|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คปสอ.คำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
นาถนรินทร์ ทรัพย์กุล, นายวิชัย ผิวเงิน |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ คปสอ.คำม่วง ในอดีตพบว่า ไม่มีระบบฐานข้อมูลกลางผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พื้นที่เครือข่ายไม่ทราบอุบัติการณ์ อัตราป่วยตาย ผลการดูแลรักษาหรือการควบคุมโรค ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยแต่ละราย ระบบการส่งต่อข้อมูลการรักษาผู้ป่วยระหว่างเครือข่ายล่าช้าและคลาดเคลื่อน ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ส่งต่อรับยาต่อเนื่องที่ รพ.สต.จากการเก็บข้อมูลพบว่า มีผู้ป่วยได้รับยาไม่ถูกต้องตามแผนการรักษา เช่น ได้รับยาปริมาณไม่ถูกต้อง ได้รับยาไม่ครบ ยาที่แพทย์สั่งหยุดใช้แต่ยังได้รับประทานต่อ ดังนั้นจึงได้มีแนวคิดการพัฒนาระบบโปรแกรมและแนวทางการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระดับ คปสอ. ซึ่งจากการสอบถามความต้องการของผู้ปฏิบัติพบว่า ต้องการข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มโรค NCD ที่สามารถแยกรายสถานบริการและรายหมู่บ้านได้ ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยรายใหม่ รายชื่อผู้ป่วยรายใหม่ และผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด ทราบผลการวินิจฉัยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา ทางไต ทางเท้า หลอดเลือดแดง ข้อมูลการตรวจรักษาการใช้ยาปัจจุบัน และสามารถการเข้าถึงข้อมูลได้ทุกวัน ผลลัพธ์เพื่อการเฝ้าระวัง เพิ่มคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระดับอำเภอ
2. เพื่อพัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังระหว่างเครือข่าย
3. พัฒนาแนวทางการส่งต่อรักษาผู้ป่วยที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.)
4. เพื่อลดความคลาดเคลื่อนด้านการดูแลรักษาโรค NCD ระหว่างเครือข่าย รพ.สต.
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ปฏิบัติงานในเครือข่ายด้านข้อมูลสารสนเทศโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ Nurse case Manager ในระดับโรงพยาบาล และระดับ รพ.สต. |
|
เครื่องมือ : |
เป็นรูปแบบการวิจัย การวิจัยและพัฒนา โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดกระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบการไหลเวียนข้อมูล และการวิเคราะห์สถานการณ์ ผลการดูแลผู้ป่วยที่เป็นปัจจุบัน |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. สอบถามความต้องการผู้ปฏิบัติงานในเครือข่ายด้านข้อมูลสารสนเทศโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยแบ่งผู้ปฏิบัติงานเป็น 2 กลุ่มคือ Nurse case Manager ในระดับโรงพยาบาล และระดับ รพ.สต. ได้แนวทางการพัฒนาโปรแกรมส่งต่อข้อมูล NCD ระหว่างเครือข่าย
2. ตามรอยและพัฒนาการบันทึกข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระดับโรงพยาบาลที่ครอบคลุม จัดระบบการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ โรคเรื้อรังในฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ถูกต้องครอบคลุม
3. ออกแบบและการพัฒนาโปรแกรมการส่งต่อข้อมูล โดยประสานนักวิชาการคอมพิวเตอร์ในการเขียนโปรแกรมรายงานข้อมูล ตรวจสอบฐานข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ต้องใช้ในการเขียนรายงาน และประสานการใช้ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ซึ่งเป็นฐานข้อมูล 43 แฟ้มของ รพ.สต.ทุกแห่ง และตรวจสอบความถูกต้องในการเขียนโปรแกรมรายงาน
4. พัฒนาแนวทางการตรวจรักษาผู้ป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ รพ.สต.
5. พัฒนาสมรรถนะบุคลากร โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้โปรแกรมคลินิกมินิ (อบรมพยาบาลและเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล)
6. ทดลองการใช้โปรแกรมจริงในพื้นที่เครือข่ายรพ.สต.ทุกแห่ง
7. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความต้องการ โอกาสพัฒนา ปัญหาอุปสรรคในการใช้โปรแกรม
8. พัฒนาต่อยอดโปรแกรมตามความต้องการ
9. ใช้โปรแกรมจริงและขยายเครือข่ายการใช้โปรแกรม
10. เก็บข้อมูลผลลัพธ์การดำเนินงาน ก่อนและหลังการพัฒนาระบบ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1.มีระบบฐานข้อมูลกลางโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD ระดับอำเภอครอบคลุม 8 โรค ( DM, HT, CKD, IHD, CVA, Asthma, COPD และรับยาวาร์ฟาริน) จากการจัดระบบการขึ้นทะเบียนที่รวดเร็ว ครอบคลุมมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
2.ได้คู่มือการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 1 เรื่อง
3.ได้คู่มือการใช้โปรแกรมคลินิกมินิ จำนวน 1 เรื่อง
4.ได้โปรแกรมส่งต่อข้อมูลระหว่างเครือข่าย ( โปรแกรมคลินิกมินิ)
- การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังระหว่างเครือข่ายที่รวดเร็ว ประมวลผลทุกวัน
- สามารถประมวลผลแยกรายสถานบริการ รายหมู่บ้านได้
- ทราบประวัติการรักษาผู้ป่วยรายบุคคล : ยาที่ได้รับ, ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ, ผลการวินิจฉัย, ผลการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน และโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยปัจจุบัน
- ทราบข้อมูลกลุ่มเสี่ยงเพื่อเป็นเป้าหมายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทราบกลุ่มสงสัยรายใหม่เพื่อส่งต่อวินิจฉัยที่ครอบคลุม กลุ่มผู้ป่วยรายใหม่และกลุ่มป่วยทั้งหมดเพื่อการดูแลที่เหมาะสม
- รายงานผลการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ผลตรวจตา ตรวจเท้า CVD risk ตรวจไต ที่รวดเร็ว
- สามารถดูความชุก อุบัติการณ์ กลุ่มโรคโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
5.ได้แนวทางการส่งต่อรักษารับยาต่อเนื่องผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเครือข่าย รพ.สต.
6.สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ลดอุบัติการณ์การรักษาที่คลาดเคลื่อนในเครือข่ายรพ.สต.
ลดอัตราความคลาดเคลื่อนทางการรักษาปี 2557 – 2559 จากร้อยละ 5.83 ,1.37 และ 0.58 ตามลำดับ
7.โปรแกรมส่งต่อข้อมูลใช้ได้จริงครอบคลุมทุกรพ.สต. และสามารถขยายเครือข่ายการใช้โปรแกรมส่งต่อข้อมูลจำนวน 8 โรงพยาบาล
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. พัฒนาระบบ Medication Reconciliation.
2. History Summary NCD
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|