ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : “ชวนน้องเล่น พาน้องเล่า” กระตุ้นและสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อายุ 9,18,30,42 เดือน ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า โดยครอบครัวมีส่วนร่วม
ผู้แต่ง : สุพัตรา คำสุวรรณ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ย่อมส่งผลต่อคุณภาพบุคคลที่จะเป็นอนาคตของประเทศชาติ ดังนั้นการค้นพบเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการผิดปกติ ตั้งแต่เริ่ม และรีบให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม จะทำให้เด็กกลับมามีพัฒนาการที่สมวัย จากผลของการรณรงค์การคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านมาภายใต้ การดำเนินงาน “โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558”ได้เริ่มทดลองคัดกรองพัฒนาการเด็ก อายุ 42 เดือน ในปี พ.ศ. 2558 และในปี พ.ศ. 2559 ได้คัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย อายุ 9,18,30,42 เดือน ทั่วประเทศพร้อมกันนั้น พบเด็กไทยมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 76.7 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 23.3 เด็กที่พัฒนาการสงสัยล่าช้าได้ให้พ่อแม่ ผู้ปกครองกลับไปส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้าน 1 เดือน แล้วกลับมาให้เจ้าหน้าที่ประเมินพัฒนาการซ้ำพบว่า เด็กที่เคยมีพัฒนาการสงสัยล่าช้านั้นพ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถส่งเสริมให้มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 96.0 และในปี พ.ศ. 2560 ผลการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย พบเด็กไทยมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 78.4 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 21.6 (กรมอนามัย, 2561) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้คัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย อายุ 9,18,30,42 เดือน ปีพ.ศ. 2559 พบว่าเด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 87.88 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 12.12 ในปี พ.ศ. 2560 พบเด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 95.59 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 6.41 และในปี พ.ศ. 2561 ได้คัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย อายุ 9,18,30,42 เดือน พบว่าร้อยละของเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 92.93 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 7.07 (HDC สสจ.กาฬสินธุ์, 2561) จากผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก(DSPM) ช่วงอายุ 9,18,30,42 เดือน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น ในปีพ.ศ. 2559 พบเด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 88.64 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 11.36 ในปี พ.ศ. 2560 พบเด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 97.44 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 2.56 และในปี พ.ศ. 2561 พบเด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 87.32 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 12.68 (HDC สสจ.กาฬสินธุ์, 2561) จากสถานการณ์การตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยในคลินิกสุขภาพเด็กดี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น พบว่าสาเหตุที่เด็กในพื้นที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้านั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งเด็กอาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ ซึ่งผู้เลี้ยงดูขาดความรู้ในการเลี้ยงดูที่ถูกต้องตามพัฒนาการ และเป็นไปได้ที่เด็กเหล่านี้อาจขาดโอกาส ขาดการส่งเสริมพัฒนาการโดยผู้เลี้ยงดูที่ถูกต้อง ผู้เลี้ยงดูไม่เห็นความสำคัญ หรือไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ ทำให้เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า และเด็กขาดโอกาสในการพัฒนาการตามช่วงอายุที่กำหนด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น จึงได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก 0-5 ปี โดยพื้นที่จะทำการให้ความรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) และการสร้างเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก 0 – 5 ปี ด้วย “กิน กอด เล่น เล่า” แก่ผู้เลี้ยงดู ร่วมกับการใช้กระบวนการ “ชวนน้องเล่น พาน้องเล่า” เพื่อสร้างเสริมความรู้ผู้เลี้ยงดู ให้มีทักษะส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัย อีกทั้งยังนำกระบวนการไปใช้เพื่อพัฒนางานพัฒนาการเด็กในคลินิกสุขภาพเด็กดีได้อย่างยั่งยืนต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถตรวจประเมินและเฝ้าระวังพัฒนาการบุตรหลานของตนตามช่วงวัยได้อย่างถูกต้องตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) 2. เพื่อประเมินพัฒนาเด็กที่สงสัยล่าช้าเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินกิจกรรมแก้ปัญหา “ชวนน้องเล่น พาน้องเล่า”  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าในช่วงอายุ 9,18,30,42 เดือน 2. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ในช่วงอายุ 9,18,30,42 เดือน ในวันคลินิกเด็กดี 2. ให้สุขศึกษารายกลุ่มแก่ผู้ปกครองที่นำเด็กเข้ารับวัคซีนในวันคลินิกเด็กดี เพื่อให้เกิดความตระหนัก พร้อมระบุกลุ่มเป้าหมายเฝ้าระวังพัฒนาการตามวัยให้ผู้ปกครองทราบ 3.เก็บแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพเด็กและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยก่อนการอบรม 4. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี และฝึกทักษะการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการการโดย ใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) การสร้างเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก 0 – 5 ปี ด้วย “กิน กอด เล่น เล่า” 1 ครั้ง 5. จัดกิจกรรม “ชวนน้องเล่น พาน้องเล่า” กระตุ้นพัฒนาการเด็ก เพื่อสร้างเสริมความรู้ผู้เลี้ยงดูเด็ก จำนวน 1 ครั้ง 6. แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่มผู้ปกครอง ตามประเด็นที่กำหนด จำนวน 1 ครั้ง 7. ส่งเสริมการทำของเล่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ จำนวน 1 ครั้ง 8.ผู้ปกครองกลับไปส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้านก่อนการตรวจซ้ำ 1 เดือน 9.เก็บแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพเด็กและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยหลังการอบรม 10. เจ้าหน้าที่ประเมินพัฒนาการเด็กที่สงสัยล่าช้าซ้ำ 1 เดือน 11. เก็บแบบสอบถามความพึงพอใจของกิจกรรม 12. สรุปผลและถอดบทเรียนการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : ส่วนที่ 1 ข้อมูลลักษณะประชากรสังคม จากการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยอายุ 0-5ปี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น ในวันคลินิกเด็กดีช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 103 คน เป็น เพศชาย ร้อยละ 48.5 เพศหญิง ร้อยละ 51.5 เป็นเด็กที่อยู่ในช่วงอายุที่คัดกรอง อายุ 9,18,30,42 เดือน จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 47.6 การเลี้ยงดู โดยส่วนใหญ่เด็กอาศัยอยู่กับผู้เลี้ยงดูสูงอายุ (ปู่ ย่า ตา ยาย) ร้อยละ 66.99 อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ร้อยละ 33.01 ดังปรากฏในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของเด็กปฐมวัย 0-5ปี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น ในวันคลินิกเด็กดีช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 จำแนกตามลักษณะประชากรสังคม ลักษณะทางประชากรสังคม จำนวน(n=103) ร้อยละ เพศ ชาย 50 48.5 หญิง 53 51.5 อายุ เด็กปฐมวัย 0-5ปี 54 52.4 เด็กที่อยู่ในช่วงอายุที่ต้องคัดกรอง DSPM (อายุ 9,18,30,42เดือน) 49 47.6 การเลี้ยงดู (เด็กที่พัฒนาการสงสัยล่าช้า) อาศัยอยู่กับพ่อแม่ อาศัยอยู่กับผู้เลี้ยงดูสูงอายุ (ปู่ ย่า ตา ยาย) 3 10 23.08 76.92 ส่วนที่ 2 ข้อมูลการตรวจพัฒนาการเด็ก จากการตรวจพัฒนาการเด็กช่วงอายุ 9,18,30,42 เดือน ที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 49 คน พบว่า เด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 71.43 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 26.53 และพัฒนาการล่าช้า 2.04 ดังปรากฏในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 จำนวน ร้อยละของผลการประเมินพัฒนาการเด็กที่อายุอยู่ในช่วงคัดกรอง (อายุ 9,18,30,42เดือน) เดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ.2561 (n=49) พัฒนาการเด็ก (อายุ 9,18,30,42เดือน) จำนวน(n=49) ร้อยละ สมวัย 35 71.43 สงสัยล่าช้า ล่าช้า 13 1 26.53 2.04 จากผลตรวจพัฒนาการเด็กรายด้านของเด็กที่อายุอยู่ในช่วงคัดกรอง อายุ 9,18,30,42 ในช่วงเดือน เดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ.2561 จำนวน 49 คน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น พบว่า เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าในด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคมมากที่สุด รองลงมาคือด้านการเคลื่อนไหว และด้านการเข้าใจภาษา ร้อยละ 14.29 12.25 และ 10.21 ตามลำดับ ดังปรากฏในตารางที่ 3 ตารางที่ 3 จำนวน ร้อยละของผลการประเมินพัฒนาการเด็กรายด้านของเด็กที่อายุอยู่ในช่วงคัดกรอง (อายุ 9,18,30,42เดือน) เดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ.2561 (n=49) พัฒนาการ ด้านการเคลื่อนไหว (GM) ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา(FM) ด้านการเข้าใจภาษา (RL) ด้านการใช้ภาษา (EL) ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม (PS) จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ สมวัย 42 85.71 44 89.80 43 87.75 47 95.92 41 83.67 สงสัยล่าช้า 6 12.25 4 8.16 5 10.21 1 2.04 7 14.29 ล่าช้า 1 2.04 1 2.04 1 2.04 1 2.04 1 2.04 รวม 49 100 49 100 49 100 49 100 49 100 จากผลการตรวจพัฒนาการเด็กรายด้านของเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ที่ได้รับการประเมินพัฒนาการซ้ำ หลังส่งเสริมพัฒนาการ 1 เดือน จำนวน 14 คน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น พบว่า เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าที่ได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการมีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 92.86 และในรายที่ล่าช้าได้ทำการส่งต่อ รพ.สมเด็จ เพื่อรับการรักษาต่อไป จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.14 ดังปรากฏในตารางที่ 4 ตารางที่ 4 จำนวน ร้อยละของเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า ที่ได้รับการประเมินพัฒนาการเด็กรายด้านของการตรวจคัดกรองพัฒนาการซ้ำ หลังส่งเสริมพัฒนาการ 1 เดือน (n=14) พัฒนาการ ด้านการเคลื่อนไหว (GM) ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา(FM) ด้านการเข้าใจภาษา (RL) ด้านการใช้ภาษา (EL) ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม (PS) จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ สมวัย 13 92.86 13 92.86 13 92.86 13 92.86 13 92.86 สงสัยล่าช้า 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 ล่าช้า 1 7.14 1 07.14 1 7.14 1 7.14 1 7.14 ไม่สามารถทดสอบได้ 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 รวม 14 100 14 100 14 100 14 100 14 100 ส่วนที่ 3 ข้อมูลการดำเนินกิจกรรม จากผลคะแนนความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการดูแลสุขภาพเด็กตามช่วงวัยของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก พบว่า คะแนนก่อนการอบรมและหลังดำเนินกิจกรรม ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับปานกลาง ร้อยละ 53.58 รองลงมา อยู่ที่ระดับต่ำ ร้อยละ 38.46 และระดับสูง ร้อยละ 7.69 คะแนนหลังการอบรมและหลังดำเนินกิจกรรม ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับสูง ร้อยละ 61.54 รองลงมาคือระดับกลาง ร้อยละ 30.77 และระดับต่ำ ร้อยละ 7.69 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 5 ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละ ของความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเด็กและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย ตามคะแนนการวัดความรู้ (ก่อน-หลังอบรม) ระดับความรู้ความเข้าใจ (คะแนน) ก่อนอบรม หลังอบรม จำนวน(n=13) ร้อยละ จำนวน (n=13) ร้อยละ สูง (16-20) 1 7.69 8 61.54 กลาง (10-15) ต่ำ (0-9) 7 5 53.85 38.46 4 1 30.77 7.69 จากการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการโดยครอบครัวมีส่วนร่วมของเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการอยู่ในมากที่สุด มากกว่าร้อยละ 80 ในเรื่องฝึกทักษะการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการการโดย ใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) และ กิจกรรม “ชวนน้องเล่น พาน้องเล่า” กระตุ้นพัฒนาการเด็ก ร้อยละ 84.62 รองลงมา การตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กในวันคลินิกเด็กดี และการให้สุขศึกษารายกลุ่มแก่ผู้ปกครอง พร้อมระบุกลุ่มเป้าหมายเฝ้าระวังพัฒนาการตามวัยให้ผู้ปกครองทราบ ร้อยละ 76.93 การอบรมให้ความรู้การใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) และการสร้างเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก 0 – 5 ปี ด้วย “กิน กอด เล่น เล่า” ร้อยละ 69.24 ตามลำดับ ดังปรากฏในตารางที่ 6 ตารางที่ 6 จำนวน และร้อยละความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการโดยครอบครัวมีส่วนร่วมของเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด ร้อยละ (จำนวน) มาก ร้อยละ (จำนวน) ปานกลาง ร้อยละ (จำนวน) เล็กน้อย ร้อยละ (จำนวน) ไม่เลย ร้อยละ (จำนวน) 1. การตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กในวันคลินิกเด็กดี และการให้สุขศึกษารายกลุ่มแก่ผู้ปกครอง พร้อมระบุกลุ่มเป้าหมายเฝ้าระวังพัฒนาการตามวัยให้ผู้ปกครองทราบ 76.93 (10) 15.38 (2) 7.69 (1) 0 (0) 0 (0) 2. การอบรมให้ความรู้การใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) และการสร้างเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก 0 – 5 ปี ด้วย “กิน กอด เล่น เล่า” 69.24 (9) 15.38 (2) 15.38 (2) 0 (0) 0 (0) 3. ฝึกทักษะการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการการโดย ใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) 84.62 (11) 15.38 (2) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 4. กิจกรรม “ชวนน้องเล่น พาน้องเล่า” กระตุ้นพัฒนาการเด็ก 84.62 (11) 15.38 (2) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 5. การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่มผู้ปกครอง ตามประเด็นที่กำหนด 61.54 (8) 23.08 (3) 15.38 (2) 0 (0) 0 (0) 6. การทำของเล่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ 53.85 (7) 38.46 (5) 7.69 (1) 0 (0) 0 (0)  
ข้อเสนอแนะ : สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยช่วงอายุ 9,18,30,42 เดือน ที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ คัดกรองช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 49 คน พบว่า เด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 71.43 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 26.53 และพัฒนาการล่าช้า 2.04 ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์ของแผนสาธารณสุขที่ว่า ร้อยละ 80 เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย และจากผลตรวจพัฒนาการเด็กรายด้าน พบว่า เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าในด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเคลื่อนไหว และด้านการเข้าใจภาษา ร้อยละ 14.29 12.25 และ 10.21 ตามลำดับ ดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการค้นหาปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้พัฒนาการสงสัยล่าช้า ซึ่งพบว่าสาเหตุที่เด็กในพื้นที่รับผิดชอบมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยทางสังคม และภาวะเศรษฐกิจ จึงทำให้ผู้ปกครองทิ้งเด็กไว้กับผู้สูงอายุ แล้วไปทำงานในต่างถิ่น (ประมาณ 70% ของเด็กที่สงสัยล่าช้า) เด็กถูกเลี้ยงโดยผู้สูงอายุ เด็กจึงขาดการดูแลเอาใจใส่ ย่อมส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆในช่วงปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ เยาวรัตน์ รัตน์นันต์ (2558) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 8 ผลการวิจัยพบว่า อายุของผู้ดูแลเด็กมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p=(0.031) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากผู้ดูแลเด็กที่อายู 40-59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อพัฒนาการสงสัยล่าช้ามากกว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากผู้ดูแลเด็กที่อายุ 20-39 ปี 1.4 เท่า จากผลการตรวจพัฒนาการเด็กรายด้านของเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ที่ได้รับการประเมินพัฒนาการซ้ำ หลังส่งเสริมพัฒนาการ 1 เดือน จำนวน 14 คน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น พบว่า หลังจากเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น โดยการให้ความรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) และการสร้างเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก 0 – 5 ปี ด้วย “กิน กอด เล่น เล่า” แก่ผู้เลี้ยงดู ร่วมกับการใช้กระบวนการ “ชวนน้องเล่น พาน้องเล่า” และกลับมาประเมินพัฒนาการซ้ำอีกครั้งใน ๑ เดือน พบเด็กกลับมามีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 92.86 และในรายที่ล่าช้าได้ทำการส่งต่อ รพ.สมเด็จ เพื่อรับการรักษาต่อ จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.14 ซึ่งหากเรามีการสังเกตพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มเสี่ยงตามสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการจะช่วยให้ค้นหาเด็กเหล่านี้ได้เร็วขึ้น การกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก สามารถให้การช่วยเหลือได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นตามศักยภาพ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ สุมาลี จรุงจิตตานุสนธิ์ (2560) ศึกษาการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้าในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กที่อาศัยอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ.2560 จำนวน 16,054 คน พบเด็กพัฒนาการล่าช้า 1,424 คน (ร้อยละ 8.9) พบว่า หลังจากได้จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาผู้ดูแลเด็กในการใช้คู่มือ DSPM และพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับการติดตาม เพื่อให้เข้าถึงการคัดกรองซ้ำ กระตุ้น และส่งเสริมจนทำให้เด็กกลับมามีพัฒนาการปกติ 1,415 คน (ร้อยละ 99.5) และคงยังเหลือเด็กพัฒนาการล่าช้า 7 คน (ร้อยละ 0.5) ซึ่งดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ดำเนินการตามรูปแบบกระทรวงสาธารณสุข และจากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เลี้ยงดูที่เข้าร่วมกิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมเด็กโดยครอบครัวมีส่วนร่วมของเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มากกว่าร้อยละ 80 ในเรื่องการฝึกทักษะการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการการโดย ใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) และ กิจกรรม “ชวนน้องเล่น พาน้องเล่า” กระตุ้นพัฒนาการเด็ก ร้อยละ 84.62 รองลงมา คือการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กในวันคลินิกเด็กดี และการให้สุขศึกษารายกลุ่มแก่ผู้ปกครอง พร้อมระบุกลุ่มเป้าหมายเฝ้าระวังพัฒนาการตามวัยให้ผู้ปกครองทราบ ร้อยละ 76.93 และในเรื่องการอบรมให้ความรู้การใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) และการสร้างเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก 0 – 5 ปี ด้วย “กิน กอด เล่น เล่า” ร้อยละ 69.24 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ เยาวรัตน์ รัตน์นันต์ (2558) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 8 ผลการวิจัยพบว่า การเล่นกับเด็กมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value = 0.019) โดยเด็กที่ครอบครัวไม่มีการเล่นกับเด็กจะมีพัฒนาการสงสัยล่าช้ามากที่สุด ร้อยละ 38.1 และเด็กที่ครอบครัวมีการเล่นกับเด็กอย่างมีคุณภาพมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าน้อยที่สุด ร้อยละ 29.2 เด็กที่ครอบครัวไม่มีการเล่นกับเด็กและเล่นกับเด็กอย่างไม่มีคุณภาพมีความเสี่ยงต่อพัฒนาการสงสัยล่าช้ามากกว่าเด็กที่ครอบครัวมีการเล่นกับเด็กอย่างมีคุณภาพ 1.5 เท่า ข้อเสนอแนะจากการวิจัย กิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่จัดขึ้น หากได้รับความร่วมมือร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าจะได้รับการกระตุ้นทั้งที่บ้านและที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนั้นในการดำเนินการครั้งต่อไป ควรมีการพัฒนากิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ดีขึ้นต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)