|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อค้นหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกอก |
ผู้แต่ง : |
พัชรีพร ชินฤทธิ์ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคร้ายใกล้ตัว และเป็นมหันตภัยเงียบที่หลายคนคาดไม่ถึงเพราะเป็นโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน คือ พฤติกรรมการกินอาหารที่ปรุงจากปลาน้ำจืดมีเกล็ด ดิบ ๆ สุก ๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี หลักฐานทางระบาดวิทยา บ่งชี้ว่า การเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งประเทศไทยมีรายงานผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี สูงสุด ในปี พ.ศ. 2548 ประมาณ 28,000 ราย (วันละ 70 ราย ชั่วโมงล่ะ 3 ราย) และข้อมูลล่าสุดปี 2554 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดี 14,314 รายมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7,593 ราย และภาคเหนือ 2,638 ราย โรคนี้ถือว่าเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญและรุนแรงอย่างมาก ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากผู้ป่วยมักอยู่ในช่วงอายุ 45 – 55 ปี ซึ่งเป็นวัยทำงาน (พรเทพ ศิริวนารังสรรค์. 2556)
(WHO) จัดให้โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นเชื้อก่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีอุบัติการณ์โรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงมากที่สุดในโลก ข้อข้อมูล พ.ศ.2557 พบความชุกพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 9.2 ภาคเหนือพบร้อยละ 5.2 พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โรคนี้มีต้นทุนในการรักษาสูงประมาณ 5 แสนบาทต่อคน ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตต่ำมาก เนื่องจากพบผู้ป่วยมะเร็งในระยะท้ายๆ
โครงการรณรงค์กำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี (CASCAP มหาวิทยาลัยขอนแก่น) รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพร้อมทั้งถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ปัจจุบันมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็งท่อน้ำดีจำนวน 6,000,000 คน และมีผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีประมาณ 14,000 คนต่อปี
จากการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกอก ปี ๒๕๖๐ พบว่า ประชาชนได้รับการคัดกรองโดยวาจา คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับการคัดกรองออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 98.59 ตรวจอุจาระประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีจำนวน 94 คน พบพยาธิใบไม้ตับจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 13.83 และตรวจซ้ำประชาชนที่พบพยาธิในปี ๒๕59 จำนวน 7 คนคิดเป็นร้อยละ100 ไม่พบติดเชื้อพยาธิซ้ำซ้อน ผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีได้รับการรักษาจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการอัลตร้าซาวด์ จำนวน 3๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๙๒ ซึ่งผลการดำเนินงานค่อนข้างต่ำ และยังไม่ครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมายสาเหตุมาจากประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจต่อการอัลตร้าซาวด์ ในขณะที่การอัลตร้าซาว์ จะเป็นการค้นหามะเร็งในระยะแรก สามารถรักษาหายได้ถ้าตรวจพบก้อนมะเร็งในระยะเริ่มต้น รักษาโดยการผ่าตัดก่อนที่มะเร็งจะลุกลาม และทำให้คนไข้มีชีวิตยืนยาวขึ้น จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกอก จึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้ ’’รูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการเขารับการตร้าซาวด์เพื่อค้นหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” ขึ้นเพื่อให้เข้ากับบริบทของคนในชุมชน โดยมี อสม.OV /คู่หูบัดดี้ กลุ่มเสี่ยง ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสมในการจัดการตนเอง ชุมชน จนนำไปสู่การลดอัตราการเกิดโรคพยาธิใบไมตับและมะเร็งท่อน้ำดี ต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
๑. เพื่อค้นหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในระยะเริ่มต้น กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ครอบคลุมเพิ่มขึ้น
๒. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจต่อโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี
๓. เพื่อหารูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการอัลตร้าซาวด์ ให้เข้ากับบริบทชุมชน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
๑. อสม.OV คู่หูบัดดี้ ภาคีเครือข่ายในชุนได้แก่ สท. ผู้นำชุมชน แกนนำสุขภาพ ครู และกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบจำนวน 1๒๖ คน |
|
เครื่องมือ : |
ใช้แบบประเมินผลการจัดการฝึกอบรมของกลุ่มเป้าหมาย(ผู้เขาร่วมโครงการ) จำนวน ๒ ส่วน
๑. ประเมินความรู้ที่ได้รับก่อนและหลังการฝึกอบรม
๒. ประเมินความพึงพอใจต่อภาพรวมของรูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการเข้ารับ
การอัลตร้าซาวด์เพื่อค้นหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี”
๑๐. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
แจกแบบประเมินให้ผู้เข้าร่วมอบรมในระหว่างการอบรม และรวบรวม แบบประเมินผล เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม และเสร็จสิ้นการดำเนินงาน โดยนำข้อมูลจากแบบประเมินมาวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักสถิติร้อยละค่าเฉลี่ย
๑๑. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้สถิติเชิงพรรณนา อัตราส่วนค่าร้อยละและวิธีทางสถิติเบื้องต้น โดยกำหนดให้มี ๕ ตัวเลือก ให้คะแนนเต็มเท่ากับ ๕ ค่าเฉลี่ยตัวกลาง เท่ากับ ๒.๖๐และแบ่งเขตุคำตอบของค่าเฉลี่ยตัวกลางเลขคณิต ดังนี้
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ ๔.๒๐ – ๕.๐๐ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก
ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๓.๔๐ – ๔.๑๙ อยู่ในเกณฑ์ดี
ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๒.๖๐ – ๓.๓๙ อยู่ในเกณฑ์พอใช้
ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๑.๘๐ – ๒.๕๙ อยู่ในเกณฑ์น้อย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ ๑.๐๐ – ๑.๗๙ อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ขั้นเตรียมการ
๑. ค้นหากลุ่มเสี่ยง ศึกษาข้อมูล รวบรวมข้อมูล ทั้งในฐานข้อมูล JHCIS และในชุมชน
๒. เขียนแผนงานโครงการ ของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลผาเสวย
๓. จัดทำสื่อ คู่มือ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์/ เอกสารต่างๆให้เพียงพอ จัดตั้งไลน์กลุ่มภาคี
ขั้นดำเนินงาน
๑. อบรมให้ความรู้/แจ้งสถานการณ์โรคโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี อสม. OV ภาคีเครือข่าย สท. ผู้นำชุมชน แกนนำสุขภาพ และ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1๒๖ คน ( 2 รุ่น )
๒. จัดกิจกรรมจับสลาก คู่หูบัดดี้ แก่ อสม OV. ภาคีเครือข่าย สท. ผู้นำชุมชน กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ๔๐ปีขึ้นไป ( โดยให้ อสม OV. ภาคีเครือข่าย สท.และ ผู้นำชุมชน 1 คน จับสลากรายชื่อกลุ่มเป้าหมายมา 1 คน จับได้ชื่อใครจะได้คนนั้นเป็นบัดดี้)
๓. ทำพันธะสัญญาใจข้อตกลงร่วมกัน ระหว่าง คู่หูบัดดี้ทั้งสองฝ่าย ในการติดตามพาเพื่อนบัดดี้ไปรับการอัลตร้าซาวด์ในวันที่นัดหมายและติดตาม F/U ในกรณีย์ผิดปกติ
๔. ลงชื่อใบยินยอมเขาร่วมโครงการโดยสมัครใจ รวมรวมเอกสารลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยง www cascap.go.th สัมภาษณ์กลุ่มเสี่ยง cca 01
๕. นัดหมายส่งต่อ /ขอรถรับส่งจากเทศบาลตำบลผาเสวยเพื่อรับกลุ่มเป้าหมายไปรับการอัลตร้าซาวด์ ที่ รพ.สมเด็จ ( cca 02 ) ตามวันเวลาที่ รพ.กำหนดให้
๖. ประสานงาน จนท.รพ.สมเด็จ จัดคิว/ช่องทางด่วนบริการอัลตร้าซาวด์
๗. จัดบริการอาหารและเครื่องดื่มหลัง อัลตร้าซาวด์ และส่งกลับบ้านโดยรถเทศบาลตำบลผาเสวย
ขั้นประเมินผล
๑. สรุปผลผลการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ สรุปปัญหา/ อุปสรรคและแนวทางพัฒนา
ขั้นสะท้อนกลับข้อมูล
๑. ติดตามข้อมูลในระบบ Isan cohort / ทางไลน์ การสอบถาม ติดตามข้อมูลหลังอัลตร้าซาวด์และส่งต่อในรายทีผิดปกติ
๒. คืนข้อมูลให้กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ/ติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน/ FU ตามสภาวะโรค
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด
๑๓.๑ กลุ่มเป้าหมาย 40 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ จำนวน ๑๒๖ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ แจกแจงตามตารางดังต่อไปนี้
ตารางที ๑ แสดงจำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอัลตร้าซาวด์แยกตามรายหมู่บ้าน
กิจกรรมอัลตร้าซาวด์ ๔๐ปีขึ้นไป
หมู่ที่ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑
เป้าหมาย ผลงาน ร้อยละ
บ้านหนองบัว
1 22 ๒๒ ๑๐๐
บ้านกอก ๒ ๒๖ ๒๖ ๑๐๐
บ้านโคกกลาง ๓ 22 22 ๑๐๐
บ้านหนองแสงน้อย ๔ ๒๔ ๒๔ ๑๐๐
บ้านหนองไผ่นพคุณ ๕ ๑๔ ๑๔ ๑๐๐
บ้านกอก ๑๑ ๑๘ ๑๘ ๑๐๐
รวม ๑๒๖ ๑๒๖ ๑๐๐
แผนภูมิ ๒ แสดงจำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับกการอัลตร้าซาวด์แยกตามรายหมู่บ้าน
๑๓.๒ ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจต่อโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี
จำนวนผู้ตอบแบบประเมิน ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน ๑๒๖ คน มีผู้ตอบแบบประเมินและได้รับแบบประเมินฯ คืนกลับมาจำนวน ๑๐๕ ชุด คิดเป็นร้อยละ 8๓.๓๓
ตารางที่ ๒ ประเมินความรู้ความเข้าใจ ต่อโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ก่อนและหลังการฝึกอบรม
ลำดับ
ประเด็นคำถาม
ร้อยละ
_
x
แปรผล
๑ ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจต่อโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีก่อนเข้ารับการฝีอบรม ๔๑.๔๒ ๒.๐๗ น้อย
๒ ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจต่อโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีหลังเข้ารับการฝีอบรม ๗๗.๕๒ ๓.๘๗ ดี
จากข้อมูลตามตารางที่ ๒ แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ
ต่อโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีหลังจากเข้ารับการฝึกอบรมแล้ว อยู่ในเกณฑ์ ดี โดยพิจารณาจากความรู้ ความเข้าใจ ก่อน เข้ารับการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ ๒.๐๗ คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๔๒ และ หลัง
เข้ารับการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ ๓.๘๗ คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๕๒
๑๓.๓. ผลการประเมินความพึงพอใจภาพรวมต่อรูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการอัลตร้าซาวด์ เพื่อค้นหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี”
เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายอายุ ๔๐ ปี ที่เขารับการอัลร้าซาวด์ ๑๒๖ คน มีผู้ตอบแบบประเมินและได้รับแบบประเมินฯ คืนกลับมาจำนวน ๘๕ ชุด คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๔๖
ตารางที่ ๓ จำนวนและร้อยละ ความพึงพอใจภาพรวมต่อรูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการอัลตร้าซาวด์ เพื่อค้นหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี”
รายการ ระดับความพึงพอใจ
มากที่สุด
ร้อยละ มาก
ร้อยละ ปานกลาง
ร้อยละ น้อย
ร้อยละ น้อยที่สุด
ร้อยละ
1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.1. รูปแบบกิจกรรมการจัดกิจกรรม ๖๘
๘๐ ๑๐
๑๑.๘ ๕
๕.๙ ๒
๒.๓
๒33
1.2 ลำดับขั้นตอนในการจัดกิจกรรม ๖๓
๗๔.๑ ๑๔
๑๖.๕ ๖
๗.๑ ๒
๒.๓
33
1.3 ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม ๖๐
๗๐.๖ ๑๓
๑๕.๓ ๘
๙.๔ ๓
๓.๕ ๑
๑.๒
1.4 เอกสารและสื่อประกอบการจัดกิจกรรม ๕๘
๖๘.๓ ๑๗
๒๐ ๔
๔.๗ ๔
๔.๗ ๒
๒.๓
1.5 ความเหมาะสมของกิจกรรมการจัดกิจกรรม ๖๒
๗๓.๐ ๑๓
๑๕.๓ ๖
๗.๑ ๒
๒.๓ ๒
3๒.๓
2. ความพึงพอใจด้านคณะทำงาน
2.1 คณะทำงานมีกิริยามารยาทเรียบร้อย ๖๓
๗๔.๑ ๑๔
๑๖.๕ ๖
๗.๑ ๒
๒.๓
2.2 คณะทำงานมีความสามารถในการดูแลและแก้ปัญหา ๖๐
๗๐.๖ ๑๓
๑๕.๓ ๘
๙.๔ ๓
๓.๕ ๑
๑.๒
3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
3.1 สถานที่จัดกิจกรรม ๖๑
๗๑.๘ ๑๔
๑๖.๕ ๗
๘.๒ ๒
๒.๓ ๑
๑.๒
3.2 มีการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ๖๒
๗๓.๐ ๑๓
๑๕.๓ ๖
๗.๑ ๒
๒.๓ ๒
3๒.๓
4. ความพึงพอใจด้านคุณภาพการจัดกิจกรรม
4.1 ท่านได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคุ้มค่า ๖๘
๘๐ ๑๐
๑๑.๘ ๕
๕.๙ ๒
๒.๓
4.2 ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ๖๘
๘๐ ๑๐
๑๑.๘ ๕
๕.๙ ๒
๒.๓
5. โดยภาพรวมทั้งหมดท่านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ๗๐
๘๒.๔ ๘
๙.๔ ๔
๔.๗ ๒
๒.๓ ๑
๑.๒
จากข้อมูลตามตารางที่ ๓ แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจโดยภาพรวมทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๔
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ควรมีการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมและน่าสนใจมากขึ้นและควรมีการขยายผลความสำเร็จสู่กลุ่มเป้าหมายในปีงบประมาณต่อไป |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|