ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ด้วยการทำ DOT ให้สอดคล้องกับบริบทสภาพปัญหาของผู้ป่วยวัณโรคและผู้ดูแลในพื้นที่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ธนาพร ศิริโส, ฌานิญมนธ์ นาลาบ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการดำเนินงานคลินิกวัณโรค ตามมาตรฐาน QTB ซึ่งมีผลสำเร็จขอการรักษาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้ ผลสำเร็จของการรักษา success rate ในปีงบประมาณ 2558-2560 คิดเป็นร้อยละ 82.87 ,72.60 ,85.90 ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตขณะรักษาวัณโรค สูงขึ้น ปี 2558- 2560 คิดเป็นร้อยละ 8.00, 10.95, 6.67 ตามลำดับ ถือเป็นปัญหาสำคัญในการดูแลวัณโรคโรงพยาบาลคำม่วง ดังนั้นคณะทำงานคลินิกวัณโรค จึงได้วิเคราะห์ผลการทำ DOTS ในผู้ป่วยวัณโรค อสม. เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และพยาบาลคลินิกวัณโรค เพื่อตอบโจทย์การดูแลผู้ป่วยวัณโรคอย่างแท้จริง จึงได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ด้วยการทำ DOT ให้สอดคล้องกับบริบทสภาพปัญหาของผู้ป่วยวัณโรคและผู้ดูแลในพื้นที่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ด้วยการทำ DOT ให้สอดคล้องกับบริบทสภาพปัญหาของผู้ป่วยวัณโรคและผู้ดูแลในพื้นที่  
กลุ่มเป้าหมาย : แฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยวัณโรค ในปีงบประมาณ 2558-2560, ผู้ป่วยวัณโรค อสม. เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และพยาบาลคลินิกวัณโรค  
เครื่องมือ : แบบรายงาน, แบบสัมภาษณ์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : งานวิจัยนี้เป็นการศึกษารายกรณี (Cohort) จากผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ในปีงบประมาณ 2558-2560 วิธีการดำเนินการศึกษา 1. รวบรวมข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วย ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ 2.ประชุม บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานคลินิกวัณโรค เพื่อวิเคราะห์ผลการดูแลผู้ป่วยวัณโรค จากกระบวนการดูแลที่ผ่านมา 3.วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาวัณโรคลดลง 4.จัดประชุมออกแบบกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้สอดคลองกับบริบทของผู้ป่วยและผู้ดูแล 5.กำหนด CPG การดูแลผู้ป่วยวัณโรค และประกาศใช้ในพื้นที่อำเภอคำม่วง  
     
ผลการศึกษา : มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรค โดยการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามสภาพปัญหา ดังนี้ ผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสังคมและ ผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน กำหนดให้มีผู้ดูแล และกิจกรรมการดูแลตามกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งสอดคลองกับบริบทปัญหาของผู้ป่วยและผู้ดูแล ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลในรูปแบบนี้ มีแนวโน้มในการรักษาดีขึ้น  
ข้อเสนอแนะ : การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่ ทำให้อัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ