ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โรงเรียนของหนู “ขาดแคลน แต่ไม่ขาดรัก”
ผู้แต่ง : ปาริชาต ถิตย์ประเสริฐ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : จากข้อมูล ของกระทรวงมหาดไทย เดือนธันวาคม 2554 พบว่า มีประชากรในช่วงอายุ 0 - 5 ปีจำนวน 4,624,060 คน โดยใน ช่วงอายุ 0-2 ปีจะอยู่ในความดูแลของครอบครัวเป็นส่วนใหญ่และเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ3-5 ปีจะส่งเข้าสถานรับเลี้ยง เด็กปฐมวัยต่างๆเช่น โรงเรียนอนุบาล หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเด็กวัยนี้ ต้องการเรียนรู้ ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดา มารดา คนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของ บุคลิกภาพ อุปนิสัย และการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา จะเป็นรากฐานที่ดีที่จะให้เขาเติบโตอย่างเฉลียวฉลาด และมีความสุข แต่ปัจจุบันพบว่ามารดาและผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องทำงานนอกบ้าน ช่วงกลางวันศูนย์พัฒนาเด็กจึงเป็นที่ที่ผู้ปกครองนำเด็กมาฝากให้ดูแล แต่เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาศูนย์พัฒนาเด็กในระยะเริ่มแรก เป็นแค่สถานที่ดูแลเด็กในชุมชน มีผู้ดูแลแค่คนเดียว สถานที่ก็เป็นอาคารที่พอจะหาได้ในชุมชน เมื่อมีการโอนถ่ายภารกิจให้มาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ และกำหนดมาตรฐานขึ้นมารองรับ ศูนย์พัฒนาเด็กที่มีอยู่จึงไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด และการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐไม่ทันท่วงที และไม่เพียงพอ จึงเกิดปัญหาที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชนบทส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ ดังนั้น การส่งเสริมให้ชุมชน และภาคีเครือข่ายเข้ามามีบทบาทในการคิด ร่วมทำ และร่วมพัฒนา จึงเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อความเข็มแข็งและยั่งยืน ในการยกระดับมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของชุมชนได้  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  
กลุ่มเป้าหมาย : ครูผู้ดูแลเด็กและคณะกรรมการพัฒนาศูนย์เด็ก จำนวน 60 คน  
เครื่องมือ : ใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนโดย ยาดาฟ (Yadav, 1980, p. 87 ) ได้แก่ 1) การเข้าร่วมในการตัดสินใจตกลงใจ 2) การเข้าร่วมในการดำเนินการของแผนและโครงการพัฒนา 3) การเข้าร่วมในการติดตามประเมินผลโครงการและแผนงานของการพัฒนา 4) การเข้าร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนา  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. สร้างกระแสทางสังคมและแสวงหาการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 1.1 ค้นหาความต้องการในการดำเนินงานตามเกณฑ์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ 1.2 คืนข้อมูลและสภาพปัญหาแก่ภาคีเครือข่ายและร่วมวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหา 1.3 กำหนดประเด็นปัญหาและประกาศเป็นวาระชุมชน 1.4 ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและบันทึกลงนามร่วมกัน 2. การค้นหาปัญหา และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน 2.1 ครูผู้ดูแลเด็กและคณะกรรมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กศึกษาเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 2.2 ครูผู้ดูแลเด็กและคณะกรรมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กวิเคราะห์ส่วนขาดตามเกณฑ์ 2.3 คืนข้อมูลส่วนขาดตามเกณฑ์แก่ชุมชน และร่วมระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหา 2.4 ภาคีเครือข่าย และชุมชนร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา และกำหนดผู้รับผิดชอบ 3. การดำเนินการตามแผนที่วางไว้ 3.1 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อปท. รพ.สต. โรงพยาบาลชุมชน 3.2 ระดมทรัพยากรในชุมชน เช่น ช่างไม้ ช่างปูน เงิน แรงงานเยาวชน 3.3 ดำเนินงานตามแผนที่กำหนด 4. สรุปผลการดำเนินงาน และคืนข้อมูลแก่ภาคีเครือข่ายและชุมชน  
     
ผลการศึกษา : ก่อนดำเนินการ 1 ศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 1.1 กระบวนการดำเนินงานพัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 1.1.1. คำและความหมาย ศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ หมายถึง ศูนย์เด็กเล็กทุกสังกัดที่มีกระบวนการจัดบริการที่ได้มาตรฐาน 6 ด้าน คือ 1. ด้านบุคลากร 2. ด้านการเจริญเติบโต สุขภาพช่องปากและการจัดอาหาร 3. ด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ตามช่วงวัย 4. ด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก 5. ด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ 6. ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งบรรลุผลลัพธ์ 4 ข้อ คือ 1. เด็กมีพัฒนาการสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 (ประเมินพัฒนาการด้วย แบบอนามัย 55) 2. เด็กมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 หรือมีผลงานเพิ่มขึ้นปีละ ร้อยละ 5 3. เด็กมีฟันน้ำนมผุไม่เกินร้อยละ 57 หรือมีผลงานลดลงปีละ ร้อยละ 3 4. เด็กที่พัฒนาการลาช้าทุกคน ได้รับการส่งต่อไปยังสถานบริการสาธารณสุขเพื่อแก้ไขพัฒนาการ สาธารณสุขทุกคน 1.2 ประโยชน์ของการดำเนินงาน การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เพื่อให้มีการ พัฒนาทั้งเด็ก บุคลากรและสิ่งแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็ก ประโยชน์ของการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ นอกจากจะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพครอบคลุมทุกด้านอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการมีสุขภาพกายและใจที่ดีแล้วยังจะช่วยให้ 1.2.1 เด็กได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเองและดูแลความสะอาดของ สิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี 1.2.2 เด็กได้เรียนรู้ตามช่วงวัย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยแบบองค์รวม 1.2.3 ครู/ผู้ดูแลเด็กได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ และทักษะด้านต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ 1.2.4 ผู้ปกครองและชุมชนเข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง 1.2.5เสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครองและชุมชน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็ก ครอบครัว และชุมชน 1.2.6 เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากร ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจระหว่างศูนย์เด็กเล็ก ชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาคีต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กต่อไป 1.3 แนวทางการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐาน การประเมินศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1.3.1 การประเมินเพื่อพัฒนา ศูนย์เด็กเล็กจะประเมินตนเอง ครั้งที่ 1 เพื่อค้นหาปัญหาและส่วนที่ต้องพัฒนาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน จากนั้นจะทำการประเมินตนเอง ครั้งที่ 2 หลังจากได้ดำเนินการแก้ไขส่วนที่ต้องพัฒนาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานแล้ว เพื่อประเมินว่าพัฒนาได้ตามเกณฑ์หรือไม่ก่อนขอรับการประเมินรับรองจากหน่วยงานภายนอก 1.3.2 การประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานภายนอก จากคณะกรรมการตรวจประเมินส่วนกลางระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ 1.4 การเตรียมความพร้อมก่อนการประเมิน 1.4.1 แนวทางปฏิบัติของผู้ประเมิน 1.4.1.1 ศึกษาเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 1.4.1.2 ประสานงานกับพื้นที่ แจ้งกำหนดการประเมิน และหน่วยงานที่จะไปประเมินให้ผู้รับการประเมินทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ 1.4.1.3 จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ 1.4.1.4. พบผู้บริหารของหน่วยงานที่เข้ารับการประเมินเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ รูปแบบการประเมิน 1.4.1.5 ประเมินโดยตรวจสอบและพิจารณาจากการปฏิบัติและผลงานตามสภาพจริง บันทึกลงในแบบประเมิน 1.4.1.6 สรุปผลการประเมินลงในโปรแกรมประเมินมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 1.4.1.7 สรุปและชี้แจงผลการประเมินให้ผู้รับการประเมินทราบ รวมถึงให้คำแนะนำแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กให้ดียิ่งขึ้น 1.4.2 แนวปฏิบัติของผู้รับการประเมิน 1.4.2.1 ศึกษาเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 1.4.2.2 ประเมินตนเอง พัฒนาและปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 1.4.2.3 รวบรวมผลการดำเนินงาน หลักฐานอย่างมีระบบตามแนวทางการดำเนินเพื่อการเป็นศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 1.5 การสรุปและแจ้งผลการประเมิน 1.5.1 เมื่อคณะกรรมการตรวจประเมินได้ดำเนินการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 1.5.2 จากนั้นบันทึกข้อมูลคะแนนการประเมินลงในโปรแกรมประเมินมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 1.5.3 แจ้งผลการประเมินให้ผู้รับการประเมินและผู้บริหารหน่วยงานทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เด็กเล็กต่อไป 1.6. การประกาศรับรอง 1.6.1 ศูนย์เด็กเล็กจะผ่านเกณฑ์การประเมินและได้รับการรับรองเป็น “ศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ” เมื่อผลการประเมินพบว่า ด้านกระบวนการที่ได้มาตรฐาน 6 ด้าน ในแต่ละด้านมีคะแนนรวม ร้อยละ 80 ขึ้นไปทุกด้าน และด้านผลลัพธ์ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกข้อ 1.6.2 อายุการรับรอง 3 ปี นับจากวันประกาศรับรองเป็น “ศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ” 2. ประเมินตนเองก่อนการพัฒนา พบว่าไม่ผ่านตามเกณฑ์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ ดังนี้ ด้าน ข้อ ประเด็นที่ไม่ผ่านเกณฑ์ สาเหตุของปัญหา 1. ด้านการเจริญเติบโต สุขภาพช่องปาก การจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และการจัดเตรียมอาหาร 1.เด็กทุกคนได้รับการเฝ้าระวังการเจริญเติบโต โดยครูผู้ดูแลเด็ก 1.1.4แจ้งและอธิบายภาวะการเจริญเติบโต ให้กับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู พร้อมคำแนะนำทุกครั้ง มารดา และผู้ปกครองขาดความรู้ ความเข้าใจในการเลี้ยงดูบุตร และไม่ให้ความสำคัญต่อข้อมูลการประเมินภาวะการเจริญเติบโตของบุตรหลาน 2. การดูแลสุขภาพช่องปาก 2.1. การตรวจและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพช่องปาก 2.1.2 เด็กทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และการได้รับฟลูออไรด์เฉพาะที่โดยทันตบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผ่านการอบรม ปีละ 2 ครั้ง ขาดแคลนทันตบุคลากร 2.3. การแปรงฟัน 2.3.3. เด็กทุกคนมีแก้วน้ำ แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดหน้ามีการเปลี่ยนแปรงสีฟันอย่างน้อย ปีละ 2ครั้ง และมีการจัดเก็บที่สะอาด ปลอดภัย ขาดสถานที่แปรงฟัน 3.4 เด็กไม่ดูดนมจากขวด และไม่นำขวด ผู้ปกครองยังให้เด็กดูดนมขวด และไม่ทราบ นมมาศูนย์เด็กเล็ก หลังจากเข้ามาอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก 1 เดือน อันตรายและแนวทางเลิกนมขวด 2. ด้านพัฒนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ตามช่วงวัย 1. การคัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการ โดย 1.1. เด็กทุกคนได้รับการคัดกรองด้วยการตรวจประเมินพัฒนาการ ครู/พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการเลี้ยงดูและการส่งเสริมพัฒนาการ ครูผู้ดูแลเด็ก ด้วยเครื่องมือที่กรมวิชาการรับรอง เช่น DSPM ปีละ 2 ครั้ง และบันทึกผลการตรวจประเมินทุกครั้ง ครูยังขาดองค์ความรู้ และไม่มีทักษะการคัดกรองพัฒนาการโดยใช้คู่มือ DSPM 2. ของเล่น สื่ออุปกรณ์และหนังสือนิทาน 2.3 เครื่องเล่นสนามมีขนาดที่พอเหมาะกับวัย เพียงพอ มีการติดตั้งมั่นคง ปลอดภัย อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้ในการจัดกิจกรรม ขาดแคลนของเล่นที่เหมาะสม 3. ด้านจัดสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก ที่สะอาด ปลอดภัย และมีมาตรฐานความปลอดภัย 2. ห้องน้ำ ห้องส้วม 2.2 ห้องน้ำแยกส่วนออกจากห้องส้วม และห้องส้วมควรแยก ชาย หญิง มีป้ายบอกห้องชาย หญิง ห้องน้ำไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็ก 4. มาตรการความปลอดภัย 4.2. เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานในศูนย์เด็กเล็ก ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเป็น และมีการฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจและขาดแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง 4. ด้านการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ 3.การป้องกันแมลง และพาหะนำโรค 3.1. มีการติดตั้งมุ้งลวดบริเวณที่นอน หรือทั้งอาคารอยู่ในสภาพดี พร้อมใช้ 1. ขาดงบประมาณติดมุ้งลวด 2. ห้องเรียนและห้องนอนเป็นห้องเดียวกัน 2. กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาตามมติของภาคีเครือข่าย และชุมชน ดังนี้ ประเด็นที่ไม่ผ่านเกณฑ์ สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา ผู้รับผิดชอบหลัก 1.1.4แจ้งและอธิบายภาวะการเจริญเติบโต ให้กับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู พร้อมคำแนะนำทุกครั้ง มารดา และผู้ปกครองขาดความรู้ ความเข้าใจในการเลี้ยงดูบุตร และไม่ให้ความสำคัญต่อข้อมูลการประเมินภาวะการเจริญเติบโตของบุตรหลาน 1. ประสานกับรพ.สต.และรพ.ชุมชนในการอบรมพัฒนาศักยภาพมารดา /ผู้ปกครอง - เรื่องการเลี้ยงดู - เรื่องเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ 2. กำหนดแนวทางการตอบรับการคืนข้อมูลแก่ผู้ปกครอง 1. รพ.สต. และรพ.แม่ข่าย 2. ครูผู้ดูแลเด็ก 2.1. การตรวจและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพช่องปาก 2.1.2 เด็กทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และการได้รับฟลูออไรด์เฉพาะที่โดยทันตบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผ่านการอบรม ปีละ 2 ครั้ง ขาดแคลนทันตบุคลากร 1. รพ.แม่ข่ายพัฒนาระบบการจัดบริการ โดยการแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบให้ รพ.สต.ที่มีทันตาภิบาล ออกให้บริการให้ครอบคลุมศพด.ทุกแห่ง 2. ประสานทันตบุคลากรเพื่อออกตรวจและทาฟลูออไรด์ 3. พัฒนาระบบการบันทึกและรายงานผล รพ.แม่ข่าย 2.3. การแปรงฟัน 2.3.3. เด็กทุกคนมีแก้วน้ำ แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดหน้ามีการเปลี่ยนแปรงสีฟันอย่างน้อย ปีละ 2ครั้ง และมีการจัดเก็บที่สะอาด ปลอดภัย ขาดสถานที่แปรงฟัน ระดมทุนโดยการจัดทำผ้าป่าสามัคคี และสร้างสถานที่แปรงฟันเอง โดยคนในชุมชน เทศบาลตำบลผาเสวย และผู้นำชุมชน ประเด็นที่ไม่ผ่านเกณฑ์ สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา ผู้รับผิดชอบหลัก 3.4 เด็กไม่ดูดนมจากขวด และไม่นำขวดนมมาศูนย์เด็กเล็ก หลังจากเข้ามาอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก 1 เดือน ผู้ปกครองยังให้เด็กดูดนมขวด และไม่ทราบอันตรายและแนวทางเลิกนมขวด กำหนดเป็นมาตรการ และตกร่วมกันกับผู้ปกครอง และประกาศเป็นนโยบาย 1. ประกาศนโยบายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ 2. ประกาศนโยบายห้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค 3.ห้ามไม่ให้เด็กนำขนมกรุ๊ปกรอบ ลูกอม มาที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2. ห้ามไม่ให้เด็กนำนมขวดมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คณะกรรมการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1.1. เด็กทุกคนได้รับการคัดกรองด้วยการตรวจประเมินพัฒนาการ ด้วยเครื่องมือที่กรมวิชาการรับรอง เช่น DSPM ปีละ 2 ครั้ง และบันทึกผลการตรวจประเมินทุกครั้ง ครูผู้ดูแลเด็กยังขาดความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการคัดกรองและการส่งเสริมพัฒนาการโดยใช้คู่มือ DSPM ประสานกับรพ.สต.และรพ.ชุมชนในการอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็ก - เรื่องเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ - เรื่องการคัดกรองความฉลาดทางอารมณ์ เด็ก3-5 ปี (เก่ง ดี มีสุข) รพ.สต. และรพ.แม่ข่าย 2.3 เครื่องเล่นสนามมีขนาดที่พอเหมาะกับวัย เพียงพอ มีการติดตั้งมั่นคง ปลอดภัย อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้ในการจัดกิจกรรม ขาดแคลนของเล่นที่เหมาะสม ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชน หรือปราชญ์ชุมชนร่วมสร้างของเล่นจากภูมิปัญญา ชมรมผู้สูงอายุ 2.2 ห้องน้ำแยกส่วนออกจากห้องส้วม และห้องส้วมควรแยก ชาย หญิง มีป้ายบอกห้องชาย หญิง ห้องน้ำไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็ก จัดทำผ้าป่าสามัคคี เพื่อระดมทุน และสร้างเองโดยช่างของชุมชนเอง คณะกรรมการชุมชน ร่วมกับแกนนำเยาวชน ประเด็นที่ไม่ผ่านเกณฑ์ สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา ผู้รับผิดชอบหลัก 4.2. เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานในศูนย์เด็กเล็ก ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเป็น และมีการฝึกซ้อมอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจและขาดแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง ประสาน อปท.ในการอบรมพัฒนาศักยภาพแก่ครูผู้ดูแลเด็กการป้องกันอุบัติภัย ปีละ 1 ครั้ง งานป้องกันสาธารณภัยของเทศบาลตำบลผาเสวย 3.1. มีการติดตั้งมุ้งลวดบริเวณที่นอน หรือทั้งอาคารอยู่ในสภาพดี พร้อมใช้ 1. ขาดงบประมาณติดมุ้งลวด 2. ห้องเรียนและห้องนอนเป็นห้องเดียวกัน 1. ติดมุ้งลวดและปรับปรุงพื้นห้องเรียน โดยการปูกระเบื้อง และปูสื่อน้ำมัน 2. ติดพัดลม เทศบาลตำบลผาเสวย และผู้นำชุมชน หลังการอบรม 1. หลังจากมีการพัฒนา และมีการติดตามผลการดำเนินงาน พร้อมคืนข้อมูลแก่ภาคีเครือข่าย และชุมชน พบว่า มีการดำเนินงานแก้ปัญหาครบทุกประเด็นตามที่กำหนดไว้ 2. คณะกรรมการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล้กประเมินตนเองซ้ำ ก่อน ขอรับการประเมินจากคณะกรรมการระดับอำเภอ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นไปตามทฤษฏีการมีส่วนร่วมของยาดาฟ (Yadav, 1980, p. 87 ) ได้แก่ 1) การเข้าร่วมในการตัดสินใจตกลงใจ 2) การเข้าร่วมในการดำเนินการของแผนและโครงการพัฒนา 3) การเข้าร่วมในการติดตามประเมินผลโครงการและแผนงานของการพัฒนา 4) การเข้าร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนา นอกจากนี้ยังเกิดผลลัพธ์แฝง ได้แก่ ความรัก ความสามัคคีในชุมชน ความเข็มแข็งและพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนา อันจะก่อให้เกิดคุณค่าทางสังคมที่เอื้ออาทรต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : บทเรียนที่ได้รับ การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กเพื่อให้เป็นศูนย์รวมในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของเด็กในชุมชน โดยการพัฒนาให้ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากความไม่พร้อมหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้าง อาคาร สถานที่, ด้านบุคลากร ทำให้ในชุมชนที่ห่างไกลยังมีความขาดแคลนทรัพยากรในการพัฒนา จึงต้องพลังการเป็นผู้นำของผู้นำในชุมชนทั้งผู้นำที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ความเข้าใจ การรับรู้ปัญหา การตระหนัก และการระดมทุนในชุมชน โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจนร่วมกัน และร่วมรับผลประโยชน์ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน 2. การเข้าถึงการจัดกิจกรรมในศูนย์เรียนรู้ง่าย เหมาะสมกับบริบท 3. มีแรงเสริมแรงภายในจากชุมชน 4. มีทรัพยากรภายในชุมชน เช่นปราชญ์ชุมชน พระที่ประชาชนนับถือและเป็นที่ยึดเหนี่ยวร่วมกันของคนในชมชน นอกจากนั้นควรมีการติดตาม การสนับสนุน และการเสริมพลังอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ข้อเสนอแนะ 1. ควรใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมนี้ไปพัฒนา หรือแก้ปัญหาด้านอื่นในชุมชน 2. การพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานบางข้อ จำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมตามบริบท เช่นห้องเรียนและห้องนอน ไม่สามารถแยกจากการกันได้เนื่องจากขาดงบประมาณในการสร้างอาคารเพิ่มเติม จึงปรับให้ห้องเรียนเหมาะสำหรับนอนกลางวันได้ด้วย  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)