ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลการดำเนินงานการใช้ มาตรการ “2ม” ในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : อัญจนา แสนพันดร ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : การป้องกันและควบคุมไข้เลือด ในพื้นที่ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ดำเนินการอย่างจริงจังตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัญหาในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกยังไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากเป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกเพียงฝ่ายเดียว ประชาชนยังขาดความตระหนัก และความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ และคณะ, 2556) จึงได้มีกำหนดมาตรการ (2ม) เพื่อจะนำมาใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คือมาตรการประกาศเตือนหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำ และมาตรการการปรับ ตั้งแต่เจ้าของบ้าน อสม. ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งพบว่าผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและอาสาสมัครสาธารณสุข มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน เพราะเป็น ผู้ที่ประชาชนให้ความเคารพ เกรงใจ และมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน (อรนุช พิศาลสุทธิกุล และคณะ, 2552) หลังจากดำเนินการตามมาตรการ 2 ม. ซึ่งประกอบด้วย 1. มาตรการการประกาศ 2.มาตรการการปรับ พบว่าการเกิดโรคไข้เลือดออกหลังดำเนินการลดลง จากข้อมูลโรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2556 – 2559 มีป่วยโรคไข้เลือดออก 68 , 14 , 3 , 4 ตามลำดับ และในปี 2560 ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดอก ซึ่งจะเห็นได้ว่า การป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก “2ม” ทำเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง ส่งผลให้ลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ และควรนำผลการศึกษาไปเป็นแนวทางการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกหรือนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการใช้มาตรการมา ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  
กลุ่มเป้าหมาย : เจ้าของบ้าน อสม. ผู้นำชุมชน คณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ดูแลรับผิดชอบหมู่บ้าน  
เครื่องมือ : 1.มาตรการ 2 ม. ซึ่งประกอบด้วย 1.มาตรการการประกาศ คือการประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้าน 2.มาตรการการปรับ คือการปรับเงิน 2.แบบสำรวจค่า HI CI  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ หมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีการจัดการประชุมเพื่อตกลงทำความเข้าใจ ในมาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ มาตรการการประกาศและการปรับ โดยใช้ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย หากพบลูกน้ำยุงลาย จะประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้าน ว่าพบลูกน้ำยุงลายครัวเรือนใดบ้าง จากนั้นดำเนินการปรับโดยเสียค่าปรับ 10 บาท ตั้งเจ้าของบ้าน อสม. ผู้นำชุมชน คณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ดูแลรับผิดชอบหมู่บ้าน/ครัวเรือนนั้นๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในกำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งในการปรับแต่ละครั้งที่พบลูกน้ำยุงลาย ได้เงินจากการปรับ 100 บาท/หลังคาเรือนที่พบ สำหรับเงินที่ได้ในการปรับ จะนำไปใช้ในการดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลายต่อไป  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่า หลังจากดำเนินการตามมาตรการ 2 ม. ซึ่งประกอบด้วย 1.มาตรการการประกาศ คือการประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการเตือนหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อการดูแลครัวเรือนของตนมากขึ้น เพื่อให้ไม่พบลูกน้ำในการสำรวจลูกน้ำครั้งต่อไปอีก 2.มาตรการการปรับ คือการปรับเงิน โดยจะปรับเป็นเงิน 10บาท ตั้งแต่เจ้าของบ้าน อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและคณะผู้บริหาร/สมาชิกสภาเทศบาล ที่รับผิดชอบหมู่บ้าน/ครัวเรือนนั้น รวม1หลังคาเรือน เป็นเงิน 100 บาท จากการดำเนินตามมาตรการข้างต้น พบว่าการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลง จากข้อมูลโรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2556 – 2559 มีป่วยโรคไข้เลือดออก 68 , 14 , 3 , 4 ตามลำดับ และในปี 2560 ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดอก ซึ่งจะเห็นได้ว่า การป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก “2ม” ทำเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง ส่งผลให้ลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ และควรนำผลการศึกษาไปเป็นแนวทางการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกหรือนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้  
ข้อเสนอแนะ : จากผลการดำเนินงานการใช้มาตรการ 2ม เป็นมาตรการที่กระตุ้นให้ประชาชนตระหนัก และเกิดความมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน ซึ่งนอกจากการปรับแล้ว ควรมีรางวัลเพื่อสร้างเสริมกำลังใจ ก่อเกิดความภาคภูมิใจ สำหรับครัวเรือนและชุมชนที่ปราศจากลูกน้ำยุงลายและไข้เลือดออก เพื่อทำให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกในชุมชน อย่างมีความสุข มั่นคง และยั่งยืน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ