|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพของเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช |
ผู้แต่ง : |
สิริกัญญา มโนนที |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือจะไปทำลายอวัยวะในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วที่อวัยวะในร่างกายได้สะสมสารเคมีจนถึงขีดร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆ เช่น โรงมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและโรคภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
บ้านข้าวหลาม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ใช้ในเกษตรมากถึง ร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมดพื้นที่ประกอบด้วยทำนาปี ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อขายในหมู่บ้านและตลาด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง ยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูง |
|
วัตถุประสงค์ : |
ศึกษารูปแบบการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพของเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนา สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในการศึกษารูปแบบการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพของเกษตรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประชากร คือ เกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนา สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน ดำเนินการวิจัยตามระยะการวิจัย ดังนี้
1) ระดับบุคคล มี 3 คือการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันและการล้างพิษจากสมุนไพรย่านางแดงที่ใช้ในการลดปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด
2) ระดับชุมชน มี 3 กิจกรรม คือการสื่อสารความเสี่ยงผ่านหอกระจายข่าว การแลกเปลี่ยนในเวทีคณะกรรมการหมู่บ้านและการเฝ้าระวังพฤติกรรมการป้องกัน
3) ระดับภาครัฐ มี 3 กิจกรรม คือ การสนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกัน การตรวจสารเคมีในเลือด และการขับเคลื่อนผ่านระบบสุขภาพอำเภอ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1.ข้อมูลทั่วไป ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง 49 คน คิดเป็น ร้อยละ 51.6 อายุ 61 ปีขึ้นไป 35 คน คิดเป็น ร้อยละ 36.8 รองลงมา คืออายุ 41 – 50 ปี 24 คน คิดเป็น ร้อยละ 25.2
2. ผลการตรวจเลือด ส่วนใหญ่มีผลการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย 43 คน คิดเป็น ร้อยละ 45.26 รองลงมาคือ มีความเสี่ยง 22 คนคิดเป็น ร้อยละ 23.16
ผลการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่ 1 อยู่ในระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย 65 คน เมื่อดื่มน้ำต้ม ใบย่านางแดง ใบเตย หญ้าหวาน และการอบสมุนไพร 15 นาที 1 สัปดาห์ แล้วตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่ 2 นี้ ส่วนใหญ่มีผลการตรวจอยู่ในระดับปลอดภัย จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 49.2 รองลงมาคือระดับปกติ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 24.6
กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายและผลกระทบจากสารเคมีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีที่ถูกต้องและสมุนไพรที่ใช้ในการลดปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด พบว่า มีผู้เข้าอบรมจำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 95 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ของประชากรกลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมการตรวจสารเคมีในเลือด พบว่า มีเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจสารเคมีในกระแสเลือด จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 95 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ของประชากรกลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมการตรวจสารเคมีในเลือดซ้ำ พบว่า มีเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจเลือดในระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยเข้ารับการตรวจสารเคมีในเลือดซ้ำ จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 100 ของประชากรกลุ่มเป้าหมาย
การดื่มสมุนไพรต้มในการช่วยลดสารเคมีในเลือด พบว่า กลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจเลือดในระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย เมื่อดื่มน้ำย่านางแดงต้มเป็นเวลา 1 สัปดาห์แล้วกลับมาตรวจซ้ำมีผลการตรวจในระดับที่ดีขึ้น 1 ระดับ จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 49.2 รองลงมาคือดีขึ้น 2 ระดับ จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 38.0 แสดงให้เห็นว่าการดื่มน้ำต้ม ใบย่านางแดง ใบเตย หญ้าหวาน และการอบสมุนไพร มีผลในการช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. ควรจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของสารเคมีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เห็นความสำคัญของการป้องกันตนเองจากสารเคมีอย่างถูกวิธี โดยการประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุกระจายเสียง หอกระจายข่าว เป็นต้น
2. ในการดำเนินงานต้องอาศัยความร่วมมือของผู้เข้าอบรมและ อสม. ติดตามเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้เข้าอบรมบางคนอาจไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลง เช่น ไม่ได้ดื่มเลย หรือดื่มแต่ไม่ครบ 1 สัปดาห์ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การแปลผลมีความคลาดเคลื่อนได้ ควรมีการแปรรูปสมุนไพร เพื่อให้สามารถบริโภคสะดวกขึ้น
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|