ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การปฏิบัติ ความพึงพอใจในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของชุมชนบ้านสีถาน ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : บัว พวงศรี ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ประชากรทุกวัย การขาดสารไอโอดีนจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาท ของมนุษย์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาแรกคลอดจนวัยชรา โดยเฉพาะในวัยเด็กหากมีการขาดสารไอโอดีนมากจนเกิดภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนอย่างรุนแรงในช่วงที่สมองมีการเจริญเติบโตจะไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมา เป็นปกติได้ ทำให้รูปร่างแคระแกรน สติปัญญาต่ำปัญหาทางการเรียนคือ เรียนไม่ทันเพื่อน ในวัยผู้ใหญ่จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เชื่องช้า ทำงานในหน้าที่ประจำวันได้ไม่เต็มที่ ในหญิงตั้งครรภ์หากขาดสารไอโอดีนอาจทำให้เกิดการแท้งบุตร ตายคลอด คลอดออกมาน้ำหนักน้อยหรือทารกเสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย การเจริญเติบโตของสมองทารกผิดปกติ เกิดความพิการทางสมอง ปัญญาอ่อน เป็นใบ้หูหนวก สติปัญญาเชื่องช้า จากข้อมูลการสำรวจความครอบคลุมของการใช้เกลือเสริมไอโอดีน โดยการสุ่มตรวจคุณภาพเกลือไอโอดีน (I – Kit) ของชุมชนบ้านสีถาน ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ สุ่มตรวจทั้งหมด 206 ครัวเรือน พบว่ามีระดับการใช้เกลือไอโอดีน 20 – 40 ppm คิดเป็นร้อยละ 60.7 จำนวน 125 ครัวเรือน และมีระดับการใช้เกลือเสริมไอโอดีน น้อยกว่า 20 ppm คิดเป็นร้อยละ 13.1 จำนวน 27 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังพบว่ายังมีครัวเรือนที่ไม่ใช้เกลือเสริมไอโอดีน คิดเป็นร้อยละ 26.2 จำนวน 54 ครัวเรือน แสดงให้เห็นว่าชุมชนบ้านสีถาน มีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือน จากการทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดของ เพนเดอร์ (Pender,1987) ซึ่งได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยด้านความรู้มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาวะสุขภาพของบุคคล และจะส่งผลให้บุคคลลงมือกระทำพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้ใช้เกลือไอโอดีนทุกครัวเรือน โดยบริการแจกฟรีสำหรับมารดาที่ตั้งครรภ์ แต่ปัญหาการขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ก็ยังคงมีอยู่จึงจำเป็นต้องแก้ไขต่อไป  
วัตถุประสงค์ :  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่างในผู้ทำหน้าที่หลักในการทำอาหารของครัวเรือน หรือตัวแทนครัวเรือนๆ ละ 1 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 98 คน  
เครื่องมือ : แบบสอบถาม  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา : ความรู้มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ (p-value = 0.032) ความพึงพอใจมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p-value= 0.087) สรุปผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในชุมชนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.3 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.39 ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในระดับดีมาก ร้อยละ 97.5 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 49.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 4.36 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนระดับดีมาก ร้อยละ 81.5 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.74  
ข้อเสนอแนะ : 1) การตรวจคุณภาพเกลือทำได้โดยชุมชน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรมีการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมให้มีการตรวจปริมาณไอโอดีนในเกลือด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย (I-Kit) 2) จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ปรุงรสอาหารด้วยเกลือเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชาชนได้เลือกบริโภคน้ำปลา ซีอิ้วและซอสที่มีส่วนผสมของไอโอดีน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ