ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลโปรแกรมการลดน้ำหนักโดยใช้ทฤษฎีตามแผนของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นฤชล วิชัยโย ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : เด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนนั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบทางด้านจิตใจและสังคม เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินมักจะมีปัญหาบุคลิกภาพ เช่น เมื่ออยู่ที่โรงเรียนอาจโดนเพื่อนแกล้งและล้อเลียน มีความอายในรูปร่างของตัวเอง ทำให้ขาดความมั่นใจ อาจวิตกกังวลมากถึงขั้นซึมเศร้าได้ โดยสาเหตุของโรคอ้วนมีหลายสาเหตุ แต่โดยมากมักเกิดจากพฤติกรรมเป็นหลัก จากปัญหาดังกล่าวจึงควรได้รับการป้องกันและแก้ไข เพื่อลดผลกระทบระยะยาวจากปัญหาโรคแทรกซ้อนต่างๆเมื่อเข้าสู้วัยผู้ใหญ่  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการลดน้ำหนักโดยใช้ทฤษฎีตามแผนของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีตามแผน  
กลุ่มเป้าหมาย : เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ที่ศึกษาอยู่ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนคำม่วงจรัสวิทย์ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้แบบเฉพาะเจาะจง  
เครื่องมือ : แบบสอบถามเจตคติต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนัก แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนัก แบบบันทึกข้อมูลการชั่งน้ำหนัก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : แบ่งกลุ่มโดยการจับฉลากเลือก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการลดน้ำหนักในเด็กเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มด้วยสถิติ paired t-test independent t-testANCOVA และ McNemar chi-square test  
     
ผลการศึกษา : พบว่าโปรแกรมการลดน้ำหนักโดยใช้ทฤษฎีตามแผนของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีประสิทธิผลในการลดน้ำหนักในเด็กได้ โดยเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกลุ่มทดลองสมารถปรับเปลี่ยนเจตคติการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและมีพฤติกรรมลดน้ำหนักได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยทางสถิติและสามารถลดน้ำหนักได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม  
ข้อเสนอแนะ : 1.ควรมีการนำไปใช้เป็นกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน ในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 2.ควรเป็นกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องกัน อย่างน้อย 2 เดือน เพื่อประสิทธิผลที่ดีของโปรแกรม  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)