ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลของการใช้แผ่นสมุนไพรแปะเข่าเพื่อบรรเทาอาการปวดของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม
ผู้แต่ง : ลักคณา สุเพ็ญศิลป์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : สถานการณ์ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่“ภาวะประชากร ผู้สูงอายุ”จากรายงานผลการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยล่าสุด ในปีพ.ศ.2556 จำนวน 14,000 คน ทั่วประเทศพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการตรวจโรคข้อเข่าเสื่อม ถึงร้อยละ 72.9 ขณะที่พบว่ามีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรค ข้อเข่าเสื่อมถึง ร้อยละ 10.6 ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อพบว่าตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2555 - 2559 มีแนวโน้มสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเสื่อมที่สูงขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรค ที่ส่งผลให้มีอาการปวดเข่าที่รุนแรงขึ้นจนรู้สึกว่าข้อฝืด และ สุดท้ายหากปล่อยไว้จะเกิดข้อพิการ ข้อเข่าโก่งจนนำไปสู่การทรงตัวไม่ได้ แนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุขเสนอแนวทางในการรักษาและบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยการพอกยาสมุนไพร ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดของข้อเข่าได้ ตลอด จนความสามารถในการใช้งานของข้อเข่า ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และคนรอบข้างต่อไป  
วัตถุประสงค์ : ศึกษาประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 คน  
เครื่องมือ : -ยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่า -แบบประเมินอาการปวดเข่า  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มชนิดวัดก่อน และหลังการทดลอง คือการทดลองที่มีอาสาสมัครหนึ่งกลุ่ม มีการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง แล้วจึงนำาผลการทดลองมาเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรตาม โดยเป็นผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา โดยผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม สำาหรับการวิจัยกึ่งทดลอง และได้นำาผลการทดลองของสุรัติ เล็กอุทัยและคณะ๗ ศึกษาการประคบสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดกระดูกข้อเข่าเสื่อมอักเสบเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการคำนวณ จากการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 33 คน ทั้งนี้ในสถานการณ์จริง อาจเกิดการสูญหายของกลุ่มตัวอย่างในระหว่างการทดลอง จึงเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10 คิดเป็น 3 คน รวมเป็น 36 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำาดังนี้1) มีอายุตั้งแต่ 55 - 60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง 2) เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเข่า 3)ไม่มีประวัติการบาดเจ็บที่ข้อเข่า เช่น กระดูกหัก 4) ไม่เป็นโรคผิวหนังที่รุนแรง 5) ยินยอมเข้าร่วมโครงการด้วยความสมัคร เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบประเมินอาการของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับภาษาไทย ซึ่งประเมินด้วยกัน 3 ส่วนคือ ความปวดของข้อเข่า อาการข้อฝืดและความสามารถในการใช้งานของข้อเข่า โดยมีระดับคะแนนตั้งแต่เลข 0 จนถึงเลข 10 ซึ่งผู้ป่วยเป็นผู้ประเมินเอง ขั้นตอนการดำเนินการทดลองและการเก็บรวมรวบข้อมูล 1) เตรียมยาพอกเข่า ประกอบไปด้วย ไพล ผักกระสัง เถาเอ็นอ่อน น้ำปูนใส การบูร แป้งข้าวจ้าว นำสมุนไพรมาตากแห้งบดเป็นผง 2)นำสมุนไพรทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำใส่ซองชาชงขนาด 7.5x7.5 cm นำพลาสเตอร์กันน้ำติด 3)นำไปแปะเข่าวางแผ่นแปะบนเข่า 2 ข้าง ทิ้งไว้ 20 นาที เมื่อครบเวลา ทำความสะอาดบริเวณเข่าให้เรียบร้อย ทำาการนัดหมายผู้ป่วยสำหรับการพอกยาสมุนไพรเป็นจำนวน 3 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ paired t-test  
     
ผลการศึกษา : คุณลักษณะประชากรจากการศึกษาพบว่า อาสาสมัครเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคประจำาตัวส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่ไม่เคยทำการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่าอาสาสมัครคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองในด้านความปวด อาการข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานของข้อเข่า ความปวดของข้อเข่า พบว่าคะแนนเฉลี่ยความปวดของข้อเข่าลดลงกว่าก่อนการทดลอง ๓.๒๕ คะแนน ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.005) อาการข้อฝืดข้อเข่า พบว่าคะแนนเฉลี่ยอาการฝืดข้อเข่าลดลงกว่าก่อนการทดลอง 2.5 คะแนน ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.005) ความสามารถในการใช้งานข้อเข่า พบว่าคะแนนความสามารถในการใช้งานของข้อเข่าก่อนและหลังการทดลองลดลง 3.54 คะแนน ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.005)  
ข้อเสนอแนะ : ควรนำยาพอกสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ในหน่วยบริการที่มีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม แทนการใช้ยา ควรมีการศึกษาวิจัยประสิทธิผลยาพอกสมุนไพรในกลุ่มโรคเกี่ยวกับข้อต่ออื่นๆ ที่ไม่สามารถทำาการหัตถบำบัดได้ เช่นโรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ เป็นต้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)