ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรปลูกยาสูบ ในการป้องกันพิษจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผู้แต่ง : เจนณรงค์ ละอองศรี, ฐิตาภา การััตน์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ปลูกยาสูบ มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการดูแลต้นยาสูบเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเกษตรกรปลูกยาสูบมีการป้องกันอันตรายจากพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของเกษตรกรเอง คนในชุมชน สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงผู้ที่สูบบุหรี่ซึ่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพ จึงไม่ควรมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในการร่วมกันทำให้ผู้ที่ประสบปัญหาเข้าใจในปัญหา และร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกยาสูบ และการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรปลูกยาสูบในการป้องกันพิษจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช  
กลุ่มเป้าหมาย : ทำการศึกษาในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยประกอบด้วย เกษตรกรปลูกยาสูบ จำนวน 24 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 16 คน โดยทำการคัดเลือกผู้ร่วมดำเนินการวิจัยแบบเจาะจง  
เครื่องมือ : เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปโดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างสำหรับการสนทนากลุ่ม การประชุม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ข้อมูลทั่วไป ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา รายได้ โรคประจำตัว ประสบการณ์ในการปลูกยาสูบ ระยะเวลาที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ วิธีใช้ ปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความถี่ในการใช้ และอาการเจ็บป่วยทางสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2. การสนทนากลุ่ม โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เป็นแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วยเกษตรกรปลูกยาสูบ 3 กลุ่ม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน รวม 40 คน ผู้วิจัยนัดการสนทนากลุ่มวันละ 1 กลุ่ม ใช้เวลาในการสนทนาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยเริ่มจากการสร้างสัมพันธภาพกลุ่ม เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและผ่อนคลาย จากนั้นจึงเริ่มต้นด้วยคำถามที่ไม่ซับซ้อน และเจาะลึกในประเด็นสถานการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในชุมชน โดยผู้วิจัยเป็นผู้อำนวยความสะดวก สะท้อนคิดในประเด็นที่น่าสนใจ และคอยกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม โดยเก็บข้อมูลจนกระทั่งข้อมูลอิ่มตัว จากนั้นจึงจัดการประชุมกลุ่ม 3 ครั้ง ผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วยกลุ่มเกษตรกรปลูกยาสูบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยครั้งที่ 1 และ 2 ใช้เวลาในการประชุมกลุ่มประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที เป็นการคืนข้อมูลในการศึกษาสถานการณ์ที่เป็นจริงจากการสนทนากลุ่ม เปิดโอกาสให้เพิ่มเติมข้อมูลในส่วนที่ขาด และยืนยันข้อมูล เก็บข้อมูลจนกระทั่งข้อมูลอิ่มตัว จากนั้นจึงประชุมกลุ่มเป็นครั้งที่ 3 ใช้เวลาในการประชุมกลุ่มประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และเสนอแนะความคิดเห็นถึงแนวทางหรือวิธีการในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรปลูกยาสูบ ในการป้องพิษจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเก็บข้อมูลจนกระทั่งข้อมูลอิ่มตัว 3. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เมื่อมีกิจกรรมที่สำคัญในแปลงยาสูบ เกษตรกรปลูกยาสูบ จะแจ้งให้ผู้วิจัยทราบล่วงหน้า 1 – 2 วัน เป็นการอนุญาตให้ผู้วิจัยเข้าไปสังเกตการณ์และร่วมทำกิจกรรมบางส่วน เช่น การถอนกล้ายาสูบ การปลูกต้นยาสูบ การผสมสารเคมี การสตาร์ทเครื่องฉีดพ่นสารเคมี ช่วยจัดเก็บอุปกรณ์เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นผู้วิจัยได้กลับมาทบทวนและจดบันทึก เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาต่อไป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง