อสม. หรือญาติ จิตอาสาที่สนใจจะทำงานเพื่อมาปฏิบัติงานภายในศูนย์โฮมสุข
3) จัดตั้งศูนย์โฮมสุขโดย มีพื้นที่ตั้งศูนย์ ที่เหมาะสม โดยชุมชนและเจ้าหน้าที่ร่วมกันคัดเลือก
4) พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครที่ปฏิบัติงาน จำนวนศูนย์ละ 10 คน
5) ดำเนินการศูนย์โฮมสุข ประกอบไปด้วยกิจกรรม การให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพเบื้องต้นทั้งภายในศูนย์และเยี่ยมบ้าน ประสานการส่งต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งจากศูนย์มาที่โรงพยาบาลและจากโรงพยาบาลส่งต่อไปยังศูนย์ ประสานความร่วมมือระหว่างภาคท้องถิ่นและโรงพยาบาลในการให้การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย
ประเมินผลการฟื้นฟูโดยมีนักกายภาพบำบัดเป็นผู้ประเมินทุกเดือน โดยใช้แบบฟอร์ม ICF (The International Classification of Functioning, Disability and Health การเก็บวิเคราะห์ข้อมูล ใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิต และแบบประเมิน ICF ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1.คุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมายหลังได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 50.20 .ในปี 2557 เป็น 80.50, 90.79 และ 92.20 ในปี 2558, 2559 และ 2560 ตามลำดับ
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
การฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นสิ่งที่สำคัญต่อผู้ป่วยหากได้รับบริการที่ต่อเนื่องและทันท่วงทีจะทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน แผลกดทับ แขนขาอ่อนแรง ข้อติด เป็นต้นและมีการฟื้นตัวที่เร็วขึ้น ดังนั้น เพื่อให้เกิดบริการ การฟื้นฟูที่ยั่งยืนและต่อเนื่อง จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมนั่นก็คืออาสาสมัครศูนย์โฮมสุข ซึ่งผลจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ชุมชนร่วมเข้าเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินงาน องค์กรปกครองท้องถิ่นจึงเล็งเห็นความสำคัญของงานฟื้นฟู เกิดการสนับสนุนงบประมาณและการช่วยเหลือเหลือในด้านอื่นอย่างต่อเนื่อง
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|