|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : เด็กปฐมวัย เก่ง ดี มีสุข ด้วยศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
ผู้แต่ง : |
สายรุ้ง วงศ์ศิริ,รุ่งรัชฏา อันสงคราม |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
เด็กปฐมวัย คือ เด็กที่มีอายุ 2 ถึง 5 ปีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการเรียนรู้ ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดา มารดา คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของ บุคลิกภาพ อุปนิสัย และการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา ความสามารถ การอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีที่จะให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดี เฉลียวฉลาด คิดเป็น ทำเป็น และมีความสุข จากข้อมูล ของกระทรวงมหาดไทย เดือนธันวาคม 2554 พบว่า มีประชากรในช่วงอายุ0 - 5 ปีจำนวน 4,624,060 คน โดยใน ช่วงอายุ 0-2 ปีจะอยู่ในความดูแลของครอบครัวเป็นส่วนใหญ่และเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ3-5 ปีจะส่งเข้าสถานรับเลี้ยง เด็กปฐมวัยต่างๆเช่น โรงเรียนอนุบาล หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และจากปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ ที่ทำให้มารดา หรือผู้ปกครองต้องทำงานนอกบ้าน เด็กกลุ่มนี้จึงถูกส่งให้ไปอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน ทำให้ไม่ได้ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ใกล้ชิด และขาดองค์ความรู้ในการเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ โดยพบว่าเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 98.79 เกินเป้าหมายร้อยละ 85 จากการคัดกรองพัฒนาการตามกลุ่มอายุ (ผลการคัดกรองตั้งแต่วันที่ 4-8 กรกฎาคม 2559) พบเด็กอายุ 9 ,18 ,30 ,42 เดือนมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 23.30 เป้าหมายร้อยละ 20 เด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามกระตุ้นร้อยละ 55.99 และหลังได้รับการ กระตุ้นเด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 94.36 พบเด็กพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 5.64 แบ่งเป็นพัฒนาการ ล่าช้าด้านการใช้ภาษา (EL) ร้อยละ 52.25 ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (FM) ร้อยละ 47.1 ด้านการ เข้าใจภาษา (RL) ร้อยละ 47.02 ด้านการเคลื่อนไหว (GM) ร้อยละ 34.62 และด้านการช่วยเหลือตนเอง (PS) ร้อยละ 31.88 (รายงานการตรวจราชการ จังหวัดกาฬสินธุ์ รอบที่ 2 ปี 2559) และใน ปี 2560-2561 พบว่าเด็กปฐมวัยได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 89.66 และ15.56, สงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 21.42 และ27.06, มีพัฒนาการสมวัย 95.60 และ 91.01 ซึ่งจะเห็นว่าร้อยละของความครอบคลุมการคัดกรองยังต่ำกว่าเป้าหมาย (รายงานการตรวจราชการ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี2559-2561)
ด้วยเหตุผลดังกล่าว การดำเนินงานสร้างศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยอาศัยภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวร่วมดำเนินการ มุ่งหวังให้มารดา ผู้ปกครอง และคนในชุมชนได้ระดมความคิดเห็น, ทรัพยากร และสามารถจัดกิจกรรมเพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการตามบริบทได้อย่างเข็มแข็ง ยั่งยืนต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2. เพื่อศึกษาระดับความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3-5 ปีปีของมารดาและผู้ปกครอง
3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3-5 ปีของมารดาและผู้ปกครอง
4. เพื่อศึกษาผลการคัดกรองพัฒนาการ และความฉลาดทางอารมณ์ EQ ด้าน ดี เก่ง สุข เด็กอายุ 3-5 ปีโดยครูผู้ดูแลเด็ก
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
มารดา/ผู้ปกครอง จำนวน 40 คน คณะกรรมการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 17 คน ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน |
|
เครื่องมือ : |
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยศึกษาในมารดา/ผู้ปกครอง จำนวน 40 คน คณะกรรมการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 17 คน ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของมารดาหรือผู้ปกครอง ครูและคณะกรรมการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่วนที่ 2 แบบประเมินความรู้มารดา หรือผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กก่อนและหลังการอบรม เป็นแบบกาถูก/ผิด จำนวน 30 ข้อ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ ตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดให้ 0 คะแนน จัดระดับความรู้เป็น 5 ระดับคือ น้อยที่สุด คะแนน 0-6 ระดับน้อย คะแนน 7-12 คะแนน ระดับปานกลาง คะแนน 13-18 คะแนน ระดับมาก คะแนน 19-24 ระดับมากที่สุด คะแนน 25- 30 ส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการของมารดาหรือผู้ปกครอง มี 5 ระดับ ได้แก่ ไม่ทำ, 1-3วัน/สัปดาห์, 2-3วัน/สัปดาห์, 4-6 วัน/สัปดาห์ และทุกวัน ส่วนที่ 4 แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย ใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนโดย ยาดาฟ (Yadav, 1980, p. 87 ) ได้แก่ 1) การเข้าร่วมในการตัดสินใจตกลงใจ 2) การเข้าร่วมในการดำเนินการของแผนและโครงการพัฒนา 3) การเข้าร่วมในการติดตามประเมินผลโครงการและแผนงานของการพัฒนา 4) การเข้าร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนา ส่วนที่ 5 แบบการฝึกคัดกรองพัฒนาการและความฉลาดทางอารมโดยครูผู้ดูแลเด็ก |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. สร้างกระแสทางสังคมและแสวงหาการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
1.1 ค้นหาความตองการในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก0-5 ปีของชุมชน
1.2 คืนข้อมูลและสภาพปัญหาแก่ภาคีเครือข่ายและร่วมวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหา
1.3 กำหนดประเด็นปัญหาและประกาศเป็นวาระตำบล
1.4 แต่งตั้งคณะทำงานและกำหนดบทบาทหน้าที่
1.5 ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและบันทึกลงนามร่วมกัน
2. สร้างศูนย์เรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการและลานเล่นตามรอยพระยุคลบาทโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน
2.1 สร้างลานเล่นจัดหาอุปกรณ์, ของเล่นจากภูมิปัญญา,หนังสือนิทาน
2.2 นัดรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกระตุ้นพัฒนาการร่วมกันแก่มารดาและผู้ปกครอง เดือนละ 1 ครั้ง โดยส่งเสริมการกอด กิน เล่น เล่า (ตามตารางการจัดกิจกรรม)
2.3 ปราชญ์สอนการทำของเล่นกระตุ้นพัฒนาการแก่มาดาและผู้ปกครอง
2.4 เรียนรู้ธรรมะกับการเลี้ยงลูกโดยพระครูเจ้าอาวาส 1 ครั้ง
3. การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้คู่มือ DSPM แก่มารดาและครูผู้ดูแลเด็ก
3.1 จัดฐานเรียนรู้การประเมินและการกระตุ้นพัฒนาการตามคู่มือ DSPM ของผู้ปกครอง
3.2 ประเมินผลก่อนและหลังการอบรม
3.3 แบ่งกลุ่มฝึกทักษะการคัดกรองพัฒนาการ และความฉลาดทางอารมณ์ โดยมีเจ้าหน้าเป็นวิทยากรประจำกลุ่ม
5. สรุปผลและถอดบทเรียน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของกลุ่มที่ศึกษา จำแนกตามข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 22 36.6
หญิง 38 63.3
อายุ (ปี)
23 - 33 9 15
34 - 43 25 41.6
44 - 54 18 30
55 - 65 8 13.3
อายุสูงสุด 65 ปี ต่ำสุด 23 ปี อายุเฉลี่ย 44 ปี
ระดับการศึกษา
ไม่ได้เรียน 0 0.0
ชั้นประถมศึกษา 12 20
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ปวช. 15 25
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวส. 19 31.6
อนุปริญญา/ปวส. 8 13.3
ปริญญาตรี 6 10
ปริญญาโท 0 0.0
1. เพศของมารดาหรือผู้ปกครอง ครู และคณะกรรมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.3 อายุมากสุด 34 – 43ปี ร้อยละ 41.60 รองลงมา 44 – 54 ปี ร้อยละ30.0หญิง และน้อยสุด 55 – 65 ปี ร้อยละ 13.3 ระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวส. ร้อยละ 31.6 รองลงมาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ปวช.ร้อยละ 25.0 และน้อยสุดปริญญาตรี ร้อยละ10.0
ตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของมารดาหรือผู้ปกครองและภาคีเครือข่าย
ตารางที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของมารดา หรือผู้ปกครองและภาคีเครือข่าย
เนื้อหา ระดับการมีส่วนร่วมของมารดาหรือผู้ปกครองและภาคีเครือข่าย n=60
น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด
ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน)
การมีส่วนร่วมในการร่วมคิดและตัดสินใจ
ท่านมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจในการดำเนินโครงการ เช่น การรับทราบข้อมูลปัญหาด้านพัฒนาการของบุตรหลาน หรือการกำหนดนโยบายการทำงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น การกำหนดประเด็นปัญหา, การร่วมทำพันธะสัญญา
5.00
(3)
8.33
(5)
11.67
(7)
35.00
(21)
40.00
(24)
การเข้าร่วมในการดำเนินการของแผนและโครงการพัฒนาดำเนินงาน
ท่านมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ เช่น การกำหนดกิจกรรม, การกำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรม,การกำหนดวิธีการประเมินผล,การเข้ารับอบรมความรู้โดยจนท., การจัดกลุ่มเรียนรู้กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำเดือน, การสร้างลานเล่น, การเป็นวิทยากร,การบริจาคหรือสนับสนุนงบประมาณ การบริจาคเงิน แรงกาย อาหาร หรือของเล่น 3.33
(2)
8.33
(5) 8.33
(5) 33.33
(20) 46.67
(28)
การเข้าร่วมในการติดตามประเมินผลโครงการและแผนงานของการพัฒนา
ท่านมีส่วนร่วมในการประเมินผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมมีส่วนร่วมรับผิดชอบและตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เช่น การร่วมประเมินผลลัพธ์ของโครงการ, การให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ 6.67
(4) 8.33
(5) 13.3
(8) 28.33
(17) 43.33
(26)
การเข้าร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนา
ท่านมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ที่เกิดจากโครงการ เช่น บุตรหลานได้รับการคัดกรองพัฒนาการ, การมีความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการบุตรหลาน, การใช้ลานเล่น
3.33
(2) 5.00
(3) 10.00
(3) 25.00
(15) 61.67
(37)
2. การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของมารดา หรือผู้ปกครองและภาคีเครือข่าย พบว่าการมีส่วนร่วมในการร่วมคิดและตัดสินใจระดับมากและมากที่สุด ร้อยละ 75.00 การเข้าร่วมในการดำเนินการของแผนและโครงการพัฒนาดำเนินงานระดับมากและมากที่สุด ร้อยละ 80.00 การเข้าร่วมในการติดตามประเมินผลโครงการและแผนงานของการพัฒนา ระดับมากและมากที่สุด ร้อยละ 71.67 และการเข้าร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนา ระดับมากและมากที่สุด ร้อยละ 86.67
ตอนที่ 3 ความรู้ความเข้าเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ3-5 ปี
ตารางที่ 3 ความรู้ความเข้าเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ3-5 ปีของมารดาหรือผู้ปกครอง
ระดับการความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรม
น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด
ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน)
22.50 17.50 35.00 15.00 10.00
(9) (7) (14) (6) (4)
3. ความรู้ความเข้าเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ3-5 ปี ของมารดาหรือผู้ปกครอง ก่อนการอบรมพบว่ามากสุดอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 35.0 รองลงมาระดับน้อย ร้อยละ 17.50 และน้อยสุดระดับมากที่สุด ร้อยละ10.00
ตารางที่ 4 ความรู้ความเข้าเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ3-5 ปีของมารดาหรือผู้ปกครอง
ระดับการความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม
น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด
ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน)
5.00 7.50 12.50 30.00 45.00
(2) (3) (5) (12) (18)
4. ความรู้ความเข้าเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ3-5 ปี ของมารดาหรือผู้ปกครอง หลังการอบรมพบว่ามากสุดอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 45.00 รองลงมาระดับมาก ร้อยละ 30.00 และน้อยสุดระดับน้อยและน้อยที่สุด ร้อยละ7.50 และ5.00 ตามลำดับ
ตอนที่ 4 พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ3-5 ปีของมารดาและผู้ปกครอง (เก็บข้อมูลหลังอบรมการใช้เครื่องมือ 1 เดือนต่อเนื่อง จำนวน 4 เดือน)
ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละ จำแนกตามกลุ่มอายุเด็กอายุ 3-5 ปี
กลุ่มอายุ
2 ปี7 เดือน
- 3 ปี 3 ปี1 เดือน
- 3 ปี5 เดือน 3 ปี6 เดือน 3 ปี7 เดือน
- 4 ปี 4 ปี1 เดือน 4 ปี7 เดือน-
- 4 ปี6 เดือน 5 ปี
ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ
(จำนวน) ร้อยละ ร้อยละ
(จำนวน) (จำนวน)
15.00 27.50 25.00 20.00 7.50 5.00
(6) (11) (10 ) (8) (3) (2)
5. เด็กอายุ3-5 ปี จำแนกตามกลุ่มอายุพบว่ามากสุดกลุ่มอายุ 3ปี 1เดือน-3 ปี5 เดือน ร้อยละ 27.50 รองลงมา 3 ปี 6 เดือน ร้อยละ 25.0 และน้อยสุดกลุ่มอายุ 4ปี7เดือน-5ปี ร้อยละ5.0
ตารางที่ 6 พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ3-5 ปีของมารดาและผู้ปกครอง
กลุ่มอายุ เดือนที่ 1 เดือนที่ 2
ความถี่ของพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ผลการประเมิน ความถี่ของพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ผลการประเมิน
ทุกวัน
ร้อยละ
(จำนวน) 4-6วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) 2-3วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) 1-3วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) ไม่ได้ทำ
ร้อยละ
(จำนวน) ผ่าน
ร้อยละ
(จำนวน) ไม่ผ่าน
ร้อยละ
(จำนวน) ทุกวัน
ร้อยละ
(จำนวน) 4-6วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) 2-3วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) 1-3วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) ไม่ได้ทำ
ร้อยละ
(จำนวน) ผ่าน
ร้อยละ
(จำนวน) ไม่ผ่าน
ร้อยละ
(จำนวน)
2 ปี7 เดือน - 3 ปี
(n=6) 16.67
(1) 16.67
(1) 33.33
(2) 33.33
(2) 0
(0) 100.00
(6) 16.67
(1) 33.33
(2) 50.00
(3) 16.67
(1) 0
(0) 0
(0) 83.33
(5) 16.67
(1)
3 ปี1 เดือน - 3 ปี 5 เดือน
(n=11) 36.36
(4) 27.27
(3) 9.09
(1) 18.18
(2) 0
(0) 81.81
(9) 27.27
(3) 45.45
(5) 36.36
(4) 18.18
(2) 0
(0) 0
(0) 81.81
(9) 18.18
(2)
3 ปี6 เดือน
(n=10) 20.00
(2) 10.00
(1) 30.00
3 20.00
(2) 10.00
(1) 70.00
(7) 30.00
(3) 30.00
3 20.00
2 20.00
2 0
(0) 0
(0) 70.00
(7) 30.00
(3)
3 ปี7 เดือน - 4 ปี
(n=8) 12.50
(1) 25.00
(2) 25.00
(2) 37.50
3 0
(0) 87.50
(7) 12.50
(1) 37.50
3 25.0
2 25.0
2 12.5
1 0
(0) 87.5
(7) 12.5
(1)
4ปี1เดือน-4ปี6เดือน(n=3) 33.33
(1) 66.67
(2) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 100.0
(3) 0
(0) 100.00
3 0
(0) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 100.00
(3) 0
(0)
4ปี7เดือน-5ปี
n=(2) 100.00
(2) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 100.00
(2) 0
(0) 100.00
(2) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 100.00
(2) 0
(0)
ตารางที่ 7 พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ3-5 ปีของมารดาและผู้ปกครอง
กลุ่มอายุ เดือนที่ 3 เดือนที่ 4
ความถี่ของพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ผลการประเมิน ความถี่ของพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ผลการประเมิน
ทุกวัน
ร้อยละ
(จำนวน) 4-6วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) 2-3วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) 1-3วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) ไม่ได้ทำ
ร้อยละ
(จำนวน) ผ่าน
ร้อยละ
(จำนวน) ไม่ผ่าน
ร้อยละ
(จำนวน) ทุกวัน
ร้อยละ
(จำนวน) 4-6วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) 2-3วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) 1-3วัน/สัปดาห์
ร้อยละ
(จำนวน) ไม่ได้ทำ
ร้อยละ
(จำนวน) ผ่าน
ร้อยละ
(จำนวน) ไม่ผ่าน
ร้อยละ
(จำนวน)
2 ปี7 เดือน - 3 ปี
(n=6) 33.33
(2) 50.00
(3) 16.67
(1) 0
(0) 0
(0) 83.33
5 16.67
(1) 83.33
5 16.67
(1) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 83.33
5 16.67
(1)
3 ปี1 เดือน - 3 ปี 5 เดือน
(n=11) 63.63
(7) 27.27
(3) 9.09
(1) 9.09
(1) 0
(0) 81.81
(9) 18.18
(2) 72.72
(8) 36.36
(4) 27.27
(3) 18.18
(2) 0
(0) 81.81
(9) 18.18
(2)
3 ปี6 เดือน
(n=10) 70.00
(7) 20.000
(2) 0
(0) 0
(0) 10.00
(1) 80.00
8 20.00
(2) 70.00
(7) 30.00
(3) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 80.00
8 20.00
(2)
3 ปี7 เดือน - 4 ปี
(n=8) 62.50
(5) 25.00
(2) 12.50
(1) 0
(0) 0
(0) 100.0
(8) 0
(0) 87.50
(7) 37.50
3 12.50
(1) 0
(0) 0
(0) 100.0
(8) 0
(0)
4ปี1เดือน-4ปี6เดือน(n=3) 66.67
(2) 33.33
(1) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 66.67
(2) 33.33
(1) 66.67
(2) 33.33
(1) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 66.67
(2) 33.33
(1)
4ปี7เดือน-5ปี
n=(2) 50.00
(1) 50.00
(1) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 100.0
(2) 0
(0) 100.0
(2) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 0
(0) 100.0
(2) 0
(0)
ตารางที่ 8 สรุปความถี่ในการส่งเสริมพฤติกรรมในเด็กแต่ละกลุ่มอายุ
กลุ่มอายุ เดือนที่ 1 เดือนที่ 2
ความถี่ในการส่งเสริมพัฒนาการ ความถี่ในการส่งเสริมพัฒนาการ
ไม่ได้ทำ 1-3วัน/สัปดาห์
2-3วัน/สัปดาห์ 4-6วัน/สัปดาห์ ทุกวัน ไม่ได้ทำ 1-3วัน/สัปดาห์
2-3วัน/สัปดาห์ 4-6วัน/สัปดาห์ ทุกวัน
2 ปี7 เดือน - 3 ปี √ √ √
3 ปี1 เดือน - 3 ปี5 เดือน √ √
3 ปี6 เดือน √ √
3 ปี7 เดือน-4ปี √ √
4 ปี1 เดือน-4ปี6เดือน √ √
4 ปี7 เดือน-5ปี √ √
ตารางที่ 9 สรุปความถี่ในการส่งเสริมพฤติกรรมในเด็กแต่ละกลุ่มอายุ
กลุ่มอายุ เดือนที่ 3 เดือนที่ 4
ความถี่ในการส่งเสริมพัฒนาการ ความถี่ในการส่งเสริมพัฒนาการ
ไม่ได้ทำ 1-3วัน/สัปดาห์
2-3วัน/สัปดาห์ 4-6วัน/สัปดาห์ ทุกวัน ไม่ได้ทำ 1-3วัน/สัปดาห์
2-3วัน/สัปดาห์ 4-6วัน/สัปดาห์ ทุกวัน
2 ปี7 เดือน - 3 ปี √ √
3 ปี1 เดือน - 3 ปี5 เดือน √ √
3 ปี6 เดือน √ √
3 ปี7 เดือน-4ปี √ √
4 ปี1 เดือน-4ปี6เดือน √ √
4 ปี7 เดือน-5ปี √ √
5. ความถี่ในการส่งเสริมพฤติกรรมในเด็กแต่ละกลุ่มอายุ พบว่า เดือนที่ กลุ่มอายุ4 ปี7 เดือน-5ปี ที่ผู้ปกครองมีการส่งเสริมพัฒนาการทุกวัน เดือนที่ 2
มีการส่งเสริมพัฒนาการทุกวัน ยกเว้น กลุ่มอายุ 2 ปี7 เดือน - 3 ปี เดือนที่ 3 มีการส่งเสริมพัฒนาการทุกวัน ยกเว้น กลุ่มอายุ 2 ปี7 เดือน - 3 ปี และ
เดือนที่ 4 ทุกลุ่มอายุมีการส่งเสริมพัฒนาการทุกวัน
ตารางที่ 10 ผลการคัดกรองพัฒนาการเด็กอายุ 3-5 ปี โดยมารดาหรือผู้ปกครอง
เด็กอายุ 3-5 ปีพัฒนาการสมวัย
กลุ่มอายุ เดือนที่ 1
ร้อยละ
เดือนที่2
ร้อยละ
เดือนที่ 3
ร้อยละ
เดือนที่ 4
ร้อยละ
2 ปี7 เดือน - 3 ปี 100.00 83.33 83.33 83.33
3 ปี1 เดือน - 3 ปี5 เดือน 81.81 81.81 81.81 81.81
3 ปี6 เดือน 70.00 70.00 80.00 80.00
3 ปี7 เดือน-4ปี 87.50 87.50 100.00 100.00
4 ปี1 เดือน-4ปี6เดือน 100.00 100.0 66.67 66.67
4 ปี7 เดือน-5ปี 100.00 100.00 100.00 100.00
7. ผลการคัดกรองพัฒนาการเด็กอายุ 3-5 ปี โดยมารดา หรือผู้ปกครองพบร้อยละของพัฒนาการสมวัย กลุ่มอายุ2 ปี7 เดือน - 3 ปี ร้อยละของพัฒนาการสมวัยลดลง กลุ่มอายุ 3 ปี1 เดือน - 3 ปี5 เดือน ร้อยละของพัฒนาการสมวัยคงที่ กลุ่มอายุ 3 ปี6 เดือน ร้อยละของพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น กลุ่มอายุ 4 ปี1 เดือน-4ปี6เดือน ร้อยละของพัฒนาการสมวัยลดลง และกลุ่มอายุ 4 ปี7 เดือน-5ปี ร้อยละของพัฒนาการสมวัยคงที่
ตอนที่ 5 ผลการฝึกทักษะการคัดกรองพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์โดยครูผู้ดูแลเด็ก
ตารางที่ 11 ผลการฝึกทักษะการคัดกรองพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์โดยครูผู้ดูแลเด็ก
พัฒนาการสมวัยรายด้าน ผลการประเมิน นัดประเมินซ้ำ 1 เดือน ผลการประเมินทักษะครูผู้ดูแล
GM
ร้อยละ
จำนวน FM
ร้อยละ
จำนวน RL
ร้อยละ
จำนวน EL
ร้อยละ
จำนวน PS
ร้อยละ
จำนวน สมวัย
ร้อยละ
จำนวน สงสัยล่าช้า
ร้อยละ
จำนวน ร้อยละ
จำนวน ถูกต้อง
ร้อยละ
จำนวน ไม่ถูกต้อง
ร้อยละ
จำนวน
92.50
(37)
85.00
(34)
85.00
(34) 95.00
(38) 97.50
(39) 77.50
(31)
22.50
(9)
22.50
(9) 77.50
(31)
22.50
(9)
8. ผลการฝึกทักษะการคัดกรองพัฒนาการโดยใช้เครื่องมือ DSPM โดยครูผู้ดูแลเด็กพบว่า ครูผู้ดูแลเด็กสามารถคัดกรองได้ถูกต้อง ร้อยละ 77.5 และพบว่าพัฒนาการเด็ก3-5 ปี ปกติมากสุดด้านพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม ร้อยละ97.50 รองลงมาพัฒนาการด้านการใช้ภาษา ร้อยละ 95.50, พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ร้อยละ 92.50,พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาและพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา ร้อยละ85.00 เท่ากัน
ตารางที่ 12 ผลการฝึกทักษะการคัดกรองความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) โดยครูผู้ดูแลเด็ก
องค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ สรุปผลการคัดกรองทุกด้าน ส่งต่อ
รพ.สต.(คน) ถูกต้อง
ร้อยละ
(จำนวน) ไม่ถูกต้อง
ร้อยละ
(จำนวน)
ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข ต่ำกว่าเกณฑ์
ร้อยละ
จำนวน ปกติ
ร้อยละ
จำนวน
สูงกว่าเกณฑ์
ร้อยละ
จำนวน 9 100.00
(40) 0
(0)
ต่ำกว่าเกณฑ์
ร้อยละ
จำนวน ปกติ
ร้อยละ
จำนวน สูงกว่าเกณฑ์
ร้อยละ
จำนวน ต่ำกว่าเกณฑ์
ร้อยละ
จำนวน ปกติ
ร้อยละ
จำนวน สูงกว่าเกณฑ์
ร้อยละ
จำนวน ต่ำกว่าเกณฑ์
ร้อยละ
จำนวน ปกติ
ร้อยละ
จำนวน สูงกว่าเกณฑ์
ร้อยละ
จำนวน 22.50
(9)
77.50
(31)
0
(0)
7.50
(3) 92.50
(37) 0
(0) 10.00
(4) 90.00
(36) 0
(0) 5.00
(2) 95.00
(38) 0
(0)
9. ผลการคัดกรองความฉลาดทางอารมณ์(EQ) พบว่าด้านดีปกติมากสุด ร้อยละ 92.50 รองลงมา ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ7.50 ไม่พบระดับสูงกว่าเกณฑ์
ด้านเก่งพบว่ามากสุด ระดับปกติ ร้อยละ 90.00 รองลงมาต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 10.00 ไม่พบระดับสูงกว่าเกณฑ์ และด้านสุขพบว่ามากสุดระดับปกติ ร้อยละ 95.00 รองลงมา ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ5.00 ไม่พบระดับสูงกว่าเกณฑ์
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. ควรมีการติดตามการดำเนินงานและต่อยอดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. การจัดกลุ่มในการฝึกทักษะการส่งเสริมพัฒนาการแก่มารดา และผู้ปกครอง ไม่ควรเป็นกลุ่มใหญ่ จะทำให้การเรียนรู้ได้ดีขึ้น
3. ควรมีการเสริมพลังแก่กลุ่มเป้าหมาย และชุมชนอย่างต่อเนื่อง
4. เพิ่มช่องทางการเข้าถึงความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
5. เพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างกลุ่ม และระหว่างเจ้าหน้าที่
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|