|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : แนวทางการดูแลผู้ป่วย Alcohol withdrawal โรงพยาบาลคำม่วง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
สุดารัตน์ ไทยทะนุ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ผู้ที่มีปัญหาการดื่มสุรา (Alcohol Use Disorders : AUD) หมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติในการดื่มสุรา มีผลต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ การงานและสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง ภาวะถอนพิษสุราเป็นกลุ่มอาการที่สมองทำงานมากกว่าปกติโดยเฉพาะการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติทำให้เกิดอาการตางๆเช่นสับสนเพ้อคลั่งชักหูแว่วประสาทหลอนเกิดภาวะแทรกซ้อนและโรคร่วมทางกายถ้าหากผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสมล่าช้าอาจจะทำให้เป็นอันตารายถึงชีวิตได้ดังนั้นหากพยาบาลมีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง มีแนวทางการบำบัดรักษาผู้ป่วยสุราที่ชัดเจน สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพและมีประสิทธิผลในการรักษา
โรงพยาบาลคำม่วง ยังไม่มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยสุราที่ชัดเจน จากข้อมูลการ Admit ที่ตึกIPD ชายรพ.คำม่วงปีงบประมาณ 2560 มีผู้ป่วยที่ admit ด้วย MHI ทั้งหมด 26 รายพบว่าสาเหตุมาจากปัญหาการดื่มสุรา จำนวน21 ราย คิดเป็นร้อยละ 80.76 ของคนไข้ทั้งหมด แพทย์พิจารณา admit observe N/S ครบ 24 ชั่วโมง แล้วจำหน่ายซึ่งยังไม่ผ่านระยะถอนพิษสุราซึ่งต้องเฝ้าระวังภาวะชักจากการขาดสุราใน 48ชั่วโมงแรก และภาวะ alcohol withdrawal ในระยะ 3-5 วันหลังหยุดดื่ม ซึ่งอีกทั้งยังขาดการประเมินปัญหาในการดื่มสุรา ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุราหลังจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านในระยะ48 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วย Revisit กลับมาอีกครั้งด้วยอาการชักทั้งหมด 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.53 และยังพบว่า ขณะ admit ผู้ป่วยมีภาวะ Alcohol withdrawal แพทย์ เภสัช และพยาบาลในตึก ยังขาดความมั่นใจในการให้ยา Diazepam IV ในปริมาณมาก ยังมีความวิตกกังวลกลัวเกิดผลข้างเคียง กดระบบการหายใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับยาไม่ต่อเนื่อง เพิ่มระยะเวลาในการรักษายาวนาน ยังไม่มีการนำแบบประเมินมาใช้เพื่อเฝ้าระวังอาการถอนพิษสุรา ส่งผลให้เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงในผู้ป่วยAlcohol withdrawalที่เกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนทางสมองร่วมด้วยadmit นานเกิน 5 วันแล้วอาการwithdrawal ไม่ดีขึ้น ส่งต่อล่าช้าพบว่าผู้ป่วยมีภาวะเลือดคั่งในสมอง ได้รับการผ่าตัดด่วน จำนวน1รายทั้งนี้ผู้ศึกษาจึงได้พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรค Alcohol withdrawal เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติในโรงพยาบาล คำม่วง
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อกำหนดแนวทางการดูแลผู้ป่วยสุราที่มีภาวะ Alcohol withdrawal ในโรงพยาบาลคำม่วง
2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานตามแนวทางที่กำหนด
3. เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะAlcohol withdrawal
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วย Admit ด้วย MHI จำนวน 20 ราย ระหว่างเดือน ตุลาคม 2560 ถึง เดือนเมษายน 2561 |
|
เครื่องมือ : |
รูปแบบการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาและพัฒนา (Research and Development) ใช้การประเมิน AUDIT |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
โดยมีวิธีการศึกษาดังต่อไปนี้
5.1 จัดประชุมทีมคณะดำเนินงานยาเสพติด ศึกษาสภาพปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบัน
5.2 ทบทวนปัญหาและกำหนดแนวทางการดูแลผู้ป่วยสุราที่มีภาวะ Alcohol withdrawal
5.3 จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยสุราโดยนำแบบประเมิน AUDIT มาใช้ประเมินคัดกรอง กรณีบำบัดผู้มีปัญหาการดื่มสุราแบบผู้ป่วยนอก และนำแบบประเมิน CIWA มาใช้ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงขณะผู้ป่วยAdmit ผู้ป่วยใน เพื่อเฝ้าระวังภาวะ Alcohol withdrawal
5.4 ประเมินแนวทางการปฏิบัติ ผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุราเทียบคู่มือการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา
5.5 สื่อสารแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุรา รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะ Alcohol withdrawal
5.6 ใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุรา รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะ Alcohol withdrawal ในช่วงปีงบประมาณ 2561 ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2561 จนถึง วันที่ 30 เมษายน 2561 ที่ตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลคำม่วง
5.7 ประเมินผลการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุรา รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะ Alcohol withdrawal
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการศึกษามีผู้ป่วย Admit ด้วย MHI จำนวน 20 ราย ได้รับการประเมิน AUDIT ทั้ง 20 รายคิดเป็นร้อยละ 100, ผู้ป่วยบำบัดเลิกสุรา ประเมิน AUDIT≥20 คะแนน เป็นผู้ดื่มแบบติด (Alcohol dependence)จำนวน 3ราย admit ทั้งหมด 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 100, ไม่พบผู้ป่วย Revisit ด้วยอาการชัก, ผู้ป่วยที่มีภาวะ alcohol withdrawalได้รับยาตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย Alcohol withdrawal อาการดีขึ้นภายใน 5 วัน จำนวน17 ราย คิดเป็นร้อยละ 85, มีผู้ป่วยที่มีภาวะ alcohol withdrawal admit 5 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่ายได้รวดเร็วและทันท่วงทีจำนวน 3 รายคิดเป็นร้อยละ 15, ไม่พบการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกเตียงขณะ admit ทั้ง 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 100, นัดเข้าสู่ระบบบำบัดทุกรายคิดเป็นร้อยละ 100, จากการสอบถามและสังเกต พบว่า แพทย์ เภสัช และพยาบาล มีความมั่นใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยสุราที่มีภาวะ Alcohol withdrawal มากขึ้น ยังไม่พบผลข้างเคียงในการกดศูนย์หายใจ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
หากใช้ตามแนวทางที่กำหนดผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุราได้รับการประเมิน เข้าถึงบริการมากขึ้น และปลอดภัยจากภาวะฉุกเฉินจากการถอนพิษสุราทั้ง 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|