ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ธรรมนูญสุขภาพตำบลหนองแวง
ผู้แต่ง : กมลรัตน์ ชื่นช้อย ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : สุขภาวะ หมายถึง การดำรงชีพของบุคคลอย่างมีสุข ทั้งกาย และ จิต อาจกล่าวได้ว่าไม่ใช่เพียงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงการมีชีวิตที่มีร่างกายแข็งแรง จิตแข็งแรง มีความสุขอยู่ในสังคมโลกในปัจจุบัน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางอย่างที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อสุขภาวะของคนไทยเกิดเป็นปัญหาด้านสุขภาพ มลภาวะที่เกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอาหาร วิถีชีวิต ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาทั้งสิ้น ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เช่น เกิดโรคเอดส์ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ เกิดอุบัติภัยสูงขึ้น เป็นต้น มีโรคหลายโรคที่อาจป้องกันหรือสามารถลดอัตราเสี่ยงลงได้ ซึ่งต้องการความร่วมมือร่วมใจจากหลายๆฝ่ายช่วยการสร้างเสริมสุขภาพให้กับสังคม ดังคำที่ว่า “สุขภาพดีไม่มีขายถ้าอยากได้ต้องทำเอง” ธรรมนูญสุขภาพ หมายถึง กฎกติกา ข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชนโดยชุมชนกำหนดขึ้นเอง ประเมินกันเองในชุมชน แล้วนำมาใช้เพื่อให้เกิดความสุขของคนในชุมชนไม่ใช่แค่เรื่องการเจ็บป่วยทางร่างกาย แต่หมายรวมถึงความสุขในทุกๆด้านทั้งร่างกาย จิตใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีแนวนโยบายในการที่จะให้ทุกพื้นที่มีการกำหนดกรอบ ทิศทาง กฎ กติกา ร่วมกันในการดำเนินงานขับเคลื่อนสุขภาวะสู่การจัดทำธรรมนูญสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยจังหวัดกาฬสินธุ์ได้กำหนดพื้นที่นำร่องในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพตำบล จำนวน 10 แห่ง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงได้รับคัดเลือกเป็นพื้นที่นำร่อง ให้มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำหนองแวงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาด้านสุขภาพของคนในตำบลทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และทุกภาคส่วนได้เข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ มีการช่วยเหลือกัน เกื้อกูลกัน เป็นความสุขที่เกิดจากการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน ร่วมกันสร้างสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน เพื่อมุ่งสู่ตำบลสุขภาวะ จากความเข้าใจ ความสามัคคี ด้วยวิถีประชาธิปไตย จรรโลงเอกลักษณ์มรดกทางวัฒนธรรม รักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 4.1 เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ร่วมกันสร้างสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน เพื่อมุ่งสู่ตำบลสุขภาวะ -2- 4.2 เพื่อใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบลฯ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพชุมชน 4.3 เพื่อให้เกิดกฎ กติกา มาตรการทางสังคมที่มีการบังคับใช้อย่างชัดเจนหลายประเด็น  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทุกคนในตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 6.1 ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำประเด็นต่างๆกลับมาถอดบทเรียนให้ตัวแทนจากหน่วยงาน กลุ่ม องค์การต่างๆในชุมชนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันเรียนรู้ ปรับแนวคิดในเรื่องธรรมนูญสุขภาพให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน 6.2 แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญชุมชน กำหนดบาทบาทและแกนนำในแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน 6.3 ประชุมภาคีเครือข่าย (ผู้นำชุมชน ผอ.รร. อสม. รพ.สต. ส.อบต. ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ฯลฯ) ถอดบทเรียน ปรับแนวคิด สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมนูญสุขภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมลงพื้นที่ปรับความเข้าใจแก่ชุมชน 6.4 นำแบบสอบถามที่ผู้นำหมู่บ้านรวบรวมมาตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้องของแบบสอบถาม จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา 6.5 คณะทำงานขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์จากปัญหา 6.6 จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพฯ จากการนำปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นแนวทางในการจัดทำร่าง 6.7 จัดเวทีประชาคม ประชาพิจารณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อรับร่างธรรมนูญสุขภาพฯ 6.8 แก้ไขร่างธรรมนูญสุขภาพฯ ให้เป็นฉบับสมบูรณ์ 6.9 ประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบลฯ  
     
ผลการศึกษา : ผลการดำเนินงาน เกิดเป็นธรรมนูญสุขภาพตำบลหนองแวง โดยแบ่งเป็น 4 หมวด ดังนี้ หมวดที่1 ด้านพฤติกรรม 9.1 คนตำบลหนองแวงจะร่วมกันรณรงค์ใช้ตะกร้าหรือถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก 9.2 คนตำบลหนองแวงจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับข้อตกลงในการจัดการขยะผ่านหอกระจายข่าวของแต่ละหมู่บ้านเพื่อสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วมกับคนในตำบล หมวดที่2 ด้านสิ่งแวดล้อม 9.3 คนตำบลหนองแวงจะร่วมกันจัดพื้นที่สำหรับทิ้งขยะให้ถูกต้อง ปลอดภัยกับชุมชน 9.4 คนตำบลหนองแวงจะร่วมกันปรุงปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความสะอาดทั้งหลังบ้าน หน้าบ้าน ให้น่าอยู่และน่ามอง 9.5 คนตำบลหนองแวงจะร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงร่วมกันสอดส่องดูแลไม่ให้มีการทิ้งขยะในบริเวณชุมชนอันจะนำไปสู่ทำให้ชุมชนไม่สะอาด เกิดขยะในชุมชน หมวดที่3 ด้านระบบกลไก 9.6 คนตำบลหนองแวงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งกองทุนขยะตำบลเพื่อเป็นหน่วยในการประสานงานกับผู้ประกอบการรับซื้อขยะ - (กองทุนจิตอาสาท้องถิ่นรักษ์โลก หมู่ 1 , 9 , 16) 9.7 คนตำบลหนองแวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำกับ ติดตาม มาตรการควบคุมการจัดการขยะให้เกิดผลรูปธรรม หากมีการฝ่าฝืนให้มีการตักเตือน ให้คำแนะนำ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง -4- 9.8 คนตำบลหนองแวงจะร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่นพัฒนาให้มีกลไก คณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนด้านการจัดการขยะในตำบลอย่างต่อเนื่อง หมวดที่4 ด้านศักยภาพ 9.9. คนตำบลหนองแวงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นจัดให้ความรู้กับคนในตำบลเกี่ยวกับเรื่องการคัดแยกขยะแก่ครัวเรือน เพื่อเป็นการสร้างวินัย และลดการผลิตขยะตั้งแต่ในระดับครัวเรือน 9.10 คนตำบลหนองแวงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นยกระดับครัวเรือนที่มีการจัดการขยะที่ดีให้เป็นครัวเรือนต้นแบบ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ครัวเรือนอื่น และขยายความรู้ให้กับคนในตำบล 9.11 คนตำบลหนองแวงจะร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้ใหม่ๆ มาพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาขยะให้เกิดความยั่งยืนต่อไป  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)