|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง อำเภอร่องคำจังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
รัศมี ลือฉาย |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากสถานการณ์ผู้ป่วยระยะท้ายของอำเภอร่องคำ ปี 2557-2560 พบว่า อัตราผู้ป่วยระยะท้ายที่เข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง ร้อยละ 10.34, 24.77, 34.71 และ 69.86ตามลำดับ อัตราผู้ป่วยระยะท้ายที่กลับไปเสียชีวิตที่บ้านตามความต้องการ ร้อยละ 33.33 , 40.74 , 45.24 และ 88.24ตามลำดับอัตราผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองได้รับยาopioidsเพื่อจัดการอาการอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 3.45 , 17.43 , 28.10 และ 56.21 ตามลำดับดังนั้นจึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research )ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยระยะท้ายที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลร่องคำตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560– เมษายน 2561และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเลือกมาแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 72ราย โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้ 1) ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยระยะท้าย 2) PPS ≤ 60 % 3) ยินยอมเข้าร่วมในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินระดับความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (PPS)2) แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (POS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า . กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ย POS รายข้อ วันแรก 34.85 และ 3 วันต่อมา 14.77 2. อัตราผู้ป่วยระยะท้ายที่เข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 95.86
3. อัตราผู้ป่วยระยะท้ายที่กลับไปเสียชีวิตที่บ้านตามความต้องการ ร้อยละ98.61 4. ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจในรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองที่พัฒนาขึ้น การศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยให้ผู้ป่วยระยะท้ายเข้าถึงบริการการดูแลแบบประคับประคองได้รับการดูแลต่อเนื่องถึงที่บ้าน ไม่ทรมานจากอาการของโรคและเสียชีวิตอย่างสงบสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ท่ามกลางญาติพี่น้องตามความต้องการของผู้ป่วยได้ จึงนำผลการศึกษาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในอำเภอร่องคำ และนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่นๆ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยระยะท้ายที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลร่องคำตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560– เมษายน 2561และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเลือกมาแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 72ราย |
|
เครื่องมือ : |
1) แบบประเมินระดับความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (PPS)2) แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (POS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์
ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองและผู้เกี่ยวข้องเพื่อคืนข้อมูลและทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง พบว่า การเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองน้อย , การประเมิน/คัดกรองไม่ครอบคลุม , ไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ , ขาดการดูแลเป็นทีม , ขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน , ขาดการประเมินผลร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ และทีมสหวิชาชีพขาดความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย
ระยะที่ 2 การดำเนินการวิจัยการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง
วงจรที่ 1 : 1) จัดทำ CPG การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง ประกอบด้วย การประเมิน-คัดกรอง การวินิจฉัย การพยาบาล-รักษา การเข้าถึงบริการPC ทั้งใน-นอกเวลาการรับ-ส่งต่อ
2) แจ้งแนวทางปฏิบัติแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ3) จัดประชุมพัฒนาศักยภาพให้แก่ทีมสุขภาพทุกหน่วยงานในรพ./รพ.สต.กำหนดให้มีพยาบาลPCทุกหน่วยงาน 3) ทำ Grand rounds และทบทวน Case ในผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน เพื่อการดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ
วงจรที่ 2 : ทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองครั้งที่ 2 พบว่า
ไม่สามารถนำยา Opioid ออกไปใช้นอกรพ.ได้วัสดุอุปกรณ์ (ออกซิเจน syringe driver เครื่องsuction ที่นอนลม)และเวชภัณฑ์ยา(strong opioid )ไม่เพียงพอขาดเครือข่ายในการดูแล ตลอดจนผู้ป่วยและครอบครัวขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองจึงได้ดำเนินการ1) จัดทำ CPG การบริหาร Opioids ไปใช้ที่บ้านสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย และแจ้งแนวทางปฏิบัติแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ2) จัดประชุมพัฒนาศักยภาพเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้แก่ชุมชนได้แก่ แคร์กี๊ฟเวอร์อสม. จิตอาสา และญาติผู้ป่วย
3) จัดบริการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในโรงพยาบาล และเชื่อมโยงไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและดูแลต่อเนื่องถึงที่บ้าน
วงจรที่ 3 :ทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองครั้งที่ 3 พบว่า ผู้ป่วยไม่ได้เสียชีวิตที่บ้านตามความต้องการ ยังได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและได้รับการทำCPRทั้งที่ปฏิเสธตลอดจนถูกส่งต่อไปยังรพ.ที่มีศักยภาพสูงกว่า จึงได้ดำเนินการ1) ทำ Family meeting โดยทีม PCทำ Advance care plan / Advance Directive ทุกราย2) สื่อสารให้ทีมสุขภาพได้รับทราบถึงข้อมูลและแนวทางการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน โดยจัดทำข้อมูล Alert ในโปรแกรม Hos –xpและมีสมุดประจำตัวผู้ป่วยระยะท้าย
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ย POS รายข้อ วันแรก 34.85 และ 3 วันต่อมา 14.77
2. อัตราผู้ป่วยระยะท้ายที่เข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 95.86
3. อัตราผู้ป่วยระยะท้ายที่กลับไปเสียชีวิตที่บ้านตามความต้องการ ร้อยละ98.61
4. ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจในรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองที่พัฒนาขึ้น ผู้ป่วยมะเร็งตับบอกว่า “ขอบคุณคุณหมอหลายๆเด้อ ตอนแรกยายย่านตายย่านทรมาน ย่านเจ็บย่านปวด ย่านหมอเอาสายมาแหย่ดัง ถึงตอนนี้ยายบ่ย่านแล้ว ยายพร้อมแล้วจะตายตอนใด๋ก็บ่ย่านยายได้สั่งเสียไว้หมดแล้วบ่มีแนวห่วงแล้ว”ลูกสาวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมบอกกับทีมสุขภาพว่า “หนูเห็นแม่ดิ้นทุรนทุรายเอากำปั้นทุบขอบเตียงจนแขนเขียวช้ำ ร้องครวญคราง หนูใจจะขาดสงสารแม่เหลือเกิน ต้องใช้ผ้าผูกข้อมือแม่ไว้กับขอบเตียง หนูทรมานมากกว่าแม่อีก พอได้ยาที่คุณหมอให้แม่ก็หลับได้”
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
การศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองที่พัฒนาขึ้นสามารถ
ช่วยให้ผู้ป่วยระยะท้ายเข้าถึงบริการการดูแลแบบประคับประคองได้รับการดูแลต่อเนื่องถึงที่บ้าน ไม่ทรมานจากอาการของโรคและเสียชีวิตอย่างสงบสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ท่ามกลางญาติพี่น้องตามความต้องการของผู้ป่วยได้ จึงนำผลการศึกษาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในอำเภอร่องคำ และนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่นๆ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ วิเคราะห์ปัญหาความต้องการของการดำเนินงานที่ผ่านมาร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมาพัฒนาระบบการดูแล 2) การพัฒนาศักยภาพทีมสุขภาพ ผู้ป่วย ญาติ และประชาชนในการดูแลและเข้าถึงการบริการผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง3) การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ และ4) การทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ มีภาคีเครือข่ายและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมนอกจากนั้นยังมีการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆที่มีบริบทใกล้เคียงกัน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|