ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนางานเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ผู้แต่ง : นางพรรณภัทร สุทธิบาก ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ( Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD ) มีผลกระทบด้านร่างกายคือความทุกข์ทรมานจากความเหนื่อยหอบ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลง จากสถิติผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลกมลาไสยย้อนหลังปี 2557 - 2559 จำนวนผู้ป่วย/ครั้ง 514/ 2,669 ,497/ 2,911, 486/ 2,913 ตามลำดับ อัตรา readmit และ revisitของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลกมลาไสย ปี 2557 -2559 จำนวน 9 (8.49%)8(6.84%),12(11.43%)22(5.35),4(4.60)16(2.79)ข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังพบว่าผู้ป่วยยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งพบว่าอัตราผู้ป่วยที่มา revisit ที่ ER และมา readmit ที่ตึกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลกมลาไสย มีแนวโน้มลดลงแต่ยังมีอัตรา readmit ที่สูงและส่วนมากมักจะเป็นคนไข้รายเดิมกลับมารักษาซ้ำเดือนละ 1-3ครั้ง ทีมสหวิชาชีพจึงร่วมทำแนวทางเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสำหรับนักกายภาพบำบัดโดยมีขั้นตอนดังนี้ ขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีประวัติการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน  
วัตถุประสงค์ : ค้นหาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบ และในการให้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดแก่ผู้ป่วยต้องมีการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ให้ผู้ป่วยมีสมรรถภาพปอดที่ดีขึ้น ลดอัตราการเข้ามารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล  
กลุ่มเป้าหมาย : ทีมสหวิชาชีพ  
เครื่องมือ : เวชระเบียนผู้ป่วย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังพบว่าผู้ป่วยยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งพบว่าอัตราผู้ป่วยที่มา revisit ที่ ER และมา readmit ที่ตึกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลกมลาไสย มีแนวโน้มลดลงแต่ยังมีอัตรา readmit ที่สูงและส่วนมากมักจะเป็นคนไข้รายเดิมกลับมารักษาซ้ำเดือนละ 1-3ครั้ง ทีมสหวิชาชีพจึงร่วมทำแนวทางเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสำหรับนักกายภาพบำบัดโดยมีขั้นตอนดังนี้ ขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีประวัติการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน หลังจากจำหน่ายจากโรงพยาบาลทันที จัดทำตารางเยี่ยมบ้านเพื่อประสาน รพ.สต.และอสม.ในชุมชนเดือนละ 1ครั้งโดยตารางจะส่งให้ทาง line ก่อนเยี่ยมบ้าน 1 สัปดาห์ การลงเยี่ยมผู้ป่วยและครอบครัว ประกอบด้วยการประเมินสภาพร่างกายและจิตใจ การวัด O2 satการประเมินการหายใจ ประเมินการใช้ขวดเป่าบริหารปอด ประเมินความสามารถดูแลตนเอง ภาวะโภชนาการ สภาพแวดล้อมในบ้านและรอบบ้านความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวและการพึ่งพา การซักประวัติเรื่องยา ความเชื่อทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี การประเมินถึงบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยได้รับ ประเมินการปฏิบัติตามโปรแกรมฝึกสมรรถภาพปอด หลังเยี่ยมบ้านมีการบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนโดยเน้นต้องบันทึกข้อมูลดังนี้ประวัติการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา/แอลกอฮอล์ การบริหารยากินและยาพ่น สภาพบ้านและสิ่งแวดล้อม รูปแบบการหายใจ การปฏิบัติตามโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด การทำงาน/ลักษณะงานและสถานที่ อุปกรณ์ขวดเป่าบริหารปอด %O2sat สภาพผู้ดูแล การวางแผนเยี่ยมครั้งต่อไป พร้อมทั้ง นำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการคลินิกหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แนวทางการเยี่ยมบ้าน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง