ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage)
ผู้แต่ง : สวาท วันอุทาและคณะ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลร่องคำ เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง มีแพทย์ทั่วไป 3 คน ไม่มีแพทย์เฉพาะทาง ด้านสูติกรรม มีพยาบาลเฉพาะทางห้องคลอด 1 คน มีคลังเลือด สามารถให้เลือดฉุกเฉินได้ มียาที่จำเป็น ที่ใช้กรณีฉุกเฉินเมื่อเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดตามมาตรฐานครบทุกตัว งานห้องคลอดมีผู้รับบริการคลอดในปี 2557, 2558, 2559,2560,2561 (ต.ค.60-พ.ค. 61) จำนวน 76, 63, 75, 46,53 ราย/ปี ตามลำดับ พบภาวะตกเลือดหลังคลอด 1 ราย(1.32%),1ราย(1.58%), 1(1.33%), 1(2.17%), 1(1.88) ตามลำดับ จากการทบทวนพบว่าสาเหตุเกิดจาก Retained placenta (ปี 2557, 2558, 2560, 2561(ต.ค.60-พ.ค. 61),Tear cervix (ปี 2559) ในปีงบประมาณ 2561 พบ1 รายมีภาวะ Shock ได้รับการ Referไปรพ.กาฬสินธุ์ จากการทบทวนพบว่าการ Delayed management เกิดจากระบบการบันทึกข้อมูลในระบบ Thai refer ช้า ทักษะบุคลากรในการบันทึกข้อมูล  
วัตถุประสงค์ : - อัตราการตกเลือดหลังคลอดลดลง  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : กระบวนการดูแลผู้ป่วย การประเมินผู้ป่วย - จัดทำแนวทางการค้นหาและจำแนกกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเกิดการตกเลือด หลังคลอดในระยะฝากครรภ์ หากพบภาวะความเสี่ยงได้รับการส่งพบแพทย์ทุกราย หากเข้าเกณฑ์การส่งตัว จะได้รับการส่งต่อพบสูติแพทย์ -มีระบบการสื่อสารข้อมูลภาวะเสี่ยงให้ ห้องคลอดทราบก่อนการคลอด 1 เดือน มีการสื่อสาร ให้ทีมสหวิชาชีพในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการเขียนShort note ติดที่สมุดฝากครรภ์และเวชระเบียน - มีแนวปฏิบัติในการจัดบริการ High Risk Clinicเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน - มีการพัฒนาระบบการให้ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในโรงเรียนพ่อแม่ ระยะใกล้คลอดมีระบบทัวร์ห้องคลอด เป็นการดับเบิ้ลเช็คประเมินคัดกรองและเน้นให้หญิงตั้งครรภ์ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเข้าถึงบริการเมื่อพบอาการผิดปกติ เพิ่มช่องทางการขอคำปรึกษา โดยการติดนามบัตรที่สมุดบันทึกการฝากครรภ์ มี Face book วัยใสพึ่งได้ - ระยะแรกรับที่ห้องคลอดมีการประเมินภาวะเสี่ยง โดยใช้ Intrapartum risk scale มีระบบรายงานแพทย์ให้รับทราบทุกรายที่ Admit - ระยะแรกรับ หากReview พบว่าอายุครรภ์ 36 Wks.ไม่ได้รับการ U/S หรือพยาบาล PV ไม่แน่ใจ ในPosition หรือพบว่าหญิงตั้งไม่เคยฝากครรภ์ต้องรายงานแพทย์เพื่อให้U/S Confirmท่าทารกในครรภ์ทันที การวินิจฉัย - มีการนำ Early Warning signมาใช้ในการดูแลผู้คลอดเพื่อให้สามารถ early detection - มีการพัฒนาถุงตวงเลือดทำให้สามารถ Early Detection และมีความแม่นยำในการประเมินมากขึ้น การวางแผนการดูแล - นำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการดูแล เช่นการทำคลอดรกแบบ Active Management มีการคลึงมดลูกทุก 15 นาทีในระยะหลังคลอดจนครบ 2 ชั่วโมง มีการให้ข้อมูลและฝึกทักษะมารดาหลังคลอด ให้เห็นความสำคัญของการคลึงมดลูก - มีการฉีด Oxytocin 10 U หลังคลอดไหล่หน้าทุกราย - มีการตรวจสภาพความครบถ้วนของรก - มีการประเมินแผลที่ Cervix และ Vaginal wall - มีการประเมินสภาพผู้คลอดในระยะหลังคลอดทุก 15 นาทีจำนวน 4 ครั้ง มีการประเมินซ้ำ และก่อนการเคลื่อนย้ายผู้คลอดจะต้องประเมินสภาพและสัญญาณชีพก่อนย้ายทุกครั้ง - มีการเพิ่มพูนทักษะการทำคลอดการเย็บแผลฝีเย็บและการทำคลอดรก โดยส่งบุคลากร ไปฝึกทักษะและเพิ่มประสบการณ์ที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์มีการประเมินสมรรถนะเจ้าหน้าที่ตามเกณฑ์ - การส่งต่อในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนให้เขียนใบReferแบบเดิมแล้วKeyข้อมูลในระบบThai refer หลังส่งต่อ การวางแผนจำหน่าย - มีการวางแผนจำหน่ายในทุกระยะของการดูแล โดยเน้นการเสริมพลังให้หญิงหลังคลอด และญาติได้เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังและการป้องกันการตกเลือดในระยะหลังคลอด - กรณีเกินขีดความสามารถมีระบบส่งต่อโดยมีการประสานงานระหว่างพยาบาลกับพยาบาล และแพทย์กับแพทย์โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าตามมาตรฐานระดับจังหวัด ก่อนการส่งต่อมีแนวปฏิบัติ ในระยะก่อนและระหว่างการส่งต่อ การดูแลต่อเนื่อง - มีระบบการส่งต่อข้อมูลการติดตามเยี่ยมบ้านในระยะหลังคลอดโดยทีมติดตามเยี่ยมบ้าน และเครือข่ายอาสาสมัครในชุมชน มีระบบการให้การปรึกษากรณีพบภาวะผิดปกติเพื่อให้ได้รับการดูแล ได้ถูกต้องและทันเวลา กระบวนการพัฒนา - มีการติดตามเครื่องชี้วัดที่สำคัญ คือ อัตราการตกเลือดหลังคลอด - มีการทบทวนเหตุการณ์สำคัญเมื่อพบอุบัติการณ์ เช่น การประเมินผิดพลาด การตกเลือดหลังคลอด - มีการพัฒนาระบบการบันทึกเวชระเบียนเพื่อการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการในแต่ละหน่วยงาน - มีการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการดูแลผู้คลอด เช่น การใช้ถุงตวงเลือด การให้Oxytocin  
     
ผลการศึกษา : อัตราการตกเลือดลงคลอดปี 2557-2561 คือ 1.32,1.58,1.33,2.17 และ1.88 ซึ่งน้อยกว่าค่าเป้าหมาย (< 2%)  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ