|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : น้อยหน่าพิชิตเหา |
ผู้แต่ง : |
อัญจนา แสนพันดร |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัจจุบันโรคเหายังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในเด็กนักเรียน ซึ่งจากการออกตรวจสุขภาพประจำปี ของนักเรียน ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา ยังคงพบนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง มีเหา ซึ่งเกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย ก่อให้เกิดความรำคาญทั้งต่อตนเองกับผู้บุคคลใกล้ชิด ร่วมถึงส่งผลต่อการขาดสมาธิในการเรียนหนังสือ และสูญเสียบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย เนื่องจากพบว่าคนที่เป็นเหา มีอาการคันศีรษะอย่างมาก เนื่องจากน้ำลายของตัวเหาทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะ และการเกาหนังศีรษะอย่างมากอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อเรื้อรังได้ ในการรักษาโรคเหาพบว่า ส่วนใหญ่มักจะใช้สารเคมีซึ่งเมื่อใช้แล้วอาจก่อให้เกิดอันตารายต่อสุขภาพ ดังนั้นเพื่อดูแลสุขภาพนักเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้นำเอาภูมิปัญญาดั้งเดิม และสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้คิดจัดทำแชมพูใบน้อยหน่ากำจัดเหาขึ้น โดยได้นำเอาสมุนไพรที่มีท้องถิ่นซึ่งสามารถหาได้ง่าย นำมาต้มสกัดเอาน้ำจากใบน้อยหน่า ซึ่งมีกลิ่นของใบน้อยหน่ามีความเหม็นฉุน พร้อมทั้งมีสรรพคุณช่วยในการกำจัดเหา นำมาทำเป็นแชมพูเพื่อให้ง่ายสะดวกต่อการใช้ |
|
วัตถุประสงค์ : |
การประยุกต์ปัญญาดั้งเดิม และสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ในการกำจัดเหา |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านแกหัวแฮดส้มโฮงวิทยาคาร ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 – 31 มกราคม 2561 โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านแกหัวแฮดส้มโฮงวิทยาคาร ที่มีเหา คัดเลือกโดยวิธีการเจาะจง จำนวน 50 ราย |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษานี้เป็นการศึกษาในเด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านแกหัวแฮดส้มโฮงวิทยาคาร ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 – 31 มกราคม 2561 โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านแกหัวแฮดส้มโฮงวิทยาคาร ที่มีเหา คัดเลือกโดยวิธีการเจาะจง จำนวน 50 ราย โดยการนำเอาสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น คือใบน้อยหน่า นำมาต้มสกัด และนำมาผสมกับแชมพู ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. เตรียมสมุนไพร คือ ใบน้อยหน่า
2. นำใบน้อยหน่า มาล้างทำความสะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่น้ำให้ท่วมใบน้อยหน่า นำมาต้มประมาณ 15-20 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาผสมกับหัวแชมพู ในอัตราส่วน N70 1 กิโลกรัม ผงฟอง 100 กรัม ผงข้น 100 กรัม น้ำต้มสมุนไพรน้อยหน่า 4 ลิตร
3. เมื่อได้แชมพูใบน้อยหน่าแล้ว นำไปใช้กับเด็กนักเรียนที่มีเหา จำนวน 50 ราย โดยทำให้ผมเปียกน้ำก่อน แล้วนำแชมพูชโลมทั่วศีรษะ หมักทิ้งไว้ 10 นาที สระต่ออีก 5 นาที แล้วล้างออก เช็ดให้แห้ง หลังจากนั้นให้ใช้หวีซี่ถี่ หวีผม พร้อมทั้งตรวจดูและสังเกต ผลที่เกิดขึ้นกับตัวเหาและไข่เหา
4.ในการศึกษาดังกล่าวข้างต้น จะทำ 3 ครั้ง โดยทำสัปดาห์ ละ 1 ครั้ง
ในการศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และร้อยละ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการศึกษาการใช้แชมพูใบน้อยหน่ากำจัดเหาในเด็กนักเรียน 50 ราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 ราย ไม่มีเหาและไข่เหา คิดเป็นร้อยละ 84 และอีก 6 ราย ยังพบไข่เหา คิดเป็นร้อยละ 12 เห็นได้ชัดว่า จากการใช้แชมพูใบน้อยหน่ากำจัดเหาในเด็กนักเรียน ได้ผลดีมาก ซึ่งกำจัดได้ทั้งตัวเหา และไข่เหา แต่ในรายที่ยังพบไข่เหาหลงเหลืออยู่ อาจเพราะมีจำนวนไข่เหามาก |
|
ข้อเสนอแนะ : |
สำหรับในรายที่ยังมีไข่เหาหลงเหลืออยู่ ต้องใช้ระยะเวลาในการกำจัดเหา เพิ่มขึ้นอีก จนกว่าไข่เหาจะหมด และเพื่อการกำจัดเหาให้ได้ผลดี ยั่งยืน ควรขยายไปสู่ชุมชนด้วย เพื่อป้องกันและการกลับมาเป็นเหาอีก |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|