ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลการกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพรในผู้สูงอายุโรคเข่าเสื่อมที่มีอาการปวดเข่า โดยผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ดุษฎี มงคล, ขวัญชัย ศรีทารัตน์, สุกฤตา ศรีณะพรม, ณัฐณิชา จงเจริญ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : อาการปวดเข่าทำให้ผู้สูงอายุมีขีดจำกัดในการประกอบกิจวัตรประจำวันเป็นอย่างมากจึงทำให้ผู้สูงอายุมีความวิตกกังวลและมักกลัวว่าจะเดินไม่ได้ การกดจุดบำบัดพร้อมการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดเข่าโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนจึงเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการลดระดับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าเนื่องจากภาวะเข่าเสื่อม ที่รับการรักษาด้วยการกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพร กับการกดจุดบำบัด  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 100 คน ที่มีอาการปวดเข่า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 50 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 50 คน ทำการศึกษาในพื้นที่ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2561  
เครื่องมือ : วัดระดับความเจ็บปวดด้วยแบบสัมภาษณ์แบบคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมทางคลินิก 5 ข้อ และแบบวัดระดับความเจ็บปวด (Pain Scale) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดย Independent t-test  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเปรียบเทียบการลดระดับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บปวดเข่าเนื่องจากภาวะเข่าเสื่อม ที่รักษาด้วยการกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพรและการกดจุดบำบัด ทำการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ทำการนวดทั้งหมด 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2 วัน ศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 100 คน ที่มีอาการปวดเข่า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 50 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 50 คน วัดระดับความเจ็บปวดด้วยแบบสัมภาษณ์แบบคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมทางคลินิก 5 ข้อ และแบบวัดระดับความเจ็บปวด (Pain Scale) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยIndependent t-testทำการศึกษาในพื้นที่ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2561  
     
ผลการศึกษา : จากการศึกษาว่ากลุ่มทดลองทำการกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพรวัดผลก่อนกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพร พบว่าระดับความเจ็บปวดเริ่มต้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.25 มีค่า SD.±1.74 และเมื่อครั้งที่ 5 พบว่าค่าระดับความเจ็บปวดลดลงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.53 มีค่า SD.±1.03 ส่วนกลุ่มกลุ่มเปรียบเทียบทำการกดจุดบำบัดเพียงอย่างเดียวเริ่มต้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.60 มีค่า SD.±1.80 และเมื่อครั้งที่ 5 พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.34 มีค่า SD.±2.39 เมื่อเปรียบเทียบ ระดับความปวด ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังการทดลอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยระดับความปวด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความปวด น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 1.11 (P value < 0.001)  
ข้อเสนอแนะ : การกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพร สามารถลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุได้ดีมากขึ้นและเร็วขึ้น กว่าการกดจุดบำบัดเพียงอย่างเดียว  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ