ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้สูงอายุในตำบลหนองแปน
ผู้แต่ง : กอญารัญ พลชิวา ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดผลเสียต่อทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นสาเหตุสำคัญของกลุ่มโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ รวมถึงผลกระทบและความเสียหายต่อผู้ที่ไม่ดื่มและสังคม1 ผลสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยโดยสํานักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพแย่ลงในด้านการตรวจสุขภาพร่างกายประจําปี แต่การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พบว่า มีแนวโน้มลดลงจาก ร้อยละ 3.0 ใน พ.ศ. 2550 เป็นร้อยละ 2.8 ใน พ.ศ. 25572 จากผลการสำรวจข้อมูลปัญหาการดื่มสุราของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ. 2554 พบว่า ประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 16.3 เป็นอันดับที่ 63 ของประเทศ เมื่อดื่มแล้วจะมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดื่ม ร้อยละ 1.8 ค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉลี่ย 335 บาทต่อเดือน3 การดื่มสุราของผู้สูงอายุตำบลหนองแปน ปี พ.ศ.2560 มีความชุก ร้อยละ 24.8 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางกายและทางจิตและเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาวจากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว ได้สะท้อนถึงความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้สูงอายุตำบลหนองแปน ผลจากการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและแก้ไขปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้สูงอายุในตำบลหนองแปน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีพฤติกรรมดื่มสุรา 56 คน  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ผลการศึกษา พบว่า เพศชายมีความชุกของการดื่มสูงกว่าเพศหญิง เป็นนักดื่มประจำ ร้อยละ 15.6 ดื่มเป็นครั้งคราว ร้อยละ72.4 ดื่มแบบเสี่ยงร้อยละ 23.8 ดื่มแบบอันตรายร้อยละ 2.1 และดื่มแบบติด ร้อยละ 3.1 ดื่มแล้วขับร้อยละ 43.4 โอกาสการดื่มสุรามากที่สุด คือ งานปีใหม่ ร้อยละ 46.2 รองลงมางานสงกรานต์ ร้อยละ 43.9 และดื่มน้อยที่สุดคือบุญประเพณีประมาณ ร้อยละ 8.3 ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่ามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 256 บาทต่อเดือน เคยได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุทางถนน ร้อยละ 8.1 บาดเจ็บหรืออุบัติเหตุอื่นๆ ร้อยละ 8.2 และเคยประสบปัญหาความรุนแรงในครัวเรือนร้อยละ 6.7 อภิปราย สรุป และข้อเสนอแนะ พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้สูงอายุ พบว่าเพศชายมีความชุกของนักดื่มปัจจุบันสูงกว่าเพศหญิง ช่วงอายุที่ดื่มมากที่สุด 60-65 ปี ลักษณะของการดื่มจะเป็นการดื่มประจำอยู่ในอัตราที่สูง และดื่มหนักจนมึนเมา การตัดสินใจของการดื่มสุราของผู้สูงอายุเกิดจากอารมณ์ ความเครียด เศรษฐานะ เพื่อนบ้านชักชวนในส่วนของการดื่มประจำและมีความมึนเมา จะส่งผลกระทบต่อสุภาพโดยตรง ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังเนื่องจาก การได้รับพิษจากแอลกอฮอล์ 4 ปัจจัยแวดล้อม พบว่า ส่วนใหญ่ดื่มในการสังสรรค์ งานสังคมและเทศกาลต่างๆ ดื่มมากที่สุด คือ งานปีใหม่ งานสงกรานต์ ดื่มเพื่อเจริญอาหารและแก้ความเหนื่อยล้า และมักดื่มในช่วงเย็นร่วมกับดื่มตั้งวงกับเพื่อน ในคนไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับการดื่มสุราว่า จะช่วยทำให้มีเพื่อนมากในสังคม นำไปสู่การพึงพาอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม และจากงานของ ศิรินทิพย์ มีสุขอำไพรัสมี (2545) พบว่าสังคมปัจจุบันมักจะให้เหตุผลในการดื่มสุราเพราะต้องการเข้าสังคม5 การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า มีในหลากหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนการแข่งขันกีฬา งานบุญประเพณีท้องถิ่น คอนเสิร์ต ดนตรี ป้ายโฆษณาของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังใช้กลยุทธ์ แอบแฝงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ ได้ เช่น การนำนางแบบมาถ่ายรูปโป๊เปลือยในปฏิทินซึ่งมียี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ นำมาแจกจ่ายให้ประชาชน ทำให้ประชาชนจดจำเครื่องหมายการค้าได้ ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า มีผลกระทบค่าใช้จ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุทางถนน และเกิดปัญหาความรุนแรงในครัวเรือน พบว่าในแต่ละครั้งของการดื่มสุราจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 56-200 บาท โดยเงินที่ใช้ในการดื่มสุราเป็นเงินส่วนตัวที่เก็บสะสมไว้ วันรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ทำให้มีหนี้สินและก่อให้เกิดปัญหาในครอบครัวตามมาด้วย เอะอะโวยวายอาละวาด ทำร้ายสมาชิกในครอบครัวและทำร้ายบุคคลอื่น จนเกิดปัญหาอาชญากรรมในครอบครัวได้ อีกทั้งการดื่มสุราก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป เพราะฤทธิ์ของสุราทำให้ผู้ดื่มไม่สารมารถควบคุมสติสัมปชัญญะ  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษา พบว่า เพศชายมีความชุกของการดื่มสูงกว่าเพศหญิง เป็นนักดื่มประจำ ร้อยละ 15.6 ดื่มเป็นครั้งคราว ร้อยละ72.4 ดื่มแบบเสี่ยงร้อยละ 23.8 ดื่มแบบอันตรายร้อยละ 2.1 และดื่มแบบติด ร้อยละ 3.1 ดื่มแล้วขับร้อยละ 43.4 โอกาสการดื่มสุรามากที่สุด คือ งานปีใหม่ ร้อยละ 46.2 รองลงมางานสงกรานต์ ร้อยละ 43.9 และดื่มน้อยที่สุดคือบุญประเพณีประมาณ ร้อยละ 8.3 ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่ามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 256 บาทต่อเดือน เคยได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุทางถนน ร้อยละ 8.1 บาดเจ็บหรืออุบัติเหตุอื่นๆ ร้อยละ 8.2 และเคยประสบปัญหาความรุนแรงในครัวเรือนร้อยละ 6.7 อภิปราย สรุป และข้อเสนอแนะ พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้สูงอายุ พบว่าเพศชายมีความชุกของนักดื่มปัจจุบันสูงกว่าเพศหญิง ช่วงอายุที่ดื่มมากที่สุด 60-65 ปี ลักษณะของการดื่มจะเป็นการดื่มประจำอยู่ในอัตราที่สูง และดื่มหนักจนมึนเมา การตัดสินใจของการดื่มสุราของผู้สูงอายุเกิดจากอารมณ์ ความเครียด เศรษฐานะ เพื่อนบ้านชักชวนในส่วนของการดื่มประจำและมีความมึนเมา จะส่งผลกระทบต่อสุภาพโดยตรง ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังเนื่องจาก การได้รับพิษจากแอลกอฮอล์ 4 ปัจจัยแวดล้อม พบว่า ส่วนใหญ่ดื่มในการสังสรรค์ งานสังคมและเทศกาลต่างๆ ดื่มมากที่สุด คือ งานปีใหม่ งานสงกรานต์ ดื่มเพื่อเจริญอาหารและแก้ความเหนื่อยล้า และมักดื่มในช่วงเย็นร่วมกับดื่มตั้งวงกับเพื่อน ในคนไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับการดื่มสุราว่า จะช่วยทำให้มีเพื่อนมากในสังคม นำไปสู่การพึงพาอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม และจากงานของ ศิรินทิพย์ มีสุขอำไพรัสมี (2545) พบว่าสังคมปัจจุบันมักจะให้เหตุผลในการดื่มสุราเพราะต้องการเข้าสังคม5 การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า มีในหลากหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนการแข่งขันกีฬา งานบุญประเพณีท้องถิ่น คอนเสิร์ต ดนตรี ป้ายโฆษณาของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังใช้กลยุทธ์ แอบแฝงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ ได้ เช่น การนำนางแบบมาถ่ายรูปโป๊เปลือยในปฏิทินซึ่งมียี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ นำมาแจกจ่ายให้ประชาชน ทำให้ประชาชนจดจำเครื่องหมายการค้าได้ ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า มีผลกระทบค่าใช้จ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุทางถนน และเกิดปัญหาความรุนแรงในครัวเรือน พบว่าในแต่ละครั้งของการดื่มสุราจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 56-200 บาท โดยเงินที่ใช้ในการดื่มสุราเป็นเงินส่วนตัวที่เก็บสะสมไว้ วันรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ทำให้มีหนี้สินและก่อให้เกิดปัญหาในครอบครัวตามมาด้วย เอะอะโวยวายอาละวาด ทำร้ายสมาชิกในครอบครัวและทำร้ายบุคคลอื่น จนเกิดปัญหาอาชญากรรมในครอบครัวได้ อีกทั้งการดื่มสุราก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป เพราะฤทธิ์ของสุราทำให้ผู้ดื่มไม่สารมารถควบคุมสติสัมปชัญญะ  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ