ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก(XDR-TB) อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ทัศพร โยธานันท์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งเป็น 1 ใน 10 สาเหตุของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก จากสถานการณ์วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR TB) ในประเทศไทย ปี 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 13 ราย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560 พบผู้ป่วยจำนวน 2 ราย อำเภอสามชัย ปี 2560 พบผู้ป่วยจำนวน 1 ราย การรักษาผู้ป่วยมีค่าใช้จ่ายสูง การติดต่อสูง แต่อัตราการรักษาหายต่ำ จึงนำมาสู่การวิจัยในครั้งนี้  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. คณะกรรมการ พชอ. 2. ผู้นำชุมชน 3. อสม. 4. อบต. 5. รพ.สต.บ้านจาน 6. รพ.สามชัย 7. รพ.กาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : แบบบันทึกสุขภาพผู้ป่วย แบบบันทึกติดตาม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : สำรวจวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยพร้อมทั้งประชุมชี้แจง ให้ความรู้ กำหนดบทบาทหน้าที่ ดำเนินงานและคืนข้อมูลแก่ภาคีเครือข่ายด้วยกลไก พชอ. คือ 1. คณะกรรมการ พชอ. อำนวยการ กำหนดนโยบายและประสานความร่วมมือ 2. ผู้นำชุมชน ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ 3. อสม. ติดตามเยี่ยมบ้าน ให้กำลังใจผู้ป่วย ร่วมกำกับการกินยา(DOT) 4. อบต. สนับสนุนการเดินทางของญาติผู้สัมผัสโรคไปตรวจสุขภาพที่ รพ. 5. รพ.สต.บ้านจาน ประเมินอาการของผู้ป่วย กำกับการกินยา(DOT) ฉีดยาที่บ้าน รับยาวัณโรคทุกสัปดาห์จากรพ.แม่ข่าย และติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง 6. รพ.สามชัย ดูแลรักษาส่งต่อพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง โดยใช้รถพยาบาลรับส่ง เก็บรักษายาวัณโรคจากผู้ป่วยให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม และการแก้ปัญหารายกรณี คือ หลังจากฉีดยา ผู้ป่วยมีอาการปวดขาและขาอ่อนแรง ฝ่ายกายภาพบำบัด รพ.สามชัย ได้เข้ามาทำกายภาพบำบัด/ฝึกการเดินให้ผู้ป่วยที่บ้าน และผู้นำชุมชน อสม. ทำราวไม้ให้ผู้ป่วยฝึกเดิน เมื่อผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า ได้รับการประเมินวางแผนดูแลสุขภาพจิตจากพยาบาลจิตเวช 7. รพ.กาฬสินธุ์ ประสานรับยาจากสำนักวัณโรค จ่ายยาวัณโรคแก่ผู้ป่วย นัดผู้ป่วยพบแพทย์ พร้อมทั้งให้คำแนะนำ  
     
ผลการศึกษา : หลังจากดำเนินงานตามกิจกรรม และคืนข้อมูลแก่ภาคีเครือข่าย ปัจจุบันผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นตามลำดับ คือ ได้รับการฉีดยาครบตามกำหนด กำกับการกินยา(DOT)ทุกครั้ง อาการปวดขาและขาอ่อนแรงดีขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น ผู้ป่วยมีกำลังใจในการรักษา ให้ความร่วมมือ และตอบสนองการดูแลรักษาเป็นอย่างดี การประสานเรื่องขอรับเงินผู้ยากไร้ อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก พมจ.  
ข้อเสนอแนะ : 1. การดำเนินการในรูปแบบของทีมสหวิชาชีพ ภายใต้กลไก พชอ. มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากที่มีความซับซ้อนของปัญหามาก โดยจัดการปัญหาให้ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และข้อจำกัดบางประการที่สำคัญจำเป็นของผู้ป่วย นอกเหนือจากการให้การกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยงอย่างเข้มข้นโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม. 2. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชนเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ โดยให้ชุมชนมองเห็นปัญหาและข้ออันตราย หรือความเสี่ยงที่จะเกิดกับคนในชุมชนหากไม่มีการจัดการที่ถูกต้อง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)