ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การประเมินผลการให้บริการทันตกรรม นวัตกรรม “ผจญภัยในสวนสนุกแบบ Fun Fun” ในเด็กอายุ 1-12 ปี โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : เพชรรัตน์ พัฒนชัย, นางเพ็ญศิริ เศษจันทร์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : เด็กทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนเป็นต้นไปเป็นวัยที่เริ่มมีฟันน้ำนมเกิดขึ้นในช่องปาก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีตลอดไปควรได้รับการดูแลที่ดีและถูกต้องตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น เช่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเช็ดทำความสะอาดช่องปาก การทาหรือเคลือบฟลูออไรด์ การเคลือบร่องฟัน การอุดฟัน การรักษา รากฟัน รวมถึงการถอนฟัน เป็นต้น ซึ่งเด็กวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆของร่างกาย เช่น กลัวคนแปลกหน้า กลัวสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะกลัวเจ็บ กลัวห้องฟัน กลัวการทำฟัน จึงเป็นปัญหาในการทำฟันในเด็กเล็กอายุ 1-12 ปี ดังนั้น จึงได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยให้การทำหัตถการ ในงานทันตกรรมขึ้น  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กคลายความกลัว คลายวิตกกังวล มีความสนุกสนานและให้ความร่วมมือในการทำฟัน คุ้นชินกับการทำฟัน ลดระยะเวลาในการทำฟัน และที่สำคัญลดความเสี่ยงทางคลินิกทันตกรรมในเด็ก  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ระยะเวลา มกราคม 2561-เมษายน 2561  
เครื่องมือ : แบบสังเกต และแบบสำรวจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดแต่งคลินิกทันตกรรม โดยจัดหาสื่อการสอนรูปสัตว์พี่เด็กชื่นชอบติดหน้าคลินิกทันตกรรมให้มีรูปสัตว์แตกต่างกันไปแต่ละห้อง 2. ให้เด็กและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเดินเลือกและตัดสินใจว่าชอบสัตว์ตัวไหน แล้วเข้ารับบริการทันตกรรมในห้องนั้น 3. เมื่อเด็กขึ้นเตียงทำฟันแล้วจัดหาโปสเตอร์ให้ดู เล่าเรื่องความพิเศษ ความสามารถของสัตว์ให้ฟังอย่างสนุกสนาน เช่นเรื่องจระเข้หรือฮิปโปโปเตมัส ตัวไหนอ้าปากได้โตกว่ากัน ให้เด็กมีส่วนร่วมโดยการถาม-ตอบเรื่องสัตว์นั้นๆเชิญชวนให้เด็กได้อ้าปากให้โตกว่าสัตว์ เพื่อคลายความกลัว คลายวิตกกังวล และยินยอมให้ความร่วมมือรับบริการทางทันตกรรมอย่างเต็มใจ  
     
ผลการศึกษา : 1. เด็กที่มาทำฟันในคลินิกทันตกรรม คลายความกลัว คลายความวิตกกังวัล 2. เด็กที่มาทำฟันในคลินิกทันตกรรม ยินยอมให้ความร่วมมือรับบริการทางทันตกรรมอย่างเต็มใจ 3. ลดระยะเวลาการอ้าปากทำฟันลงได้ 4. ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการไม่ให้ความร่วมมือรับบริการทางคลินิกทันตกรรม เช่น ลดการบาดเจ็บจากการจับหรือมัดเด็กที่ไม่ยินยอมให้การรักษา การทำฟันผิดซี่ การกลืนหรือเนื้อเยื่อในช่องปากสัมผัสวัสดุทางทันตกรรมจากการขัดขืนการทำฟัน เป็นต้น 5. เด็กมีประสบการณ์ในการทำฟันที่ดีตั้งแต่เด็ก อันจะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมต่อการทำฟันที่ดีตลอดไป  
ข้อเสนอแนะ : - จากตัวเด็ก โดยการสังเกต พบว่า เด็กทุกคน ยินยอมให้การรักษา ทำให้การรักษาทางทันตกรรมเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ - จากผู้ปกครองโดยการสอบถาม พบว่า ผู้ปกครองทุกคน มีความพึงพอใจในการเข้ารับบริการทาง ทันตกรรมของเด็กและมีความเชื่อมั่นในการให้บริการของทันตแพทย์ ผู้ปกครองอยากพาเด็กมารับบริการทันต กรรมอีก ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีตลอดไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)