ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การประเมินความครอบคลุมในการได้รับวัคซีน ขั้นพื้นฐานของเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเตย ต.เว่อ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางสาวกรรณิการ์ เบ็ญจวนิช ตำแหน่ง จพ.สาธารณสุข,นางสาวมยุรา ฮังกาสี ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ในเขตตำบลเว่อ ซึ่งเป็นตำบลในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านห้วยเตย โดยมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 11 หมู่บ้าน จากข้อมูลรายงงานผลการปฏิบัติงานในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเตย อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในกลุ่มเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีความครอบคลุมร้อยละ 88.25 และในหลายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลายแห่งยังมีแนวโน้มถึงความครอบคลุมการได้รับวัคซีนไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน (ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90) (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 2556) ดังนั้น จากความสำคัญและปัญหาดังกล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเตย อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อประเมินความครอบคลุมการได้รับวัคซีน ค้นหาสาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีนพื้นฐานตามเกณฑ์ของเด็กที่มีอายุแรกเกิดถึง 5 ปี และเพื่อศึกษาความถูกต้องและมาตรฐานระบบลูกโซ่ความเย็น ตลอดจนทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเพื่อจะได้นำผลการประเมินไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย รวมถึงการวางแผนและพัฒนาดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำศูนย์สาธารณสุขภาพชุมชนให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อประเมินความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามแผนปฏิบัติงาน (EPI) ของเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเตย อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาหาสาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีนพื้นฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดในของเด็กที่มีอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเตย อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อศึกษาระบบลูกโซ่ความเย็นของวัคซีน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรสำหรับในการศึกษาครั้งนี้ เป็นกลุ่มผู้ปกครองของเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในพื้นที่ตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 226 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ได้จัดทำขึ้นโดยกลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำนักโรคติดต่อทั่วไป (กรมควบคุมโรค, 2551) ประกอบด้วยทั้งหมด 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลลักษณะทางประชากรทั่วไป ส่วนที่ 2 ข้อมูลการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ของเด็กที่มีอายุครบ 5 ปี  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาความครอบคลุมในการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานของเด็กอายุแรกเกิดถึง 4 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเตย ต.เว่อ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ประชากรที่ศึกษา คือ เป็นกลุ่มผู้ปกครองของเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในพื้นที่ตำบลเว่อ จำนวน 210 คน คำนวณตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) ลักษณะทางประชากร จำนวน 9 ข้อ 2) ข้อมูลการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ของเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ตรวจสอบจากสมุดบันทึกการได้รับวัคซีนของเด็ก จำนวน 12 ข้อ 3) สาเหตุของการได้รับวัคซีนพื้นฐานไม่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 1 ข้อและ 4) แบบสัมภาษณ์ระบบลูกโซ่ความเย็น เป็นคำถามปลายเปิดให้เติมข้อความ สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งที่คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง