ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : สติ๊กเกอร์บอกโรค
ผู้แต่ง : อมรรัตน์ เมิดไธสงค์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : จากข้อมูลโรคเรื้อรังอำเภอร่องคำ ในปี 2560 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 1,140 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,325 คน ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ จำนวน 560 คน คิดเป็นร้อยละ 49.12 คน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันได้ จำนวน 452 คน คิดเป็นร้อยละ 34.11(ฐานข้อมูล HDC,2561) และจากข้อมูลการเกิดภาวะแทรกซ้อนในปี 2559-2560 พบกว่า มีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตาจำนวน 155 คน คิดเป็นร้อยละ 13.59 ภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 780 คน คิดเป็นร้อยละ 68.42 ภาวะแทรกซ้อนทางเท้า จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 6.31 หลอดเลือดสมอง จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 8.07 หลอดเลือดหัวใจ จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 7.01(โรงพยาบาลร่องคำ, 2561) และจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบปัญหาคือ การดูเวชระเบียนและสมุดประจำตัวผู้ป่วยไม่สามารถจำแนกผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้ชัดเจน ทำให้เสียเวลาในการเปิดค้นหาผลการวินิจฉัย การรักษาและการแนะนำในการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยไม่ครบถ้วน รวมถึงตัวผู้ป่วยเองไม่ทราบถึงภาวะแทรกซ้อนของตนเอง ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงได้เกิดสติ๊กเกอร์บอกโรคขึ้น เพื่อเป็นตัวที่ใช้สื่อสารแก่เจ้าหน้าที่และผู้ป่วย  
วัตถุประสงค์ : สื่อสารและจำแนกโรคแก่เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยถึงโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 30 คน และความดันโลหิตสูง จำนวน 30 คน รวม 60 คน  
เครื่องมือ : -  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ เดิมใช้ตัวอักษรสีแดงเขียนไว้ที่ด้านหน้าของเวชระเบียนและสมุดประจำตัวผู้ป่วย ปัจจุบันใช้เป็นสติ๊กเกอร์รูปแบบตามโรคที่เกิด ได้แก่ สมอง=โรคหลอดเลือดสมอง, หัวใจ=โรคหลอดเลือดหัวใจ, ตา=เบาหวานขึ้นตา , ไต=โรคไต, เท้า=มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ คือ 1.กระดาษสติ๊กเกอร์ 2.กรรไกร 3.เครื่องปริ้นสี  
     
ผลการศึกษา : เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้สติ๊กเกอร์บอกโรคพบว่ากลุ่มที่ใช้สติ๊กเกอร์บอกโรคมีความพึงพอใจผู้ป่วยรับรู้ถึงภาวะแทรกซ้อนตนเองได้ง่าย เจ้าหน้าที่สามารถจำแนกโรคได้ง่าย วินิจฉัย ให้คำแนะนำได้ครบถ้วน สื่อสารกันได้ง่ายขึ้น ร้อยละ 100 ประโยชน์ในการนำไปใช้ นำไปใช้ในงานเวชระเบียนในคลินิก NCD เพื่อการสื่อสารที่ง่ายขึ้น จำแนกโรคได้เร็ว และลดขั้นตอนการสืบค้นจากทะเบียน รวมถึงผู้ป่วยสามารถรับรู้ถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ง่ายขึ้น โอกาสในการพัฒนาคือ นำสติ๊กเกอร์บอกโรคไปใช้ในงานคลินิกโรคอื่นๆ ทั้งในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่อไป  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ