ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : 3 ส 1 พ เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ภาคีศรีสมเด็จ ( 3 ส คือ ส่งเสริม ใส่ใจ สานสายใย 1พ คือ พัฒนาการ)
ผู้แต่ง : สวรรยา ภูมิพันธ์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : การส่งเสริมพัฒนาการในเด็กช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้เด็กมีความเจริญเติบโต มีความสุขที่ดีสมบูรณ์แข็งแรง และมีพัฒนาการสมวัยเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติต่อไป เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมองซึ่งมีการเติบโต ร้อยละ80.00 ของผู้ใหญ่เป็นช่วงวัยที่สำคัญเหมาะสมในการ ปูพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตและพัฒนาอย่างมีคุณภาพผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในอบรมเลี้ยงดู ให้ความรักความเอาใจใส่ โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 3 ปี เป็นโอกาสทองของชีวิต เพราะว่าสมองมีการเจริญเติบโตสูงสุดพร้อมที่จะเรียนรู้ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้าหรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทย พบว่า เด็กช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่า ร้อยละ 30.00 หรือประมาณ 4 ล้านคน และจากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็กช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ขณะเดียวกันถ้าหากมีภาวะทุพโภชนาการในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เด็กมีสุขภาพที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรงและอาจจะมีพัฒนาการที่ล่าช้าไม่ทันเพื่อน ส่งผลให้พัฒนาการไม่สมวัยและยังส่งผลต่ออนาคตของประเทศชาติ มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างศักยภาพในทุกด้านของเด็กปฐมวัย โดยเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้นมา ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544 เป็นต้น มาจนกระทั่งปัจจุบันฉบับที่ 10 ยังคงเห็นว่าพัฒนาการของเด็กประถมวัยเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพบุคคลากร จึงมีนโยบายมุ่งเน้นทั้งการควบคุมและป้องกันโรค การส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มีพัฒนาการตามวัยทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม อันจะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2556) จากการลงสำรวจข้อมูลและการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแสง พบว่าเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 45.80 โดยพบ ผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวมากที่สุด และรองลงมาคือ ด้านการใช้ภาษา การเข้าใจภาษา การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา และการช่วยเหลือตัวเองและสังคม ร้อยละ 30.80, 34.41, 17.52, 15.76 และ 10.88 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่ามากกว่าร้อยละ 50 พัฒนาการไม่สมวัยหลายด้านและยังพบว่าผู้ปกครองไม่มีเวลาในการดูแลบุตรหลาน คิดเป็นร้อยละ 60.29 และอยู่กับตายาย คิดเป็นร้อยละ 32.72 และผู้ปกครองเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มากกว่าร้อยละ 50.0 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ จากปัญหาดังกล่าวการให้ความสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้มีพัฒนาการสมวัยจึงเป็นแนวทางที่เร่งด่วน การวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็กแบบองค์รวม แบบภาคีมีส่วนร่วม การเพิ่มขีดความสามารถของภาคีเครือข่ายในการจัด ประสบการณ์และสร้างสิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อ แม่ ผู้ปกครองเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และแกนนำชุมชน จึงเป็นปัจจัยหลักของการจัดทำโครงการ 3ส. 1พ. พัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ภาคีศรีสมเด็จ 3ส. คือ ส่งเสริม ใส่ใจ สานสายใย 1พ. คือ พัฒนาการ และจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ ช่วยกันประดิษฐ์เครื่องมือในการตรวจพัฒนาการเด็กและยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ชุดตรวจพัฒนาการและได้ คิดค้น เป็นนวัตกรรมขึ้นมาชื่อ ตลับวิเศษผสมผสานผลึกไอที อัศจรรย์ คือจัดขึ้นเพื่อจะได้เข้าถึงผู้ปกครองและสร้างภาคีเครือข่ายในการดูแลเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในพื้นที่ ตำบลศรีสมเด็จให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยตามเกณฑ์และบุคลากร ภาคีเครือข่ายที่มีคุณภาพและเข้มแข้งของตำบลศรีสมเด็จและประเทศชาติต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เข้ารับการตรวจพัฒนาการ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการทำงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจ และ ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยให้มีพัฒนาการที่สมวัยตามเกณฑ์  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเด็กอายุแรกเกิด ถึง 5 ปี จำนวน 42 คน อาสาสมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 10 คน ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน ผู้ปกครองที่เลี้ยงดูแลเด็ก จำนวน 42 คน และ บุคลากรสาธารณสุขจำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 102 คน พื้นที่หมู่ 3 บ้านโนนสะอาด ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : เป็นการศึกษาแบบเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการศึกษา 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน(planning) การปฏิบัติ(acting) การสังเกตผล(observing) และการประเมินสะท้อนกลับ(reflecting) ระหว่าง เดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนเมษายน 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แผนปฏิบัติงาน คือ 1.1) ขั้นเตรียมการเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานบริการและกลุ่มภาคีเครือข่าย คัดกรองพัฒนาการเด็ก ด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) เพื่อค้นหาเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงขั้นตอนการกระตุ้นพัฒนาการและติดตามการกระตุ้นพัฒนาการเด็กโดยพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ครูผู้ดูแลเด็กและอาสาสมัครสาธารณสุข จะประชุมจัดทำแผนติดตามกระตุ้นพัฒนาการและนัดหมายกลุ่มเป้าหมายส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานโครงการ3 ส 1 พ เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ภาคีศรีสมเด็จ (3 ส คือ ส่งเสริม ใส่ใจ สานสายใย 1พ คือ พัฒนาการ) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบบ้านโนนสะอาด ส่วนที่ 3 การดำเนินงานการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนที่ 4 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมขอภาคีเครือข่าย ส่วนที่ 5 นวัตกรรมการ ตลับวิเศษ ผลึก ไอที อัศจรรย์ ความพึงพอใจต่อกิจกรรม มีจำนวน 16 ข้อ ลักษณะคำตอบเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีคะแนนตั้งแต่ 1- 80 คะแนน โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละข้อคำถาม ไว้ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง ไม่เลย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1) แผนปฏิบัติงาน คือ 1.1) ขั้นเตรียมการเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานบริการและกลุ่มภาคีเครือข่าย คัดกรองพัฒนาการเด็ก ด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) เพื่อค้นหาเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงขั้นตอนการกระตุ้นพัฒนาการและติดตามการกระตุ้นพัฒนาการเด็กโดยพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ครูผู้ดูแลเด็กและอาสาสมัครสาธารณสุข จะประชุมจัดทำแผนติดตามกระตุ้นพัฒนาการและนัดหมายกลุ่มเป้าหมายส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานโครงการ3 ส 1 พ เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ภาคีศรีสมเด็จ (3 ส คือ ส่งเสริม ใส่ใจ สานสายใย 1พ คือ พัฒนาการ) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบบ้านโนนสะอาด ส่วนที่ 3 การดำเนินงานการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนที่ 4 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมขอภาคีเครือข่าย ส่วนที่ 5 นวัตกรรมการ ตลับวิเศษ ผลึก ไอที อัศจรรย์ ความพึงพอใจต่อกิจกรรม มีจำนวน 16 ข้อ ลักษณะคำตอบเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีคะแนนตั้งแต่ 1- 80 คะแนน โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละข้อคำถาม ไว้ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง ไม่เลย 1.2) ขั้นตอนการดำเนินการ ภาคีเครือข่ายในชุมชนหมู่ที่ 3 ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก บุคลากรสาธารณสุข ติดตามดำเนินการกระตุ้นพัฒนาการ ร่วมกับการฝึกสาธิต พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กกลุ่มอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ให้สามารถกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง โดยติดตามเด็ก 10วันต่อหนึ่งครั้ง ต่อเนื่อง 4 เดือน รวม 12 ครั้งจนกว่าเด็กได้รับการตรวจและส่งต่อเด็กเด็กที่สงสัยล่าช้าเข้ารับการประเมินพัฒนาการโรงพยาบาลแม่ข่าย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขหรือครูผู้ดูแลเด็ก และแกนนำพ่อแม่ที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่มอายุ ติดตามสนับสนุนและประเมินความก้าวหน้าการกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง 1.3) ขั้นประเมินผลประชุมสรุปผลการดำเนินงาน 2) แบบคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) 3) แบบบันทึกการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยของภาคีเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา  
     
ผลการศึกษา : กรณีศึกษา 3 ส 1 พ เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ภาคีศรีสมเด็จ ( 3 ส คือ ส่งเสริม ใส่ใจ สานสายใย 1พ คือ พัฒนาการ ) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบบ้านโนนสะอาด ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ แบ่งการนำเสนอผลการศึกษา ออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานโครงการ3 ส 1 พ เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ภาคีศรีสมเด็จ (3 ส คือ ส่งเสริม ใส่ใจ สานสายใย 1พ คือ พัฒนาการ) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบบ้านโนนสะอาด ส่วนที่ 3 การดำเนินงานการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนที่ 4 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ส่วนที่ 5 นวัตกรรมการ ตลับวิเศษ ผลึก ไอที อัศจรรย์ 4.1. ข้อมูลทั่วไป ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของกลุ่มที่ศึกษา จำแนกตามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทั่วไป จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 12 20.00 หญิง 48 80.00 อายุ (ปี) 20 – 33 10 16.67 30 – 43 25 41.67 40 – 54 15 25.00 50 – 65 65 –70 8 2 13.33 3.33 อายุสูงสุด 67 ปี ต่ำสุด 20 ปี อายุเฉลี่ย 35 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.2 ปี สถานภาพ โสด 6 10.00 สมรส 42 70.00 หม้าย หย่าร้าง 2 4 3.33 6.67 ข้อมูลทั่วไป จำนวน ร้อยละ ศาสนา พุทธ 56 93.33 คริสต์ 4 6.67 อิสลาม 0 0.0 อื่นๆ 0 0.0 ระดับการศึกษา ไม่ได้เรียน 2 3.33 ชั้นประถมศึกษา 7 11.67 ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ปวช. 10 16.67 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวส. 15 25.00 อนุปริญญา/ปวส. 14 23.33 ปริญญาตรี 10 16.67 ปริญญาโท 2 3.33 ปริญญาเอก 0 0.0 อาชีพ รับราชการ 6 10.00 พนักงานกระทรวง 3 5.00 รับจ้าง 14 23.33 เกษตรกร 26 43.33 ค้าขาย 8 13.33 ว่างงาน 2 0.33 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท 28 46.67 10,000 – 15,000 บาท 11 18.30 15,001 – 20,000 บาท 8 13.33 20,001 – 25,000 บาท 12 20.00 25,001 – 30,000 บาท 1 1.65 30,001 บาทขึ้นไป 0 0.00 4.1. ข้อมูลทั่วไป จากการศึกษา จำนวนประชากรกลุ่มที่ศึกษา 60 คน หญิงคิดเป็นร้อยละ 80.00 ชายคิดเป็น ร้อยละ 20.00 อายุสูงสุด 67 ปี ต่ำสุด 20 ปี อายุเฉลี่ย 35 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.2 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสมากที่สุด ร้อยละ 70.00 ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 93.33 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวส. ร้อยละ 25.00 และ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 43.33 รายได้ของครอบครัวต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ต่ำกว่า 10,000 ร้อยละ 46.67 ตามลำดับ 4.2. ผลการดำเนินงานโครงการ3 ส 1 พ เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ภาคีศรีสมเด็จ (3 ส คือ ส่งเสริม ใส่ใจสานสายใย 1พ คือ พัฒนาการ) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบบ้านโนนสะอาด การวัดความรู้ความเข้าใจผู้ปกครอง บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครูผู้ดูแลเด็ก ตารางที่ 2 ความรู้ความเข้าใจในการตรวจพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ภาคีเครือข่าย ความรู้ความเข้าใจ ก่อนอบรม (คน) หลังอบรม (คน) ถูก ร้อยละ ผิด ร้อยละ ถูก ร้อยละ ผิด ร้อยละ ผู้ปกครอง (n= 42 คน) 4 9.52 38 90.48 36 85.71 6 14.28 บุคลากรสาธารณสุข (n=5 คน) 1 20.00 4 80.00 5 100.00 0 0.00 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (n= 10 คน) 2 20.00 8 80.00 8 90.00 1 10.00 ครูผู้ดูแลเด็ก (n= 3 คน) 1 33.33 2 66.66 3 100 0 0 รวม ก่อนอบรม ตอบถูก 8 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 หลังอบรม ตอบถูก 52 คน คิดเป็นร้อยละ 86.66 ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละ ความรู้ความเข้าเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ของมารดาหรือผู้ปกครอง ก่อนการอบรม และ หลังการอบรม เนื้อหา ระดับการความรู้ความเข้าใจ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ (จำนวน) (จำนวน) (จำนวน) (จำนวน) (จำนวน) ก่อนการอบรม 40.00 (24) 30.00 (18) 15.00 (9) 6.67 (4) 8.33 (5) หลังการอบรม 3.33 (2) 8.33 (5) 20.00 (12) 28.00 (17) 40.00 (24) 4.2. ผลการดำเนินงานโครงการ 3 ส 1 พ เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ภาคีศรีสมเด็จ (3 ส คือ ส่งเสริม ใส่ใจสานสายใย 1พ คือ พัฒนาการ) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบบ้านโนนสะอาด จากการศึกษา พบว่า การวัดความรู้ความเข้าใจ มากที่สุด บุคลากรสาธารณสุข และครูผู้ดูแลเด็ก ตอบถูก ร้อยละ 100 ลองลงมา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตอบถูก ร้อยละ 90.00 และ ผู้ปกครองเด็ก ตอบถูกร้อยละ 85.00 การวัดความรู้ความเข้าใจผู้ปกครอง บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจในการตรวจพัฒนาการเด็ก แรกเกิด ถึง 5 ปี ด้านความรู้ความเข้าใจภาพรวม ก่อนอบรม ตอบถูก 8 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 หลังอบรม ตอบถูก 52 คน คิดเป็นร้อยละ 86.66 การวัดระดับการความรู้ความเข้าใจ ก่อนอบรมน้อยที่สุด ร้อยละ 40.00 ลองลงมา ก่อนอบรมระดับน้อย ร้อยละ 30.00 และ ก่อนอบรมระดับปานกลางร้อยละ 15.00 ระดับการความรู้ความเข้าใจหลังอบรมระดับมากที่สุด ร้อยละ 40.00 ลองลงมา หลังอบรมระดับมาก ร้อยละ 28.00 และหลังอบรม ระดับปานกลาง ร้อยละ 20.00 4.3. การดำเนินงานตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ตารางที่ 4 ผลการดำเนินงานตามตามมาตรฐานการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี การได้รับการตรวจพัฒนาการ ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี มกราคม ร้อยละ กุมภาพันธุ์ ร้อยละ มีนาคม ร้อยละ เมษายน ร้อยละ 1.ด้านการเคลื่อนไหว 8 28.57 12 42.85 14 50 15 53.57 2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา 8 28.57 9 32.14 12 42.85 15 53.57 3.ด้านการเข้าใจภาษา 8 28.57 11 39.28 12 42.85 15 53.57 4.ด้านการใช้ภาษา 5 17.85 10 35.71 14 50 15 53.57 5.ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม 6 21.42 10 35.71 14 50 15 53.57 ตารางที่ 5 ผลการดำเนินงาน ที่สงสัยล่าช้า และได้รับการติดตามได้สมวัยตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี สงสัยล่าช้า และได้รับการติดตามได้สมวัย ผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี มกราคม ร้อยละ กุมภาพันธุ์ ร้อยละ มีนาคม ร้อยละ เมษายน ร้อยละ 1.ด้านการเคลื่อนไหว 2 7.14 3 10.71 1 3.57 0 0.00 2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา 6 21.42 5 17.85 3 10.71 2 7.14 3.ด้านการเข้าใจภาษา 4 14.28 2 7.14 1 3.57 1 3.57 4.ด้านการใช้ภาษา 2 7.14 1 3.57 3 10.71 1 3.57 5.ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม 1 3.57 2 7.14 1 3.57 0 0.00 ตารางที่ 6 ผลการดำเนินงานสงสัยล่าช้าและได้รับการส่งต่อไปยังแม่ข่าย ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี สงสัยล่าช้าและได้รับการส่งต่อไปยังแม่ข่าย ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี มกราคม ร้อยละ กุมภาพันธุ์ ร้อยละ มีนาคม ร้อยละ เมษายน ร้อยละ 1.ด้านการเคลื่อนไหว 0 0.00 0 0.00 0 0.00 0 0.00 2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา 2 7.14 1 3.57 0 0.00 0 0.00 3.ด้านการเข้าใจภาษา 0 0.00 0 0.00 2 7.14 0 0.00 4.ด้านการใช้ภาษา 1 3.57 0 0.00 0 0.00 0 0.00 5.ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม 0 0.00 0 0.00 0 0.00 0 0.00 ตารางที่ 7 ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการการเข้าถึงตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี การประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุแรกเกิด ถึง 5 ปี การเข้าถึงการตรวจพัฒนาการของเด็ก การตรวจประเมิน พัฒนาการเด็ก (รพ.สต) ร้อยละ การตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก (บ้าน) ร้อยละ เด็กช่วงอายุ 9 (12) 8 66.66 4 33.33 เด็กช่วงอายุ 18 (14) 12 85.71 4 28.57 เด็กช่วงอายุ 30 (6) 4 66.66 2 33.33 เด็กช่วงอายุ 42 (10) 2 20.00 8 80.00 ร้อยละการควบคุมของกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100.00 4.3. การดำเนินงานตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี จากการศึกษา พบว่า การดำเนินงานตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการ เดือน มกราคม มากที่สุด อยู่ที่ด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาและด้านการเข้าใจภาษา อยู่ที่ร้อยละ 28.57 เดือน กุมภาพันธุ์ ด้านการเคลื่อนไหวมากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 42.85 เดือนมีนาคม ด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้ภาษา และด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม มากที่สุดอยู่ที่ ร้อยละ 50.00 เดือนเมษายน พัฒนาการทั้งหมด 5 ด้าน มีค่าเท่ากันอยู่ที่ ร้อยละ 53.57 สงสัยล่าช้า และได้รับการติดตามได้สมวัย พบว่า ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา มากที่สุดอยู่ที่ ร้อยละ 21.42 สงสัยล่าช้าและได้รับการส่งต่อไปยังแม่ข่าย พบว่า ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาอยู่ที่มากที่สุด ร้อยละ 7.14 ลองลงมาด้านการเข้าใจภาษาอยู่ที่ ร้อยละ 7.14 และด้านการใช้ภาษาอยู่ที่ร้อยละ 3.57 การประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุแรกเกิด ถึง 5 ปี พบว่า การเข้าถึงการตรวจพัฒนาการของเด็ก การตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก (รพ.สต) มากที่สุด เด็กช่วงอายุ 18 เดือน ร้อยละ 85.71 และ การเข้าถึงการตรวจพัฒนาการของเด็ก การตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก (บ้าน) มากที่สุด เด็กช่วงอายุ 42 เดือน คิดเป็นร้อยละ 80.00 การประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุแรกเกิด ถึง 5 ปี พบว่า ร้อยละการควบคุมของกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100.00 4.4. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เนื้อหา ระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย n=60 น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) การมีส่วนร่วมในการร่วมคิดและตัดสินใจ 1. ท่านมีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลปัญหาด้านพัฒนาการของบุตรหลาน หรือการกำหนดนโยบายการทำงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น การกำหนดประเด็นปัญหา, การร่วมทำพันธสัญญา 5.00 (3) 13.33 (8) 18.33 (11) 35.00 (21) 28.33 (17) การมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน 2. ท่านมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนการ/โครงการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น การกำหนดกิจกรรม, การกำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรม,การกำหนดวิธีการประเมินผล, 3.33 (2) 11.66 (7) 15.00 (9) 36.66 (22) 33.33 (20) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 3. ท่านมีส่วนร่วมในเข้ารับการอบรมความรู้ โดย จนท., การจัดกลุ่มเรียนรู้กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำเดือน, การสร้างลานเล่น, การเป็นวิทยากร,การบริจาคหรือสนับสนุนงบประมาณ เช่น บริจาคเงิน แรงกาย อาหาร ของเล่น 10.00 (6) 15.00 (9) 21.66 (13) 13.33 (8) 23.33 (14) 4. การมีส่วนร่วมในการประดิษฐ์ คิดค้น นวัตกรรม เพื่อเป็นสื่อในการประเมินการตรวจพัฒนาการเด็กได้ 6.66 (4) 18.33 (11) 11.66 (7) 21.66 (13) 25.00 (15) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล 5. ท่านมีส่วนร่วมในการประเมินผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมมีส่วนร่วมรับผิดชอบและตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เช่น การร่วมประเมินผลลัพธ์ของโครงการ, การให้ข้อมูลแก่ จนท. และร่วมลงติดตามการเข้าถึงเด็กล่าช้าได้ 11.66 (7) 5.00 (3) 10.00 (6) 25.00 (15) 31.66 (19) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 6. ท่านมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ที่เกิดจากโครงการ เช่น บุตรหลานได้รับการคัดกรองพัฒนาการ, การมีความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการบุตรหลาน, การใช้ลานเล่น 10.00 (6) 13.33 (8) 18.33 (11) 26.66 (16) 31.66 (19) 4.4. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย จากผลการศึกษา พบว่า การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน ท่านมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนการ/โครงการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น การกำหนดกิจกรรม, การกำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรม,การกำหนดวิธีการประเมินผล การมีส่วนร่วมระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.66 และ ลองลงมา การมีส่วนร่วมในการร่วมคิดและตัดสินใจ ท่านมีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลปัญหาด้านพัฒนาการของบุตรหลาน หรือการกำหนดนโยบายการทำงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น การกำหนดประเด็นปัญหา, การร่วมทำพันธสัญญา การมีส่วนร่วมระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 35.00 และการมีส่วนร่วมในการร่วมประเมินผลและการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 31.66 4.5. นวัตกรรม ตลับวิเศษ ผลึก ไอที อัศจรรย์ ตารางที่ 9 จำนวนและร้อยละ ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม เนื้อหา ระดับความพึงพอใจการจัดกิจกรรม n=60 น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) 1.การใช้สื่ออิเล็กทรอนิก/โทรศัพท์ ใช้ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยน เรียนรู้และสามมารถเก็บข้อมูลผ่านสื่อไอทีได้ 1.66 (1) 15.00 (9) 10.00 (6) 23.33 (14) 50.00 (30) .2. ช่วยกันรูปแบบกิจกรรมและลำดับขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการประสานงานและความร่วมมือในการเข้าถึงในการตรวจพัฒนาการเด็กได้ 3.33 (2) 5.00 (3) 8.33 (5) 28.33 (15) 58.00 (35) 3.ระยะเวลาที่ใช้ เอกสารและสื่อประกอบการจัดกิจกรรม 0.00 (0) 18.33 (11) 18.33 (11) 25.00 (17) 33.33 (20) 4.ความเหมาะสม ของนวัตกรรมและการจัดกิจกรรมของกิจกรรม 0.00 (0) 0.00 (0) 21.66 (13) 30.00 (18) 50.00 (30) 5.การใช้นวัตกรรม / และสื่อในการเรียนรู้ ที่เป็นนวัตกรรมที่สอถึงทักษะและกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ 0.00 (0) 5.00 (3) 30.00 (18) 33.33 (20) 31.66 (19) 6.คณะทำงานมีกิริยามารยาทเรียบร้อย และสามารถเข้าถึงกลุ่มภาคีเครือข่ายได้อย่างง่าย 5.00 (3) 10.00 (6) 25.00 (15) 31.66 (19) 28.33 (17) 7.การประสานงานและให้ความร่วมมือกับทีมเจ้าหน้าที่ และ ภาคีเครือข่าย 3.33 (2) 10.00 (2) 21.66 (1) 28.33 (5) 36.36 (50) 8. คณะทำงานมีความสามารถในการดูแลและแก้ปัญหาสามารถส่งต่อเด็ก สงสัยล่าช้าเข้ารับการตรวจพัฒนาการให้สมวัย 1.66 (1) 5.00 (3) 18.33 (11) 36.66 (22) 38.33 (23) 9.ความสะดวกสบายในการใช้ เข้าใจ ใช้ง่าย และแปลผลได้ง่าย และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างนวัตกรรม 0.00 (0) 10.00 (6) 28.33 (17) 28.33 (17) 33.33 (20) 10. การคุ้มค่าในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ สามารถนำมาใช้การประดิษฐ์ในการประเมินพัฒนาการได้ 1.66 (1) 8.33 (5) 25.00 (15) 35.00 (21) 30.00 (18) ตารางที่ 10 จำนวนและร้อยละ ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม เนื้อหา ระดับความพึงพอใจการจัดกิจกรรม n=60 น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) ร้อยละ (จำนวน) ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 11. สถานที่จัดกิจกรรม และ สื่ออุปกรณ์ในการประเมิน 1.66 (1) 8.33 (5) 26.67 (16) 33.33 (20) 30.00 (18) 12. ความสะดวกสบายในการใช้ เข้าใจ ใช้ง่าย และแปลผลได้ง่าย และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างนวัตกรรม 0.00 (0) 8.33 (5) 15.00 (9) 36.66 (22) 40.00 (24) 13. การส่งเสริม ใส่ใจ สานสายใย ในการเข้าถึงการประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี 0.00 (0) 15.00 (9) 21.66 (13) 30.00 (18) 23.33 (14) 14. ท่านได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมและการใช้นวัตกรรมอย่างคุ้มค่า 0.00 (0) 18.33 (11) 11.66 (7) 21.66 (13) 28.33 (17) 15. ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 0.00 (0) 5.00 (3) 12.00 (6) 36.67 (22) 41.67 (25) 16. โดยภาพรวมทั้งหมดท่านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ 0.00 (0) 0.00 (0) 28.33 (3) 25.00 (15) 70.00 (42) ตารางที่ 11 จำนวนและร้อยละ จำแนกตามลำดับของคะแนนของความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม จำนวน(n=60) ร้อยละ น้อย (< 30 คะแนน) 6 10.00 ปานกลาง (31-40 คะแนน) 16 26.66 มาก (41 คะแนนขึ้นไป) 38 63.33 คะแนนเฉลี่ย 48.2 คะแนนสูงสุด 80 คะแนน คะแนนต่ำสุด 30 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.2 คะแนน ตาราง 12 การติดตาม โดยทีมภาคีเครือข่ายการลี้ยงดูแลเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี วันที่/ เดือน การติดตามเด็กสงสัยล่าช้าและไม่ได้รับการตรวจพัฒนาการ (N=42) มกราคม (คน) ร้อยละ กุมภาพันธ์ (คน) ร้อยละ มีนาคม (คน) ร้อยละ เมษายน (คน) ร้อยละ 1 5 11.90 2 4.76 2 4.76 1 2.38 10 4 9.52 4 9.52 1 2.38 1 2.38 30 6 14.28 3 7.14 2 4.76 0 0.00 รวม 15 35.71 9 21.42 5 11.90 2 4.76 4.5. นวัตกรรม ตลับวิเศษ ผลึก ไอที อัศจรรย์ จากการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม การใช้นวัตกรรม ตลับวิเศษ ผลึก ไอที อัศจรรย์ อยู่ในระดับมากที่สุด เรื่อง โดยภาพรวมทั้งหมดท่านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.00 รองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ช่วยกันรูปแบบกิจกรรมและลำดับขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการประสานงานและความร่วมมือในการเข้าถึงในการตรวจพัฒนาการเด็กได้ คิดเป็นร้อยละ 58.00 และ การใช้สื่ออิเล็กทรอนิก/โทรศัพท์ ใช้ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยน เรียนรู้และสามมารถเก็บข้อมูลผ่านสื่อไอทีได้ และความเหมาะสม ของนวัตกรรมและการจัดกิจกรรมของกิจกรรม ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.00 ระดับคะแนนของความพึงพอใจในการการจัดกิจกรรม การใช้นวัตกรรม ตลับวิเศษ ผลึก ไอที พบว่า การจำแนกตามลำดับคะแนนของความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก คะแนนมากกว่า 41 คะแนนขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 63.33 ระดับความพึงพอใจมีคะแนนเฉลี่ย 48.2 คะแนนสูงสุด 80 คะแนน คะแนนต่ำสุด 30 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.2 คะแนน การติดตาม โดยทีมภาคีเครือข่ายการลี้ยงดูแลเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี การติดตามเด็กสงสัยล่าช้าและไม่ได้รับการตรวจพัฒนาการ โดยการเก็บข้อมูลทุก 1 ,10 และ 30 ของทุกเดือน พบว่า เดือนมกราคม มีเด็กที่สงสัยล่าช้าไม่ได้รับการตรวจพัฒนาการ  
ข้อเสนอแนะ : อภิปราย ผลการศึกษา : ผลการวิเคราะห์การมีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งจากทุกภาคส่วน การพัฒนาการศักยภาพบุคลากร การส่งเสริมให้ความช่วยเหลือ พ่อ แม่ ผู้ปกครองเด็ก จากภาคีเครือข่าย คือ อสม. ครูผู้ดูแลเด็ก บุคลากร ได้รูปแบบในการดำเนินงาน คือ 1) ออกติดตามกระตุ้นพัฒนาการเด็กร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง 2) ฝึกสาธิตการกระตุ้นพัฒนาการโดยใช้คู่มือ DSPM 3) ภาคีเครือข่ายร่วมกันออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 4) เขียนวิธีการกระตุ้นพัฒนาการเด็กเป็นขั้นตอนที่เข้าใจง่าย 5) จัดทำช่องทาง เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ของภาคีเครือข่าย 6) ประเมินผลประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ด้านผลการออกติดตามกระตุ้นพัฒนาการเด็ก พบว่า จำนวนเด็กปฐมวัยอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ที่คัดกรองพัฒนาการเด็กทั้งสิ้นจำนวน 131 ราย เป็นเพศชาย จำนวน 79 ราย ร้อยละ 59.31 เพศหญิง 52 ราย ร้อยละ 39.69 จำนวนที่ออกกระตุ้นในชุมชน 524 ครั้ง ผู้เลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.23 โดยเป็นแม่ เป็นยาย เป็นย่าของเด็ก สถานภาพสมรสของผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน ร้อยละ 89.10 ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวขยายขนาดใหญ่มีสมาชิกอยู่ด้วยกัน ประกอบด้วย พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา สถานการณ์ด้านพัฒนาการ พบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการยังสงสัยล่าช้าด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม คิดเป็นร้อยละ 1, 0, 1, 2, และร้อยละ 1 ตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ : ผู้ปกครอง บุคลากรสาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็ก แกนนำชุมชน ต้องร่วมมือกันส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ : สามารถนำไปพัฒนากระบวนการ การกระตุ้นพัฒนาการ โดย พ่อ แม่ ผู้ปกครองเด็กตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนกับวิถีชีวิตของครอบครัวของตนเอง จากผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า การพัฒนารูปแบบในการกระตุ้น และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบมีส่วนร่วมจะทำให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยได้ดีเร็วยิ่งขึ้น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย คือ 1) การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย ตามดัชนีส่วนสูง ดี สมส่วน ตามเกณฑ์อายุของเด็กปฐมวัย 2) ผู้เลี้ยงดูเด็ก ได้แก่ สถานภาพสมรส และลักษณะครอบครัว 3) การมีส่วนร่วมของชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข 4) การมีส่วนร่วมของครูผู้ดูแลเด็ก บทเรียนที่ได้รับ : จากการพัฒนากระบวนการการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่เร็วและเพิ่มจำนวนครั้ง ทำให้เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้ามีพัฒนาการสมวัยเร็วขึ้น เพิ่มขึ้น และพ่อ แม่ ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะด้วยคู่มือ DSPM ทุกราย ได้อย่างถูกต้อง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการบุตรได้ด้วยตนเอง ครูผู้ดูแลเด็ก แกนนำและอาสาสมัครสาธารณสุข สามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการสงสัยล่าช้าในศูนย์เด็กเล็กและในชุมชน ภาคีเครือข่ายในชุมชน มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและส่งต่อเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องรวดเร็ว ปัจจัยแห่งความสำเร็จ : ผู้ปกครอง บุคลากรสาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็ก แกนนำชุมชน ต้องร่วมกันส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ถึงวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กโดยใช้  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)