ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลของโปรแกรม อสม.เดลิเวอรี่ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านหนองบัวโดน หมู่ที่ 1 ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สุจิตรา วงศ์มีแก้ว ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในหมู่คนไทย จากผลการสำรวจปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ และความครอบคลุมเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐานระดับครัวเรือน ถึงแม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าไว้วางใจ จึงยังต้องเพิ่มยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานและต้องมีการทำอย่างต่อเนื่องให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับสารไอโอดีนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านโภชนาการที่สำคัญ เป็นสาเหตุหลักของภาวะปัญญาอ่อนที่สามารถป้องกันได้ พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะมีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนอายุ 2 – 3 ปี โดยมีผลลดความเฉลียวฉลาดหรือไอคิวของเด็กได้ถึง 10 – 15 จุด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยปกติร่างกายต้องการสารไอโอดีนทุกวัน วันละ 100 – 150 ไมโครกรัม ส่วนหญิงมีครรภ์หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแท้ง หรือพิการตั้งแต่กำเนิด เด็กที่เกิดจากแม่ที่ขาดสารไอโอดีนมีโอกาสที่จะเป็นปัญญาอ่อน เป็นใบ้ ช่วยตัวเองไม่ได้ กลายเป็นเด็กเอ๋อ ส่วนในเด็กวัยเรียนที่ขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้การเรียนรู้ช้า เฉื่อยชา เป็นคอพอก เพราะสารไอโอดีนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองทารกที่อยู่ในครรภ์ ต้องการสารไอโอดีนจากมารดาในการเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์สมอง และช่วยสร้างโครงข่ายใยประสาทที่ต่อเชื่อมถึงกัน สร้างปลอกหุ้มเซลล์ใยประสาทอย่างต่อเนื่อง ส่วนในวัยผู้ใหญ่ หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้กลายเป็นคนเซื่องซึม เฉื่อยชา ประสิทธิภาพการทำงานลดลง นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจการครอบคลุมกระจายเกลือเสริมไอโอดีนระดับครัวเรือน ซึ่งจากการสำรวจการครอบคลุมในการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในระดับครัวเรือนบ้านหนองบัวโดน หมู่ที่ 1 จากครัวเรือนทั้งหมด 156 หลังคาเรือน มีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนเพียง 84 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 53 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ร้อยละ 90 ซึ่งการแก้ไขปัญหาขณะนี้คือการส่งเสริมให้จัดตั้งเป็นกองทุนเกลือเสริมไอโอดีน เพื่อส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนในครอบครัวและลดหรือเลิกบริโภคเกลือสินเธาว์ จะเห็นได้ว่าสถานการณ์การขาดสารไอโอดีนในภาพรวมดีขึ้นแต่ปัญหาการขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ก็ยังคงมีอยู่ จึงจำเป็นต้องแก้ไขต่อไป บ้านหนองบัวโดน หมู่ที่ 1 ก็เป็นพื้นที่ที่มีการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนในปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณไอโอดีนที่ร่างกายต้องการ อีกทั้งการบริโภคและการจำหน่ายเกลือเสริมไอโอดีนในชุมชนก็ยังไม่ครอบคลุม จึงส่งเสริมให้มีให้ความรู้เรื่องเกลือเสริมสารไอโอดีน โดยจัดให้ อสม.มีการให้ความรู้เรื่องเกลือเสริมไอโอดีนแก่ประชาชนในเขตหลังคาเรือนที่รับผิดชอบ มีการเฝ้าระวังภาวะขาดสารไอโอดีนแบบบูรณะการ ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามเฝ้าระวังและร่วมแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างจริงจัง  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อสร้างโปรแกรมการให้ความรู้โดย อสม.เดลิเวอรี่เกลือเสริมไอโอดีน เพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี 2. เพื่อประเมินความรู้ การรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี จากโปรแกรมการให้สุขศึกษาโดย อสม.เดลิเวอรี่เกี่ยวกับการป้องกันการขาดสารไอโอดีน 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีน การเลือกซื้อเกลือเสริมไอโอดีน การเก็บรักษาเกลือเสริมไอโอดีนที่ถูกต้องหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้สุขศึกษาโดย อสม.เดลิเวอรี่เกลือเสริมไอโอดีน 4. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีน การรับรู้ต่อโรคขาดสารไอโอดีน และพฤติกรรมในการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้สุขศึกษาโดย อสม.เดลิเวอรี่เกลือเสริมไอโอดีน  
กลุ่มเป้าหมาย : หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคคอพอก และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้ สมัครใจเข้าร่วมโครงการ อาศัยอยู่ในบ้านหนองบัวโดน หมู่ที่ 1 ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : โปรแกรมการให้ความรู้โดย อสม.เดลิเวอรี่ เพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 2. ประสานกลุ่มเป้าหมายในการเข้ารับการอบรม 3. ดำเนินการตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ 4. ประเมินผลก่อนและหลังการอบรม 5. สรุปและคืนข้อมูลแก่ชุมชน  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษาและอภิปรายผล ( Results ) การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีนต่อความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ซึ่งทำการศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการรับรู้และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมโปรแกรมเป็นหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 9 ราย ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี จำนวน 17 ราย รวม 26 ราย ประเมินกลุ่มตัวอย่างในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS นำเสนอในรูปของตารางประกอบคำบรรยาย ดังนี้ ผลการศึกษา 1. ข้อมูลส่วนบุคคล 2. ข้อมูลด้านความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี 3.ข้อมูลด้านการรับรู้การขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน การรับรู้ความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน 4. ข้อมูลด้านพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี 6. เปรียบเทียบข้อมูลด้านความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีน การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน การรับรู้ความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน และพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม 1. ข้อมูลส่วนบุคคล ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน ( n = 26 ) ร้อยละ อายุ น้อยกว่า 20 ปี 20 – 39 ปี ตั้งแต่ 40 ขึ้นไป ประวัติการตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ครั้งแรก ตั้งครรภ์ครั้งที่สอง ตั้งครรภ์ครั้งที่สาม ระดับการศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอนุปริญญา 2 19 5 6 18 2 2 20 2 7.69 73.10 19.23 23.10 69.23 7.69 7.69 76.92 7.6 ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ( ต่อ ) ข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน ( n = 26 ) ร้อยละ ปริญญาตรีหรือมากกว่า ไม่ระบุ อาชีพ รับจ้าง แม่บ้าน ทำนา รับราชการหรือวิสาหกิจ อื่น ๆ เช่น เจ้าของกิจการหรือธุรกิจส่วนตัว ไม่ระบุ รายได้ เพียงพอ ไม่เพียงพอ ไม่ระบุ 1 1 2 5 11 1 6 1 13 9 4 3.85 3.85 7.69 19.23 42.31 3.45 23.10 3.45 50.00 43.62 15.38 จากตางรางที่ 1 พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ที่เข้าร่วมโปรแกรมการศึกษาในครั้งนี้ ส่วนใหญ่มีอายุ 20 – 39 ปี จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.10 รองลงมาอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.23 และ อายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 ประวัติการตั้งครรภ์ พบว่า ส่วนใหญ่ ตั้งครรภ์ครั้งที่สอง จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.23 รองลงตั้งครรภ์ครั้งแรก จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.10 และตั้งครรภ์ครั้งที่สาม จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 ระดับการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.62 รองลงมาระดับประถมศึกษา จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 ระดับอนุปริญญา จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 ปริญญาตรีหรือมากกว่า จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.85 และไม่ระบุ จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.85 อาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่ มีอาชีพทำนา จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.31 รองลงมาอาชีพอื่น ๆ เช่น เจ้าของกิจการหรือธุรกิจส่วนตัว จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.10 แม่บ้าน จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.23 รับจ้าง จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 รับราชการหรือวิสาหกิจ จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.45 และไม่ระบุ จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.45 รายได้ พบว่า ส่วนใหญ่มีรายได้เพียงพอ จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.00 ไม่เพียงพอ จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.62 และไม่ระบุ จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.38 ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี จำแนกตามประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน ( n = 26 ) ร้อยละ ประวัติการเป็นคอพอกในครอบครัว ไม่เคย เคย ไม่แน่ใจ ประวัติทารกเสียชีวิตในครรภ์ ไม่เคย เคย ไม่แน่ใจ ประวัติทารกพิการแต่กำเนิด ไม่เคย เคย ไม่แน่ใจ ประวัติทารกมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติ ไม่เคย เคย ไม่แน่ใจ ประวัติการเจริญเติบโตของเด็กผิดปกติ ไม่เคย เคย ไม่แน่ใจ 13 2 11 26 0 0 26 0 0 25 0 1 25 0 1 50.00 7.69 42.31 100 0 0 100 0 0 96.15 0 3.85 96.15 0 3.85 จากตารางที่ 2 พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติการเป็นคอพอกในครอบครัว จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมาไม่แน่ใจว่ามีประวัติการเป็นคอพอกในครอบครัว จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.31 และเคยมีประวัติการเป็นคอพอกในครอบครัว จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 ประวัติทารกเสียชีวิตในครรภ์ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติทารกเสียชีวิตในครรภ์ จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ประวัติทารกพิการแต่กำเนิด พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติทารกพิการแต่กำเนิด จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ประวัติทารกมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติทารกมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติ จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.15 และไม่แน่ใจว่ามีประวัติทารกมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติ จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.85 และประวัติการเจริญเติบโตของเด็กผิดปกติ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติการเจริญเติบโตของเด็กผิดปกติ จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.15 และไม่แน่ใจว่ามีประวัติการเจริญเติบโตของเด็กผิดปกติ จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.85 2. ข้อมูลด้านความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี จำแนกตามข้อมูลด้านความรู้เกี่ยวกับโรคขาด สารไอโอดีน ความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีน ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน ( ร้อยละ ) จำนวน ( ร้อยละ ) ความรู้ระดับสูง ( 16 – 20 คะแนน ) 9 ( 34.62 ) 14 ( 53.85 ) ความรู้ระดับปานกลาง (12 – 15 คะแนน ) 12 ( 46.15 ) 11 ( 42.30 ) ความรู้ระดับต่ำ ( 0 – 11 คะแนน ) 5 ( 19.23 ) 1 ( 3.85 ) จากตารางที่ 3 ผลการศึกษา พบว่า ก่อนเข้าโปรแกรมหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ส่วนใหญ่มีความรู้ระดับปานกลาง จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.15 รองลงมามีความรู้ระดับสูง จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.62 และมีความรู้ระดับต่ำ จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.23 หลังเข้าร่วมโปรแกรมหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี ส่วนใหญ่มีความรู้ระดับสูง จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 53.85 รองลงมามีความรู้ระดับปานกลาง จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.30 และมีความรู้ระดับต่ำ จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.85 ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี จำแนกตามข้อมูลการรับรู้ต่อโรคการขาดสาร ไอโอดีน ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม การรับรู้ต่อโรคขาดสารไอโอดีน ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน ( ร้อยละ ) จำนวน ( ร้อยละ ) การรับรู้ระดับสูง (61 – 90 คะแนน ) 24 ( 92.31 ) 26 ( 100 ) การรับรู้ระดับปานกลาง ( 31 – 60 คะแนน ) 2 ( 7.69 ) 0 ( 0.0 ) การรับรู้ระดับต่ำ ( 0 – 30 คะแนน ) 0 ( 0.0 ) 0 ( 0.0 ) จากตารางที่ 5 ก่อนเข้าโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีการรับรู้ต่อโรคการขาดสารไอโอดีน พบว่า หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่การรับรู้ต่อโรคการขาดสารไอโอดีนในระดับสูง จำนวน 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.31 มีการรับรู้ในระดับปานกลาง จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 และหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่การรับรู้ต่อโรคการขาดสารไอโอดีนในระดับสูง จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 100.00 3. การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี จำแนกตามข้อมูลการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการ ขาดสารไอโอดีน ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน ( ร้อยละ ) จำนวน ( ร้อยละ ) การรับรู้ระดับสูง ( 21 – 30 คะแนน ) 20 ( 76.92 ) 26 ( 100 ) การรับรู้ระดับปานกลาง ( 11 – 20 คะแนน ) 6 ( 23.10 ) 0 ( 0.0 ) การรับรู้ระดับต่ำ ( 0 – 10 คะแนน ) 0 ( 0.0 ) 0 ( 0.0 ) จากตารางที่ 6 ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับสูง จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.92 รองลงมามีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.10 และหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับสูง จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 100.00 4. การรับรู้ความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี จำแนกตามข้อมูลการรับรู้ความรุนแรงของการ ขาดสารไอโอดีน ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม การรับรู้ความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน ( ร้อยละ ) จำนวน ( ร้อยละ ) การรับรู้ความรุนแรงระดับสูง ( 21 – 30 คะแนน ) 19 ( 73.10 ) 26 ( 100 ) การรับรู้ความรุนแรงระดับปานกลาง ( 11 – 20 คะแนน ) 6 ( 23.10 ) 0 ( 0.0 ) การรับรู้ความรุนแรงระดับต่ำ ( 1 – 10 คะแนน ) 1 ( 3.85 ) 0 ( 0.0 ) จากตารางที่ 7 ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีการรับรู้ความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับสูง จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.10 รองลงมามีการรับรู้ความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.10 และมีการรับรู้ความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีนในระดับต่ำ จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.85 และหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับสูง จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 100.00 5. การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี จำแนกตามข้อมูลการรับรู้ประโยชน์ของการ ป้องกันการขาดสารไอโอดีน ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน ( ร้อยละ ) จำนวน ( ร้อยละ ) การรับรู้ระดับสูง ( 33 – 48 คะแนน ) 18 ( 69.30 ) 26 ( 100 ) การรับรู้ระดับปานกลาง ( 17 – 32 คะแนน ) 8 ( 30.80 ) 0 ( 0.0 ) การรับรู้ระดับต่ำ ( 1 – 16 คะแนน ) 0 ( 0.0 ) 0 ( 0.0 ) จากตารางที่ 8 ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับสูง จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.30 รองลงมามีการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.80 และหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับสูง จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 100.00 6. พฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ตารางที่ 9 จำนวนและร้อยละของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี จำแนกตามระดับพฤติกรรมป้องกันการขาด สารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน ( ร้อยละ ) จำนวน ( ร้อยละ ) การปฏิบัติถูกต้องระดับสูง ( 21 – 30 คะแนน ) 13 ( 50.00 ) 25 ( 96.15 ) การปฏิบัติถูกต้องระดับปานกลาง ( 11 – 20 คะแนน ) 10 ( 38.46 ) 1 ( 3.85 ) การปฏิบัติถูกต้องระดับต่ำ ( 0 – 10 คะแนน ) 3 ( 11.54 ) 0 ( 0.0 ) จากตารางที่ 9 ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีพฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับสูง จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมามีพฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.46 และหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีพฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับสูง จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.15 และมีพฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.85 7. ผลการเปรียบเทียบระดับความรู้ของโรคขาดสารไอโอดีน การรับรู้ต่อการขาดสารไอโอดีนและพฤติกรรมในการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ก่อนได้รับโปรแกรม อสม.เดลิเวอรี่ และหลังเข้าร่วมโปรมแกรมการให้ความรู้เพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีน ตารางที่ 10 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนและพฤติกรรมใน การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ก่อนและหลังเข้าร่วม โปรแกรม ตัวแปร ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม t P - value (SD) (SD) ความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีน 14.3 (2.9) 16.6 (2.4) 7.235 .000 การรับรู้ต่อการขาดสารไอโอดีน 83.8 (10.9) 97.3 (4.3) 8.272 .000 การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน 24.4 (2.7) 27.1 (1.9) 5.458 .000 การรับรู้ความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน 16.8 (3.6) 19.2 (2.6) 4.857 .000 การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน 26.3 (4.1) 28.8 (1.3) 3.818 0.01 พฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีน 40.0 (9.1) 44.4 (2.5) 3.099 .000 * P – value 0.05 จากตารางที่ 10 พบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อสม.เดลิเวอรี่ เกลือเสริมไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 14.3 คะแนน ( ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.9 ) หลังการเข้าร่วมโปรแกรม อสม. เดลิเวอรี่ เกลือเสริมไอโอดีน พบว่า หญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 16.6 คะแนน ( ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.4 ) ในด้านการรับรู้ต่อการขาดสารไอโอดีน ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 83.4 คะแนน ( ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10.9 ) หลังการเข้าร่วมโปรแกรม คะแนนความรู้เฉลี่ย 97.3 ( ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.3 ) จากการวิเคราะห์รายด้านของการรับรู้ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน การรับรู้ความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน พบว่า ก่อนเข้าโปรแกรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 24.4, 16.8 และ 26.3 ตามลำดับ และหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในแต่ละด้าน ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน การรับรู้ความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน พบว่า มีคะแนน เฉลี่ย 27.1, 19.2 และ 28.8 ตามลำดับ ในด้านพฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี พบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ย 40.0 คะแนน และหลังเข้าร่วมโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ย 44.4 คะแนน จากผลการศึกษานำมาเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีน การรับรู้เรื่องสารไอโอดีนและพฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีน มีคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 อภิปรายผลการศึกษา การศึกษาในครั้งนี้ ได้ศึกษาผลของโปรแกรม อสม.เดลิเวอรี่ เกลือเสริมไอโอดีน เป็นโปรแกรมให้ความรู้เพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีน ความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ผู้เข้าร่วมโปรแกรมเป็นหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ในพื้นที่บ้านหนองบัวโดน หมู่ที่ 1 ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 26 ราย พบว่า ประชากรกลุ่มตัวอย่างให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางร่างกาย อ่านและเขียนภาษาไทยได้ โปรแกรมประกอบด้วย การให้สุขศึกษารายบุคคลในหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ให้ความรู้โดยมีอุปกรณ์แผนพับร่วมกับการนำเสนอตัวอย่างอาหารที่มีไอโอดีน ประเมินความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมเรื่องโรคขาดสารไอโอดีนโดยใช้แบบสอบถามประเมินความรู้ และใช้แบบสอบถามชุดเดิมประเมินซ้ำในระยะเวลาห่างกัน 1 เดือน ในการศึกษาครั้งนี้สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้ 1. ความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม อสม.เดลิเวอรี่เกลือเสริมไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีความรู้เรื่องเกลือเสริมไอโอดีนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อภิปรายได้จากโปรมแกรมมีการให้ความรู้อย่างมีแบบแผน หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปีมีการเรียนรู้ได้อย่างดี ผู้เข้าร่วมโปรแกรมส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 20 – 40 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา จากปัจจัยส่วนบุคคลมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการทบทวนวรรณกรรมของ อมรรัตน์ มูลสารและสัมมนา มูลสาร ( 2551 ) ที่พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องการศึกษามีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน ระดับการศึกษาสูงกว่าประถมศึกษามีการบริโภคเกลือไอโอดีนมากกว่าระดับประถมศึกษา จากการจัดทำโปรแกรมในครั้งนี้ ทำให้หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสามารถสอบถามความรู้เพิ่มเติมได้ ได้รับความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนอย่างครบถ้วนและครอบคลุม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ นาตยา เกษมสงคราม ( 2548 ) ได้ศึกษาโปรแกรมสุขศึกษาในการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด จังหวัดอุทัยธานี มีการสอนแบบ มีแผนการสอนและแจกแผ่นพับ พบว่า หญิงหลังคลอดมีความรู้มากขึ้นจากโปรแกรมดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในครั้งนี้ ดังนั้น ในการพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้ อสม.เดลิเวอรี่ เพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีน ประกอบด้วย การให้สุขศึกษารายบุคคลในหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ให้ความรู้โดยมีอุปกรณ์แผนพับร่วมกับการนำเสนอตัวอย่างอาหารที่มีไอโอดีน จึงเป็นโปรแกรมที่ช่วยเพิ่มความรู้โรคขาดสารไอโอดีน เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี ได้อย่างเหมาะสม 2. การรับรู้เรื่องการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี จากการศึกษาพบว่า ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีการรับรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อภิปรายได้ว่า หลังจากการได้รับความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี รู้ว่าทารกในครรภ์และเด็กที่อยู่ในช่วง 0 – 5 ปี มีความเสี่ยงต่อโรคขาดสารไอโอดีน เนื่องจากความต้องการไอโอดีนเพิ่มมากขึ้นกว่าภาวะปกติ สภาพภูมิลาเนาและการขาดความรู้ ในการเลือกรับประทานอาหารที่มี สารไอโอดีนอย่างเพียงพอจาก ผลการประเมินด้านความรู้ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมพบว่าหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับปานกลางและมีคะแนนในการรับรู้ ในระดับสูง การขาดความรู้หรือการมีความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนที่ไม่ถูกต้อง การรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลไปถึงพฤติกรรมที่ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของสุริยันต์ ปัญหาราช ( 2554 ) ศึกษาเรื่องการบริโภคสารไอโอดีนและการรับรู้เกี่ยวกับภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดของหญิงตั้งครรภ์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลาภู พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ยังขาดความรู้และการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารไอโอดีนและภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดและในเด็ก 0 – 5 ปี ในการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ส่วนใหญ่มีความรู้ ทราบถึงประโยชน์ในการปฏิบัติ การเลือกซื้ออาหารที่มีสารไอโอดีนและแหล่งเข้าถึงสินค้าซึ่งเป็นปัจจัยด้านการตลาด 3. พฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์เด็ก 0 – 5 ปี ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไอโอดีน การเลือกซื้อเกลือเสริมไอโอดีน การเก็บรักษาเกลือเสริมไอโอดีนที่ถูกต้อง ผลการศึกษาพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อสม.เดลิเวอรี่เกลือเสริมไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีการปฏิบัติถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 50.00 หลังเข้าร่วมโปรแกรมมีการปฏิบัติถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 96.15 และหลังเข้าร่วมโปรแกรม หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาอภิปรายผลได้ว่า หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีพฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของเนาวรัตน์ บุญรักษ์ ( 2553 ) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์และระดับไทรอยด์ฮอร์โมนของทารกแรกเกิดในจังหวัดพังงา พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีการใช้น้าปลาเสริมไอโอดีน ซอส ซีอิ้วเสริมไอโอดีนอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ติดทะเล มีการบริโภคปลาทะเลเป็นประจำ ทาให้ขาดความตะหนักในการรับประทานเสริมไอโอดีน ดังนั้น ในการพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้ อสม.เดลิเวอรี่ เพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีน โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพผลจากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการให้ความรู้และมีผลต่อพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน จึงเป็นโปรมแกรมที่สามารถนำมาใช้ในการให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปีได้ เพื่อป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่ตำบลสมเด็จต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : 1. เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ควรมีการส่งเสริมนโยบายที่เป็นสาธารณะมีการส่งเสริมให้มีการดาเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีการประชาสัมพันธ์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย 2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักเห็นความสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคขาดสารไอโอดีนและร่วมกันป้องกันผลกระทบระยะยาวที่ส่งผลต่อระดับสติปัญญา 3. วันประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำทุกเดือนควรจัดให้ความรู้เรื่องโปรแกรม อสม.เดลิเวอรี่ เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีน ส่งเสริม แนะนำให้ความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนและเฝ้าระวังป้องกันการขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)