ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลของการใช้ย่านางแดงลดปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกร ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สรินยา มาลาเหลือง ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ ส่วนใหญ่แล้วอวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนเกินขีดความสามารถที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมาเช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อโรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ตำบลหนองช้าง เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมเป็นหลักโดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำไร่อ้อย ทำไร่มันสำปะหลัง ทำสวนยางพารา รวมถึงการปลูกพืชไร่และพืชผักต่างๆผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่ จากข้อมูลดังกล่าว คณะผู้ศึกษาจึงทำการศึกษาประสิทธิผลของน้ำใบย่านางแดงกับการลดปริมาณสารเคมีในกระแสเลือดให้กับเกษตรกรในชุมชนต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ย่านางแดงลดปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกร ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงการใช้สารเคมีในพื้นที่ ตำบลหนองช้าง จำนวน 204 คน  
เครื่องมือ : แบบบันทึก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : -ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อนัดหมายเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในการเข้ารับการอบรมและตรวจสารเคมีในเลือด อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมี -เรียนรู้ภัยจากสารเคมี -พฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง - เรียนรู้สมุนไพรย่านางแดงที่ใช้ในการลดปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด -ชี้แจงแนวทางและวิธีการ ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด -ดำเนินการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดพร้อมแจ้งผลการตรวจเลือด -นัดหมายผู้ที่มีผลการตรวจในระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยตรวจซ้ำอีก 2 สัปดาห์ โดยให้ดื่มน้ำย่านางแดงต้มทุกวันซึ่งมี อสม.ออกติดตามทุกเช้า -ดำเนินการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดซ้ำพร้อมสรุปเปรียบเทียบผลก่อนและหลังดื่มน้ำย่านางแดงต้ม  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเจาะเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงครั้งแรกมีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด มากสุดระดับมีความเสี่ยง ๘๖ คน ร้อยละ ๔๒.๑๖ รองลงมาเป็นระดับไม่ปลอดภัย ๖๘ คน ร้อยละ ๓๓.๓๓ ระดับปลอดภัย ๓๖ คน ร้อยละ ๑๗.๖๕ และระดับปกติ ๑๔ คน ร้อยละ ๖.๘๖ ตามลำดับ จากนั้นให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในระดับมีความเสี่ยง ๘๖ คน และระดับไม่ปลอดภัย ๖๘ คน รวมทั้งสิ้น ๑๕๔ คน ดื่มน้ำใบย่านางแดงติดต่อกัน ๒ สัปดาห์ ร่วมกับจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีและประเมินประสิทธิภาพของน้ำใบย่านางแดงด้วยการเจาะเลือดเกษตรกรซ้ำเป็นครั้งที่ ๒ พบว่า เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดลดลงจากระดับไม่ปลอดภัย เป็นระดับมีความเสี่ยง จากระดับมีความเสี่ยงเป็นระดับปลอดภัย และจากระดับปลอดภัยเป็นระดับปกติเพิ่มมากขึ้น  
ข้อเสนอแนะ : ย่านางแดงมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นพืชสมันไพรที่หาง่ายและมีทั่วไปในชุมชน ดังนั้นควรแนะนำให้เกษตรกรดื่มน้ำใบย่านางแดง ควบคู่ไปกับการอบรมให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีด้วยเพื่อลดปริมาณการตกค้างในกระแสเลือดต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ